หอการค้าเผยปี 61 ประเทศจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลทะลุ 3.1ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 5 ปี

อัปเดตล่าสุด 19 ธ.ค. 2560
  • Share :

หอการค้าเผยปี 61 ประเทศจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลทะลุ 3.1 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 5 ปี คิดเป็น 19.42% ของจีดีพี ปัจจัยมาจากนโยบายของรัฐ รวมถึงประชาชนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นด้วย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวว่า ในปี 2561 ประเทศไทยจะเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ โดยมีมูลค่าเศรษฐกิจอยู่ที่ 3.1 ล้านล้านบาท ขยายตัว 24.62% คิดเป็นสัดส่วน 19.42% ของจีดีพี ซึ่งมีมูลค่า 16.26 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 5 ปี ปัจจัยที่สนับสนุนให้เติบโตจากนโยบายของรัฐเรื่องอินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน นโยบาย 4.0 การลงทุน EEC ประกอบกับทิศทางทางธุรกิจที่ให้ความสำคัญเรื่องของดิจิทัล จากแนวโน้มของเศรษฐกิจในปีหน้าขยยายตัวเกิน 4%

อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่น่ากังวลของการของการก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัล คือ ความน่าเชื่อถือในการเช้าถึงข้อมูลส่วนตัวและความปลอดภัยมีมากน้อยแค่ไหน โครงข่ายของการให้บริการอินเตอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุม การหลอกในการขายสินค้าและบริการ ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการจับจ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการค้าออนไลน์ เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ หากดำเนินการได้ก็ยิ่งจะทำให้การเติบโตได้ดี

อย่างไรก็ดี ประเทศไทยก็ถือว่าก้าวเข้าสู่ระบบ 4G ไปได้อย่างรวดเร็วและเต็มประสิทธิภาพ เห็นได้จากการใช้อินเตอร์เน็ต การเข้าสู่ข้อมูลเว็บไซต์ แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ มีความรวดเร็วมากขึ้น และยังสะท้อนได้จากการซื้อขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซเพิ่มสูงขึ้นทุกปี มียอดขายประมาณ 2-3 ล้านล้านบาท และหากเทียบสัดส่วนต่อจีดีพีในระยะ 2 ปี หรือปี 2563 อาจจะอยู่ที่ 25% ดังนั้น ช่องทางการขายสินค้าโซเชียลฯ จะมีส่วนสำคัญมากขึ้น ประกอบการกรลงทุนของภาครัฐในปีหน้าประมาณ 1-2 แสนล้านบาท การขายตัวเศรษฐกิจดีขึ้นการซื้อขาย จับจ่ายก็จะมีมากขึ้นไปด้วย

นายวชิร คูณทวีเทพ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน – 6 ธันวาคม 2560 จำนวน 1,251 ตัวอย่างพบว่า การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน เฉพาะโทรศัพท์มือถือ สูงเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 90.92% รองลงมาเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค อยู่ที่ 57.58% และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ อยู่ที่ 49.03% และระยะเวลาที่ใช้อินเตอร์เน็ตต่อวันเฉลี่ยมากกว่า 10 ชั่วโมง

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ใช้งานอินเตอร์ใช้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารรายวัน ดูแผนการจราจร แผนที่นำทาง อัพโหลด ดาวน์โหลดมากขึ้น ส่วนที่ใช้อินเตอร์เน็ตน้อยที่สุด คือใช้เพื่อการจองรถขนส่งหรือจองรถเพื่อการเดินทางอยู่ที่ 1.20% และ 2.56% ตามลำดับ และการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการซื้อสินค้า ก็พบว่ากว่า 80.57% ดูรีวิวสินค้า รองลงมา 42.81% ซื้อเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนใช้เทคโนโลยีเพื่อจองบัตรดูภาพยนตร์น้อยที่สุดอยู่ที่ 16.37% ซึ่งแนวโน้มก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีความสะดวกและรวดเร็ว

อย่างไรก็ดี การเพิ่มการใช้งานของเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต รวมไปถึงการรับชมทีวีดิจิทัลก็จะมีการขยายตัว และการใช้จ่ายก็จะผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้นไปด้วย จากประชากรของประเทศไทยอยู่ที่ 67.65 ล้านคน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอยู่ที่ 43.9 ล้านคน หรือประมาณ 11.10% และมีผู้เข้าใช้โซเชียลมีเดีบอยู่ที่ 47.0 ล่านคน หรือ 15.0% ขณะที่ผู้เข้าถึงหมายเลขโทรศัพท์อยู่ที่ 120.20 ล้านหมายเลข หรือประมาณ 0.44% ซึ่งก็สะท้อนการเติบโตและการใช้ของประเทศไทยที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว