วิเคราะห์สถานการณ์อุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ การปรับตัวต่อความท้าทายและโอกาสในตลาดโลก
วิเคราะห์สถานการณ์อุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ในปี 2023: การปรับตัวต่อความท้าทายและโอกาสในตลาดโลก พร้อมแนวทางพัฒนาศักยภาพการแข่งขัน
แผนกบริหารจัดการข้อมูลอุตสาหกรรม ฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ของอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เพื่อรายงานสถานการณ์และหาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ไทยอย่างยั่งยืน
สถานการณ์ภาพรวมของอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ (PCB)
อุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ (PCB) เป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1984 ในประเทศไทย โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมนี้เผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้การผลิต และการค้าของผลิตภัณฑ์วงจรพิมพ์หดตัวลง ปัญหานี้เกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ช้าจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ความไม่แน่นอนทางการเมือง และความตึงเครียดทางการค้าของประเทศที่เป็นทั้งคู่แข่งและคู่ค้าสำคัญในโลก เป็นต้น ด้านการผลิตของอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ในประเทศไทยลดลง ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2023 เนื่องจากตันทนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า รวมถึงผลกระทบจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจโลกทำให้คำสั่งซื้อลดลง แม้ว่าจะมีการลงทุนจากต่างชาติที่ยังคงสนใจเข้ามาในไทยแต่ยังคงมีการขาดดุลทางการค้าในอุตสาหกรรมนี้ ด้านการค้าระหว่างประเทศ พบว่า ไทยมีมูลค่าการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ซึ่งสะท้อนถึงความจำเป็นในการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกวงจรพิมพ์ของไทยในปี 2023 ที่ผ่านมาชะลอเช่นเดียวกันกับตลาดส่งออกโลก ซึ่งการส่งออกหดตัวโดยเฉพาะในประเทศคู่ค้าหลัก เช่น จีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังเกาหลีและโรมาเนียยังคงขยายตัวได้ สุดท้ายการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศในภูมิภาคเช่น จีนและเวียดนาม ยังตงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ไทยต้องเผชิญในอนาคต
ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ (PCB)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานจะเริ่มจากกระบวนการผลิตแผงวงจรพิมพ์ (PCB) โดยมีรายละเอียดดังนี้ การผลิตแผงวงจรพิมพ์เริ่มจากการเตรียมวัตถุดิบหลัก เช่น แผ่นทองแดงเคลือบ (CCL) ซึ่งเป็นวัสดุพื้นฐานสำคัญ จากนั้นจะผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การเจาะรู, การกัดกร่อนเพื่อสร้างลายวงจร, การเคลือบ, และการอบ เพื่อสร้างแผงวงจรที่ต้องการ ขั้นตอนสุดท้ายจะผลิตแผงวงจรตามชนิดที่ต้องการ เช่น แผงวงจรชั้นเดียว, สองชั้น, หลายชั้น, แบบยืดหยุ่น, และแบบแข็งและยึดหยุ่น เมื่อวิเคราะห์กระบวการผลิตและนำมาสู่การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม วงจรพิมพ์ ประกอบด้วย
1) อุตลาหกรรมตันน้ำ (Upstream): รับผิดชอบการจัดหารวัสดุ เช่น ทองแดงและ FR4 รวมถึงการออกแบบวงจรพิมพ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการผลิตแผงวงจร
2) อุตลาหกรรมกลางน้ำ (Midstream): ครอบคลุมการผลิตและประกอบแผงวงจรพิมพ์ตามความต้องการของผู้ประกอบการ รวมถึงการทดสอบและควบคุมคุณภาพ
3) อุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream): ผู้ประกอบการที่น้ำแผงวงจรพิมพ์ไปใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป และการประกอบส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และ
4) อุตสาหกรรมสนับสนุน: รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพื้นฐาน เช่น การบั้มขึ้นรูป, การชุบเคลือบ, และการฉีดพลาสติก ซึ่งการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์เผยให้เห็นถึงความซับซับซ้อนของกระบวนการผลิตและบทบาทสำคัญของแต่ละขั้นตอนในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ที่มีคณภาพและตอบสบสนองความต้องการของตลาด
โครงสร้างผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ (PCB)
การวิเคราะห์ห่างโชอุปทานของอุดสาหกรรมวงจรพิมพ์ในประเทศไทยให้ให้เห็นให้เห็นว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ดำเนินกิจการในกระบวนการผลิตกลางน้ำและปลายน้ำ โดยเฉพาะการผลิตแผงวงจรหลายชั้น (Mutlayer) หรือแผงวงจรที่มีความหนาแน่นสูง (High Density) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูง ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์ (PCB) และการประกอบแผงวจรพิมพ์ (Printed Cirouit Board Assembly) รวม 163 ราย ซึ่งแบ่งตามขนาดธุรกิจเป็น 83 โรงงานขนาดใหญ่, 16 โรงงานขนาดกลาง,และ 64 โรงงานขนาดเล็ก การลงทุนในอุตสาหกรรมนี้มีการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยกิจการร่วมทุนกับต่างชาติมักมีผู้บริหารเป็นชาวต่างชาติที่ดูแลการผลิตและการบริหารงาน ในส่วนข้อมูลการลงทุนในช่วงปี 2561 ถึง 2566 แสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนในอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ โดยเฉพาะปี 2566 ที่มีการขยายตัวสูงสุดในกลุ่มกิจการวงจรพิมพ์และได้รับการสนับสนุนจาก BO! เพื่อให้ไทยเป็นฐานการผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำในตลาดโลกปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์และสงครามการค้าช่วยให้ไทยกลายเป็นฐานการผลิต PCB อันดับ 1 ของอาเซียนและอันดับ 2 ของภูมิภาค รองจากจีน
ศักยภาพทางการแข่งขันวงจรพิมพ์ (PCB)
การวิเคราะห์ศักยภาพทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์โดยใช้การวิเคราะห์ควาได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA) แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีค่าความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ 1.57 ในปี ค.ศ. 2023 ซึ่งบ่งชี้ถึงความได้เปรียบในการส่งออกวงจรพิมพ์อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีความได้เปรียบต่ำกว่าประเทศฮ่องกง ได้หวัน และเกาหลีได้ที่มีค่าความได้เปรียบสูงกว่า ในส่วนของการวิเคราะห์ส่วนแบ่งตลาดคงที่ (CMMS) ระบุว่า การขยายตัวของตลาดโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสบสนุนการส่งออกของไทย แม้การกระจายตลาดและการแข่งขันจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการส่งออกของไทยในบางช่วงเวลา การส่งออกของไทยในช่วงปี ค.ศ. 2020 ถึง 2023 ขยายตัวเล็กน้อย (0.23%) แต่ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงและการส่งออกไปยังตลาดที่ไม่เหมาะสม ด้านการวิเคราะห์ตำแหน่งและความสามารถในการแข่งขัน (BCG Matrx) ระหว่างปี ค.ศ. 2016 ถึง 2019 และปี ค.ศ. 2020 ถึง 2023 พบว่าประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น จีน และฮ่องกง มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในตลาดจาก "เครื่องหมายคำถาม" (Question Marks) ไปสู่ "สินค้าดาวร่วง" (Dogs) แสดงถึงความยากลำบากในการรักษาการเติบโตในตลาดวงจรพิมพ์ ส่วนประเทศมาเลเซียมีความพยามที่จะเปลี่ยนจากตำแหน่ง "สินค้าดาวร่วง" ไปสู่ "ครื่องหมายคำถาม"โดยรวมแล้ว การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงมีศักยภาพในการแข่งขัน แต่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก การพัฒนาแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมจะเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมสร้างการส่งออกในอนาคต
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจในอุตสาหกรรม
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจในอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ในประเทศไทยใช้วิธีการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งช่วยให้เข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ต้องเผชิญ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ จุดแข็งของอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ไทยประกอบด้วยแรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านและการสนับสนุนจากรัฐบาล รวมถึงต้นทุนการผลิตที่แข่งขันได้และโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ซึ่งทำให้สามารถผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงในราคาที่แข่งขันได้ นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนจากรัฐบาลในด้านนโยบายและการลงทุนเพื่อส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรม ในด้านจุดอ่อน การพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศทำให้เกิดข้อจำกัดในด้านนวัตกรรม และขนาดตลาดภายในประเทศยังคงจำกัด นอกจากนี้ การแข่งขันจากประเทศในภูมิภาคเช่น จีนและเวียดนามที่มีดันทุนการผลิตต่ำกว่ายังเป็นความท้าทายสำคัญ ในส่วนของโอกาส อุตลาหกรรมวงจรพิมพ์สามารถใช้ประโยชน์จากการเติบโตของตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี 5G และ IoT รวมถึงการขยายตลาดไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดเดียว และสุดท้ายอุปสรรคที่ต้องเผชิญ ได้แก่ ความผันผวนของราคาวัตถุดิบ ความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและการเติบโตของอุดสาหกรรม จากข้อมูลการวิเคราะห์ SWOT นำมาสู่การกำหนดกลยุทธ์ด้วย TOWS Matix เกิดข้อแนะนำให้ใช้กลยุทธ์เชิงรุกโดยการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่และขยายการผลิตเพื่อรองรับตลาดอาเซียน กลยุทธ์เชิงป้องกันแนะนำให้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตและสร้างความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาค ส่วนกลยุทธ์เช็งแก้ไขเสนอการเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนา และการเข้าสู่ตลาดใหม่ ขณะที่กลยุทธ์เชิงรับแนะนำให้กระจายแหล่งจัดหาวัตถุดิบและปรับตัวต่อเทคโนโลยีใหม่อย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับอุปสรรคที่เกิดขึ้น
ข้อเสนอแนะเพื่อให้ประเทศไทยสามารถรักษาและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรักษาและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมนี้ นโยบายเชิงรุกควรให้ความสำคัญกับการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการขยายตลาดไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียน นโยบายนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดเดียว นับตั้งแต่ปลายปี 2565 เป็นต้นมา มีการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์และอุดสาหกรรมเกี่ยวเนื่องมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ในอนาคตคาดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมดังกว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การลงทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศและลดการพึ่งพาการนำเข้า การขยายกำลังการผลิตนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ แต่ยังสร้างโอกาสในการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ ในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D) จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดที่
เปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที
ในส่วนของการแก้ไขจุดอ่อนและอุปธรรคที่พบ นโยบายเชิงป้องกันควรมุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมกับส่งเสริมการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) รวมถึงควรมีการกระจายแหล่งจัดหาวัตถุดิบและปรับตัวต่อเทคโนโลยีใหม่อย่างรวดเร็ว เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ในด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ นโยบายควรส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะแรงงานให้เหมาะสมกับความต้องการของอุตลาหกรรมวงจรพิมพ์ รวมถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ไทยในตลาดโลก และทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาตำแหน่งฐานการผลิตชั้นนำในภูมิภาคได้อย่างยังยืน
บทความนี้จัดทำโดย
แผนกบริหารจัดการข้อมูลอุตสาหกรรม ฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI)