ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย มิ.ย. 65 เพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบ 6 เดือน
ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index) ประจำเดือนมิถุนายน 2565 อยู่ที่ระดับ 36.3 เพิ่มขึ้น 1.1 ค่าดัชนีฯ เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าประเทศ และผ่อนคลายให้เปิดสถานบันเทิงในบางพื้นที่ วอนรัฐตรึงราคาพลังงาน หวั่นกระทบเศรษฐกิจไทย
นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการ 369 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 22-30 มิถุนายน 2565 พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้น ค่าดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย อยู่ที่ระดับ 36.3 เพิ่มขึ้น 1.1 จากเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 35.2 เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าประเทศ และการผ่อนคลายให้เปิดสถานบันเทิงในบางพื้นที่ รวมถึง ยอดส่งออกไทยเดือนพฤษภาคมที่เพิ่มขึ้น 10.47% แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง, ความกังวลทางด้านเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวลง , ปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูง , สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่กระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า และความวิตกกังวลต่อสถานการณ์โควิด เป็นต้น
- ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย พ.ค. 65 ลดต่อเนื่องเดือนที่ 5 วิกฤตน้ำมัน กระทบต้นทุนผู้ผลิต
- หอการค้าชี้ ฟื้นสัมพันธ์ซาอุดิอาระเบีย โอกาสทางเศรษฐกิจของไทย
- ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อ่วม! เจอหลายมรสุม ดันต้นทุนพุ่ง
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย
ปัจจัยด้านลบ
- ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2.00 บาทต่อลิตร เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา รวมถึงแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (E10) ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1.30 บาทต่อลิตร
- ความกังวลของเศรษฐกิจยังชะลอตัวลง ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
- สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกให้ช้าลง
- ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังคงเกิดขึ้นทั่วประเทศ ยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การทำธุรกิจ และยังคงมีสายใหม่พันธุ์เกิดขึ้นเรื่อย ๆ
- SET Index เดือน มิ.ย. 65 ปรับตัวลดลง 95.08 จุด จาก 1,663.41 ณ สิ้นเดือน พ.ค. 65 เป็น 1,568.33 ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 65
- ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 34.416 ฿/$ ณ สิ้นเดือน พ.ค. 65 เป็น 34.972 ฿/$ ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 65
ปัจจัยด้านบวก
- ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการในการเดินทางเข้าประเทศไทย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.65 ยกเลิกการกักตัวทุกรูปแบบ สำหรับคนไทยไม่ต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass และไม่ต้องตรวจหาเชื้อโควิดก่อนเข้าประเทศ ส่วนชาวต่างชาติยังต้องลงทะเบียนในระบบ Thailand Pass
- ผ่อนคลายให้เปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน สามารถกลับมาเปิดบริการได้ในพื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) และพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า)
- กนง. ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง และปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ใหม่ โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ 3.3% จากเดิม 3.2% ส่วนปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.2% จากเดิม 4.4%
- การส่งออกของไทยเดือน พ.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 10.47 มูลค่าอยู่ที่ 25,508.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 24.15 มีมูลค่าอยู่ที่ 27,383.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 1,874.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดี โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา
- มาตรการดูแลเรื่องต้นทุน ราคาปัจจัยการผลิต และต้นทุนการดำเนินงานต่าง ๆ
- มาตรการดูแลราคาพลังงาน เช่น น้ำมัน แก๊ส ไฟฟ้า และอื่น ๆ ให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงจนเกินไป จนทำให้ต้นทุนการประกิจการและการดำเนินชีวิตของประชาชนสูงขึ้น
- มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน ในช่วงของค่าพลังงานที่ขยับเพิ่มสูงขึ้น
- แนวทางการดูแลนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติที่จะเข้าไปท่องเที่ยวตามสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วในประเทศไทย
- การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเชื้อไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตภาคประชาชน และภาคธุรกิจอีกครั้ง
- กระตุ้นประชาชนให้เร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดผลรุนแรงหากได้มีการสัมผัสเชื้อ
#หอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #ภาคเอกชน #โควิด-19 #วิกฤตโควิด 19 ผลกระทบ #ผลกระทบธุรกิจจากโควิด-19 #บรรเทาผลกระทบโควิด #เยียวยาโควิด #มาตรการควบคุมการระบาด #GDP #จีดีพี #เศรษฐกิจไทย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH