5 เทคนิค “มือใหม่ใช้เครื่อง CNC”
สำหรับช่างควบคุมเครื่อง CNC มือใหม่แล้ว เชื่อว่าไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะผลลัพธ์จากกระบวนการนี้คือคุณภาพของชิ้นงานถูกผลิตออกมา
สิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการ อาทิ การควบคุมและโปรแกรมเครื่องจักร การเลือกใช้เครื่องมือตัดรวมไปถึงวิธีการตัดงาน ความเข้าใจวัสดุที่ใช้กัดงาน และเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็น
สิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างความซับซ้อนให้การเรียนรู้เพื่อใช้งานเครื่องจักร CNC เป็นไปได้ยากขึ้น ซึ่งสมาคมเครื่องมือและเครื่องจักรของสหรัฐอเมริกา (NTMA) ได้แนะนำ 5 เทคนิคสำหรับมือใหม่ใช้เครื่อง CNC ไว้ดังนี้
1. สอนงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
ช่างควบคุมเครื่องกลึง CNC มือใหม่มักเรียนรู้ขั้นตอนการทำงานกับเครื่องซีเอ็นซี โดยการสอนงานจากพนักงานผู้มีประสบการณ์มากกว่าด้วยการทำให้ดู แล้วให้ทำตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่พนักงานทุกคนจะสามารถเรียนรู้ได้จากการดูอย่างเดียว หรือต้องดูการทำงานถึงหลายครั้ง แต่ผู้สอนสามารถประหยัดเวลาได้ด้วยการสอนไปพร้อมอธิบายทีละขั้นตอน ซึ่งแม้ว่าจะต้องใช้เวลา แต่จะทำให้ผู้ใช้งานหน้าใหม่มีข้อมูลมากขึ้น สามารถทำความเข้าใจในแต่ละขั้นตอนจนเห็นภาพรวมของการทำงานได้
2. จับคู่ Cutting Tools และการปรับตั้งค่า Offset ให้เข้าใจง่าย
ข้อนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้เริ่มใช้เครื่องกลึง CNC และสามารถนำไปปรับใช้กับเจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่อง CNC ทุกระดับ โดยเครื่อง CNC สามารถทำการปรับตั้งค่าต่าง ๆ เพื่อควบคุมคุณภาพพื้นผิวชิ้นงานให้แม่นยำ และหมายเลขที่ใช้ในการปรับตั้งค่า Offset ก็มักจะถูกบันทึกให้สอดคล้องกับหมายเลขของ Tools Station เช่น หากใช้ทูลส์หมายเลข 1 กัดชิ้นงาน ก็จะใช้ offset หมายเลข 1 ควบคู่กัน
ซึ่งในการทำงานจริง ผู้ติดตั้งเครื่องมือตัด (Cutting Tools) ย่อมรู้ดีว่าทูลชิ้นไหนเหมาะกับชิ้นงานใด แต่หลังการติดตั้งแล้วเสร็จ ช่างควบคุมเครื่อง CNC ที่มารับงานต่ออาจไม่แน่ใจในส่วนนี้ก็เป็นได้
ด้วยเหตุนี้เอง การลดความซับซ้อนในส่วนนี้ลงจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่อง CNC ทำงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น การวาดแผนผังแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวงานแบบไหนควรตั้งค่าอย่างไร หรือใช้สีแยกแต่ละ offset ออกจากกันให้ชัดเจน
Advertisement | |
3. เริ่มจากการอ่านค่าที่ไม่ซับซ้อน
โดยทั่วไปแล้ว เครื่องมือวัดหลายชนิดรวมถึงไมโครมิเตอร์และคาลิปเปอร์ มักถูกนำมาใช้ในการวัดค่าต่าง ๆ เพื่อทำการปรับตั้งเครื่อง CNC อย่างเหมาะสม และแม้ว่าเจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรซีเอ็นซีที่มีประสบการณ์มักอ่านค่าเหล่านี้ได้จากอุปกรณ์แทบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบหน้าปัด แบบจอภาพดิจิทัล หรือแม้แต่เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper) แต่สำหรับพนักงานใหม่นั้น การอ่านค่าจากเวอร์เนียคาลิปเปอร์อาจผิดพลาดได้ทั้งจากวิธีการจับ และการวัดค่า สำหรับเจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องมือใหม่ จึงควรเริ่มจากการวัดค่าที่เรียบง่ายมากกว่าจอภาพที่ซับซ้อน
4. กำหนดค่าต่าง ๆ ให้ชัดเจน
การระบุค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องกลึง CNC ทำได้หลายวิธี ซึ่งต่อไปนี้ คือ 3 ตัวอย่างที่ถูกใช้ในการระบุค่าความคลาดเคลื่อนเดียวกัน
- Plus/minus the specified tolerance amount: 5.000 +/- 0.005
- High/low limits: 5.005/4.995
- Plus one value minus another: 5.003 +0.002, -0.008
ซึ่งสิ่งที่จำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่อง CNC คือ ทักษะในการวัด และตัดสินใจว่าค่าความคลาดเคลื่อนนั้นอยู่ในขอบเขตที่รับได้หรือไม่ และทำการปรับตั้งค่าใหม่หากจำเป็น และจำเป็นต้องระบุได้ว่าชิ้นงานที่วัดได้จริงกับชิ้นงานที่ต้องการมีค่าต่าง ๆ แตกต่างกันเท่าไหร่เพื่อให้ปรับค่าใหม่ได้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม การกำหนดค่าสูงสุดที่รับได้เอาไว้ และกำหนดค่าเป้าหมายที่ต้องการสำหรับพื้นผิวแต่ละชนิด จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องซีเอ็นซีสามารถทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น
Advertisement | |
5. อธิบายคำศัพท์เฉพาะและกฎของบริษัทที่ไม่ถูกพูดถึงอย่างละเอียด
ในการทำงานจริง แต่ละบริษัทมักมีวิธีเรียกชื่อสินค้า ชิ้นส่วน กระบวนการ และอื่น ๆ แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น แต่พนักงานใหม่ย่อมไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ ทำให้สามารถปรับตัวได้ยาก จึงเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จำเป็นต้องอธิบายการใช้คำเหล่านี้โดยละเอียด
นอกจากนี้ แต่ละบริษัทมักมีกฎที่มักไม่ถูกพูดถึงแต่เป็นที่รู้กันในหมู่พนักงาน ยกตัวอย่างเช่น การปรับตั้งค่าชดเชยเครื่องมือ (Tools Offset) ที่ในหลายบริษัทจะระบุตัวเลขไว้กับเครื่องมือตัด และ Tools Station แต่ไม่มีการระบุไว้ในเอกสาร แม้ว่าเจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่อง CNC มักคุ้นเคยกับเรื่องเหล่านี้ แต่ไม่ใช่พนักงานใหม่ทุกคนจะเข้าใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องอธิบายกฎที่อยู่นอกเอกสารให้กับพนักงานใหม่ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH