ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย 2564 กันยายน

ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ก.ย. 64 ลดต่อเนื่องเดือนที่ 6 ปัจจัยลบเพียบ โควิด-น้ำท่วม-เศรษฐกิจชะลอตัว

อัปเดตล่าสุด 7 ต.ค. 2564
  • Share :

ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index) ประจำเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ระดับ 19.4 ลดลง 0.4 จากเดือนก่อนหน้า โดยลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ปัจจัยลบเพียบ ทั้งสถานการณ์โควิด-น้ำท่วม-เศรษฐกิจชะลอตัว

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการ 369 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 23-30 กันยายน 2564 พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการปรับตัวลดลง ค่าดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 19.4 ลดลง 0.4 จากเดือนสิงหาคม 2564 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 19.8 ดัชนีลดลงต่อเนื่องนาน 6 เดือน เป็นผลจากความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง , ผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัด , ความกังวลด้านเศรษฐกิจยังชะลอตัวลง รวมถึง ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง 

 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย

ปัจจัยด้านลบ

  • ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 สายพันธุ์เดลต้าในประเทศไทยที่ยอดผู้ติดเชื้อสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศทั้งปัจจุบันและในอนาคต
  • ผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของ
    ประชาชน รวมถึงผลผลิตทางการเกษตร
  • ความกังวลด้านเศรษฐกิจยังชะลอตัวลง ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมถึงผู้ประกอบการยังรู้สึกว่ารายได้จากการทำธุรกิจในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่ปรับตัวสูงขึ้น
  • ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (E10) ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1.90 บาทต่อลิตร ส่วนราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.50 บาทต่อลิตร
  • SET Index เดือน ก.ย. 64 ปรับตัวลดลง 33.07 จุด จาก 1,638.75 ณ สิ้นเดือน ส.ค. 64 เป็น 1,605.68 ณ สิ้นเดือน ก.ย. 64
  • ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อยจากระดับ 33.119 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ส.ค. 64 เป็น 33.039 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ก.ย. 64

 

ปัจจัยด้านบวก

  • การผ่อนคลายมาตรการช่วงเดือนกันยายน ให้มีการเปิดห้างสรรพสินค้า และกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ ในเขตพื้นที่สีแดงเข้ม
  • จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันในประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงในช่วงปลายเดือนกันยายน 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) มีมติผ่อน
    ปรนมาตรการล็อคดาวน์เพื่อควบคุมโรค และรวมทั้งขยายเวลาเคอร์ฟิวออกไปเป็น 22.00-04.00 น. โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป
  • กนง. มีมติเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.5% ต่อปี พร้อมทั้งประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับคาดการณ์ในการประชุมครั้งก่อนที่ 0.7% และปี 2565 ที่ 3.9%
  • การส่งออกของไทยเดือน ส.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 8.93 มูลค่าอยู่ที่ 21,976.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 47.92 มีมูลค่าอยู่ที่
    23,191.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 1,215.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับที่ดี โดยเฉพาะข้าว ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่เริ่มมีรายได้สูงขึ้น และกำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น

 

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา

  • รัฐบาลควรเร่งผ่อนคลายมาตรการให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้เหมือนเดิม หรือใกล้เคียงเดิม
  • เร่งจัดหาวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เข้ามาใช้ในประเทศอย่างต่อเนื่องและมีเพียงพอ
  • การออกมาตรการควบคุมหรือผ่อนคลายต่าง ๆ จากภาครัฐควรประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนอย่างชัดเจนและทั่วถึงเพื่อลดความสับสนในการวางแผนล่วงหน้า
  • ออกมาตรการที่รัดกุมพร้อมรองรับกับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาช่วยกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ
  • จัดเตรียมแผนการกักเก็บน้ำ และระบายน้ำให้สมดุลและสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนน้อยที่สุด

 

#หอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #ภาคเอกชน #โควิด-19 #วัคซีนโควิด #วิกฤตโควิด 19 ผลกระทบ #ผลกระทบธุรกิจจากโควิด-19 #บรรเทาผลกระทบโควิด #มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ #มาตรการควบคุมการระบาด #GDP #จีดีพี #เศรษฐกิจไทย

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH