ญี่ปุ่นขาดดุลครั้งใหญ่ เหตุราคาพลังงานพุ่ง
ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติเมื่อปี 1979 ผลจากราคาถ่านหินและเชื้อเพลิงที่พุ่งสูง
วันที่ 15 กันยายน 2022 กระทรวงการคลังญี่ปุ่นระบุ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าสูงถึง 2,817,300 ล้านเยน หรือราว 19,620 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นผลจากราคาพลังงานที่พุ่งสูง ทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 49.9% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
Advertisement | |
มูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้มาจากราคาถ่านหินและเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงซึ่งถูกเป็นผลจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอื่น ๆ ยังเพิ่มขึ้น 90.3% ขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติจากออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 2.4เท่า และราคาถ่านหินเพิ่มขึ้น 3.4 เท่า
ทั้งหมดนี้ เมื่อผนวกกับการอ่อนค่าของเงินเยน ทำให้ญี่ปุ่นจำเป็นต้องนำเข้าพลังงานเป็นมูลค่ารวมแล้วสูงกว่าเมื่อครั้งแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุในปี 2011
แม้ว่าในเดือนสิงหาคมญี่ปุ่นจะสามารถทำยอดส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์มากขึ้น 39.3% รวมถึงส่งออกเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้น 22.4% ก็ไม่อาจชดเชยการนำเข้าพลังงานราคาแพงได้
นอกจากการขาดดุลแล้ว สิ่งที่สื่อญี่ปุ่นให้ความสนใจ คือ การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไปยังสหรัฐฯ ที่ทำสถิติยอดส่งออกสูงสุดประจำเดือนสิงหาคม รวมถึงการส่งออกชิ้นส่วนรถไฮบริด (Hybrid Vehicle: HV) ไปยังประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด
สำนักข่าว Nikkei แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า นอกจากราคาถ่านหินและเชื้อเพลงที่แพงขึ้นแล้ว การขาดดุลการค้าอย่างรุนแรงในเดือนนี้ยังมาจากราคาข้าวสาลีที่ลดลงหลังจากที่เคยพุ่งสูงในช่วงต้นของสงครามรัสเซีย - ยูเครน
ส่วนทางด้าน NHK แสดงความเห็นว่า หากสงครามรัสเซีย - ยูเครนยังดำเนินต่อเนื่อง ราคาถ่านหิน เชื้อเพลิง และธัญพืชก็จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามไปด้วย ซึ่งอาจทำให้ญี่ปุ่นประสบกับการขาดดุลทางการค้าต่อไป
#ญี่ปุ่น #วิกฤตพลังงาน #ราคาพลังงาน #Mreport #onlinecontent #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH