การค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ไตรมาสแรก ปี 2561
การส่งออกจากญี่ปุ่นมาไทย
ช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2561 มีมูลค่า 7,909.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 14.98% โดยญี่ปุ่นส่งออกมาไทยเป็นอันดับที่ 6 คิดเป็นสัดส่วน 4.29% ทั้งนี้ ไทยเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนของญี่ปุ่น
การนำเข้าของญี่ปุ่นจากไทย
ช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2561 มีมูลค่า 6,215.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.24% โดยไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญของญี่ปุ่นอันดับที่ 9 คิดเป็นสัดส่วน 3.35% ทั้งนี้ ไทยเป็นแหล่งนำเข้าที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนของญี่ปุ่น มีอินโดนีเซียและมาเลเซีย เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญรองลงมา เนื่องจากญี่ปุ่นนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงเป็นสินค้าหลักจากทั้งสองประเทศ
โดยสินค้านำเข้าส้าคัญจากไทย 35 รายการแรกมีมูลค่ากว่า 4,013.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (สัดส่วน 64.57%) ซึ่งสินค้าสำคัญส่วนใหญ่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ
และมีสินค้าอุตสาหกรรมที่มีการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น ดังนี้
1. พลาสติกและผลิตภัณฑ์ มูลค่าการนำเข้า 409.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 32.92% ทั้งนี้การนำเข้าภาพรวมเพิ่มขึ้น 13.69%
2. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์ มูลค่าการนำเข้า 370.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 69.27% โดยเฉพาะเครื่องโทรศัพท์สำหรับเครือข่ายเซลลูลาร์และส่วนประกอบ โดยญี่ปุ่นนำเข้าในภาพรวมเพิ่มขึ้น 6.98%
3. รถยนต์ จักรยานยนต์ และส่วนประกอบ มูลค่าการนำเข้า 349.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 35.16% สำหรับการนำเข้าภาพรวมเพิ่มขึ้น 23.19%
4. แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่าการนำเข้า 127.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 16.49% เนื่องจากแนวโน้มการพัฒนาด้าน Internet of Thing และปัญญาประดิษฐ์ (AI) การนำเข้าภาพรวมเพิ่มขึ้น 9.60%
5. สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล มูลค่าการนำเข้า 105.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 28.44% ทั้งนี้มีการนำเข้าภาพรวมเพิ่มขึ้น 9.87%
6. ไดโอท ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์ มูลค่าการนำเข้า 70.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 24.13% เนื่องจากตลาดพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานทดแทนในญี่ปุ่นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการนำเข้าภาพรวมลดลง 11.89%
7. ส่วนประกอบเครื่องรับ-ส่งโทรทัศน์และวิทยุ มูลค่าการนำเข้า 68.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 31.16% โดยเฉพาะการนำเข้าชิ้นส่วนประกอบฯ ที่ไม่ใช่จอแสดงภาพเพิ่มขึ้นกว่า 37.24% โดยมีการนำเข้าภาพรวมเพิ่มขึ้น 2.76%
8. เครื่องพิมพ์ รวมทั้งเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์ มูลค่าการนำเข้า 151.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6.38% โดยเฉพาะเครื่องจักรซึ่งท้าหน้าที่ได้ตั้งแต่ 2 หน้าที่ขึ้นไป อย่างไรก็ตามการนำเข้าภาพรวมลดลง 0.96%
9. เคมีภัณฑ์มูลค่าการน้าเข้า 48.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 43.03% โดยสินค้าสำคัญของไทยคือ คะตะไลส์ที่มีสารประกอบโลหะมีค่าเป็นสารกัมมันต์ การนำเข้าภาพรวมเพิ่มขึ้น 20.42%
10. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มูลค่าการนำเข้า 129.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.60% โดยญี่ปุ่นนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้ในภาพรวมเพิ่มขึ้น 15.81%
11. เครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้า มูลค่าการนำเข้า 84.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 9.93% โดยสินค้าสำคัญคือ เตาอบไมโครเวฟที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น 16.24% การนำเข้าภาพรวมเพิ่มขึ้น 7.16%
12. อุปกรณ์สำหรับต่อภายในวงจรไฟฟ้า มูลค่าการนำเข้า 79.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 15.78% การนำเข้าภาพรวมเพิ่มขึ้น 13.08%
ขณะนี้ GDP ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาสแรกหดตัวอยู่ที่ 0.4% แต่ล่าสุดรายงานสภาพเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ณ เดือนเมษายน 2561 ระบุว่า การประเมินเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงฟื้นตัวระดับปานกลาง (recovering at a moderate pace) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2561 สำหรับเศรษฐกิจภูมิภาคของญี่ปุ่นก็เริ่มส่งสัญญาณขยายตัวดีขึ้นด้วย โดยเฉพาะภาคค้าปลีกที่มีการขยายตัวสูงในภาคตะวันตกของญี่ปุ่นมากกว่าภาคตะวันออก ทั้งนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีระยะเวลายาวนานกว่า 65 เดือน (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2555) นับว่าเป็นช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวของญี่ปุ่นที่ยาวที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร