ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เม.ย. 65 หดตัว 4 เดือนติด
ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index) ประจำเดือนเมษายน 2565 อยู่ที่ระดับ 35.4 หดตัว 0.1 ค่าดัชนีฯ ลดลง 4 เดือนติด หลัง สศค. หั่นเป้า GDP ไทย 2565 ลงมาที่ 3.5% โดย ผปก. ยังคงกังวลโควิดโอมิครอน รวมทั้ง ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงต่อเนื่อง
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการ 369 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 25-29 เมษายน 2565 พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการปรับตัวลดลง ค่าดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 35.4 ลดลง 0.1 จากเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 35.5 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เป็นผลจากความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ในประเทศ ทั้งโควิดโอมิครอน, การปรับลดคาดการณ์ GDP ของ สศค., และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น
- ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ก.พ. 65 ลดต่อเนื่อง โควิด-สงคราม-น้ำมันแพง รุมเร้า
- หอการค้าชี้ ฟื้นสัมพันธ์ซาอุดิอาระเบีย โอกาสทางเศรษฐกิจของไทย
- ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อ่วม! เจอหลายมรสุม ดันต้นทุนพุ่ง
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย
ปัจจัยด้านลบ
- ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยโดยเฉพาะไวรัสสายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน“ ที่มีการแพร่ระบาด
- สศค. ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไทยในปี 2565 อยู่ที่ 3.5%
- ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (E10) ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 0.20 บาทต่อลิตร และราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศ ยังคงทรงตัวเท่ากับเดือนที่ผ่านมา
- SET Index เดือน เม.ย. 65 ปรับตัวลดลง 27.8 จุด จาก 1,695.24 ณ สิ้นเดือน มี.ค. 64 เป็น 1,667.44 ณ สิ้นเดือน เม.ย. 65
- ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 33.252 ฿/$ ณ สิ้น เดือน มี.ค. 65 เป็น 33.821 ฿/$ ณ สิ้นเดือน เม.ย. 65
ปัจจัยด้านบวก
- ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการในการเดินทางเข้าประเทศไทย โดยยกเลิก Test & Go ปรับมาใช้การลงทะเบียนผ่าน Thailand Pass มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 65
- การส่งออกของไทยเดือน มี.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 19.5 มูลค่าอยู่ที่ 28,859.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 18.0 มีมูลค่าอยู่ที่ 27,400.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1,459.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดีโดยเฉพาะข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา
- มาตรการดูแลค่าครองชีพ และภาระค่าใช้จ่ายของภาคประชาชน รวมถึงภาคธุรกิจในการดำเนินกิจการ
- แนวทางในการดูแลนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศจากการปรับเปลี่ยนมาตรการในการเข้าประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- แนวทางการดูแลสินค้าส่งออกของไทยที่ติดปัญหาไม่สามารถส่งออกไปยังปลายทางได้
- การกระตุ้นประชาชนในการให้ทยอยฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้มากขึ้น เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสได้มากขึ้น
#หอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #ภาคเอกชน #โควิด-19 #วิกฤตโควิด 19 ผลกระทบ #ผลกระทบธุรกิจจากโควิด-19 #บรรเทาผลกระทบโควิด #เยียวยาโควิด #มาตรการควบคุมการระบาด #GDP #จีดีพี #เศรษฐกิจไทย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH