ก้าวข้ามหลุมพราง เผชิญหน้าความท้าทาย เพื่อพัฒนาทักษะด้าน Internet of thing

อัปเดตล่าสุด 28 มี.ค. 2562
  • Share :
  • 918 Reads   

อุตสาหกรรมแห่งอนาคตมาพร้อมกันกับกระบวนการผลิตที่ “ยกระดับด้วยระบบอัตโนมัติผ่านการเชื่อมต่อระหว่างกัน” มากยิ่งขึ้น เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ มีความแตกต่างจากในปัจจุบัน และได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ได้อย่างตรงจุด 

อีกไม่นานเกินรอ เราคงจะได่เห็นภาพเครื่องจักรอัจฉริยะที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ

ดังนั้น เทคโนโลยีสําคัญที่จะทําให้อุตสาหกรรมใหม่นั้นเกิดขึ้นได้คือ The Internet of Things (IoT) ที่เราทุกคนควรหันมาให้ความสําคัญและพัฒนาทักษะ หรือ Skills เพื่อสอดรับกับเทคโนโลยีดังกล่าว

Challenges : องค์กรต้องพบความท้าทายในการพัฒนา IoT Skill

ในการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้าน IoT องค์กรไม่ได้ต้องเผชิญเพียงแค่การหาแนวทาง
เพิ่มทักษะให้แก่บุคลากรเท่านั้น แต่จําเป็นต้องก้าวข้ามความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกําลัง
แรงงาน รวมทั้งโปรแกรมการพัฒนาทักษะบุคลากรด้วย

Up-skilling : การยกระดับทักษะเดิมให้มีประสิทธิภาพขึ้น

องค์กรต้องเผชิญกับความท้าทายในการยกระดับทักษะด้าน IoT ให้แก่กําลังแรงงานในภาคส่วนต่าง ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอบรมภายใน หรือการฝึกอบรมจากวิทยากรนอกองค์กร ตัวอย่างดังเช่น พนักงานในไลน์การผลิตสินค้า ควรจะได้รับการพัฒนาทักษะด้าน Robot หรือ เครื่องมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นํามาประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความท้าทายในประเด็นดังกล่าวได้อย่างชัดเจน คือปญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว อันประกอบด้วย บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa) หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ BRICS

จากการสํารวจพบว่า นักเรียนในกลุ่มประเทศ BRICS ยังขาดทักษะในการปฏิบัติหรือทักษะด้านเทคนิค และยังไม่สามารถนํามาปรับใช้ได้จริงในการทํางาน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจาก “ความไม่เชื่อมโยงกันระหว่างภาคการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม” ส่งผลให้นักเรียนขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมกับยุคสมัย

Re-skilling: การเพิ่มเติมทักษะใหม่

เมื่ออุตสาหกรรม 4.0 มาพร้อมกับความไม่แน่นอน ตําแหน่งงานในบางตําแหน่งอาจไม่ได้เป็นที่ต้องการ
ของตลาดอีกต่อไป และอาจถูกแทนที่ด้วยตําแหน่งงานอื่นๆ องค์กรจึงจําเป็นต้องเตรียมพร้อมการลงทุน
ในการเพิ่มเติมทักษะใหม่ให้แก่บุคลากร ให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้

Continuous Learning: การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

เทคโนโลยีบางอย่างก็อาจจะล้าสมัยไปในชั่วพริบตา สิ่งที่องค์กรต้องให้ความสําคัญอย่างเร่งด่วนคือการปรับปรุงกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนี้

Mindset Change: การเปลี่ยนแนวคิด

เมื่อบุคลากรในองค์กรถูกบังคับให้ต้องปรับตัวให้สอดรับกับโลกยุคโลกาภิวัฒน์ แน่นอนว่าบางครั้งต้องเกิดการต่อต้านในการรับเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ องค์กรจึงจําเป็นต้องวางแผน และเตรียมกลยุทธ์เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ให้กับบุคลากร

Pitfalls: สํารวจหลุมพราง ที่ขัดขวางไม่ให้โปรเจคการพัฒนา IoT ประสบความสําเร็จ

องค์กรจํานวนไม่น้อย มองเห็นโอกาสในการนํา IoT เขามาใชในการดําเนินธุรกิจ อาจเพราะมองเห็นว่าจะเป็นช่องทางที่จะทําให้ธุรกิจประสบความสําเร็จแบบก้าวกระโดด แตในขณะเดียวกัน หากปราศจากการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนไม่แน่ว่าจากการคาดการณ์ว่าองค์กรจะ “รุ่ง” อาจกลายเป็น “ร่วง” ได้

Steve Brumer ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ของบริษัทในอุตสาหกรรม IoT ได้กล่าวถึงหลุมพรางที่อาจก่อให้เกิดข้อผิดพลาดในการดําเนินกิจกรรมโปรเจคด้าน IoT เพื่อให้องค์กรต่างๆ เพิ่มความระมัดระวังกันมากขึ้น

1. ขาดการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา และขาดแนวทางในการชี้นํา

โปรเจคในการพัฒนา IoT อาจไม่ประสบความสําเร็จเพราะไม่ได่รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา หรือผู้บริหารในองค์กร หนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การปรับปรุงเมืองไปสู่การเป็น Smart City ด้วย IoT ในบางครั้ง สภาเทศบาลเมืองอาจจะรับรอง และสนับสนุนการสร้างเมืองในรูปแบบอัจฉริยะในช่วงแรก แต่ต่อมา
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โปรเจคการพัฒนาเมืองต่าง ๆ ก็ต้องหยุดชะงัก และขาดความต่อเนื่อง ประเด็นนี้ยังกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทําให้การพัฒนาเมืองโดยใช้เทคโนโลยี IoT ยังไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ทุกคนคิดไว้

2. ตกหลุมพรางด้วยภาพที่เกินความเป็นจริง

องค์กรจํานวนไม่น้อยกําลังประสบกับปัญหาใหญ่ เนื่องจากจําเป็นต้องดิ้นรน เพื่อสร้างรายได้จากตลาดด้าน
Internet of Things ซึ่งก่อนหน้าที่จะเข้าสู่ตลาดดังกล่าว องค์กรล้วนแต่คิดว่าเป็นสิ่งที่ง่าย และสามารถทําได้ภายใต้ความสามารถของตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม การจะปรับปรุง และพัฒนาธุรกิจให้เป็นธุรกิจที่รองรับ IoT อย่างเต็มตัวนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสําหรับมือใหม่ องค์กรเหล่านี้ มักจะได้รับคําแนะนําจากคนอื่น ๆ ให้ลองใช้เทคโนโลยี IoT หรือแม้แต่เปลี่ยนรูปแบบทางธุรกิจ และกระโดดเข้ามาร่วมวงในตลาดด้านนี้กันอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง สิ่งที่ตามมาคือ ความยากลําบากในการดําเนินธุรกิจ ให้สามารถก้าวข้ามหลุมพรางที่ตนเองคิดไว้ในตอนแรกให้ได้นั่นเอง

3. ไม่ให้ความสําคัญกับเรื่อง “การบูรณาการ” 

สําหรับในแง่มุมด้านอุตสาหกรรม และธุรกิจเทคโนโลยี Internet of Things ก็เหมือนกันภาพจิ๊กซอว์ ที่ต้องเรียนรู้ที่จะ “เชื่อมโยง” ทุกสิ่งเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นในด้านความปลอดภัย ไปจนถึง Machine Learning นอกจากนี้ แพลตฟอร์มในการทํางานด้าน IoT ยังมีมากกว่า 100 แพลตฟอร์มให้เลือกนํามาปรับใช้ มีทั้งแพลตฟอร์มที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ และยังต้องได้รับการพัฒนาอยู่ ดังนั้น บริษัทที่จะประสบความสําเร็จ คือบริษัทที่รู้จักการ “บูรณาการ” เลือกรับและปรับใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับขีดความสามารถของตนเอง

4. ต้องมีความตั้งใจในการดําเนินธุรกิจด้าน IoT

ในปี 2018 ที่ผ่านมานี้ มีแพลตฟอร์ม IoT หลากหลายแพลตฟอร์มที่ไม่สามารถติดตามผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากองค์กรที่เข้าสู่ธุรกิจในตลาด IoT อย่างเต็มตัว ยังไม่เข้าใจสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงของอุตสาหกรรมด้านนี้ Brumer เล่าจากประสบการณ์ส่วนตัวว่า หลายครั้งที่เขาได้ถามนักธุรกิจหน้าใหม่ ที่อยากเข้ามาลงทุนในตลาด IoT เพื่อให้นักธุรกิจเหล่านั้นได้ตระหนักว่า จะทําอย่างไร ให้บริษัทของตัวเองนั้น สามารถแข่งขันกับบริษัทเป็นร้อย ๆ ในตลาดเดียวกันได้ รวมทั้งจะทําอย่างไร ให้สามารถพัฒนาแพลตฟอร์ม IoT ให้กลายเป็น “White Label” หรือบริษัทที่สร้างโฮสต์ทิ้ง หรือแพลตฟอร์มให้ผู้อื่นเข้ามาใช้งาน ปรับธุรกิจให้กลายเป็น “ผู้นํา” มากกว้า “ผู้ตาม”

ในยุคที่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตมาพร้อมกับเทคโนโลยีอันลํ้าสมัย บางองค์กรเน้นความสําคัญกับการพัฒนาเฉพาะด้านเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถก้าวทันโลกได้ โดยลืมไปว่าการพัฒนาทักษะบุคลากร รวมถึงปลูกฝังแนวคิดในการรับมือความเปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ กัน ก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ และจะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมก้าวไปสูอนาคตได้อย่างยั่งยืน

สนับสนุนบทความโดย: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ www.ftpi.or.th