โอกาสของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะไทยในตลาดโลก...ตอนที่ 4 กรณีศึกษา: แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021 - 2024) ของไต้หวัน: โอกาสใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

กรณีศึกษา: แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021 - 2024) ของไต้หวัน โอกาสใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

อัปเดตล่าสุด 7 มิ.ย. 2567
  • Share :
  • 992 Reads   

โอกาสของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะไทยในตลาดโลก...ตอนที่ 4 กรณีศึกษา: แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021 - 2024) ของไต้หวัน โอกาสใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกในยุคหลังโควิด ไต้หวันซึ่งเป็นหนึ่งในฐานการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายสำคัญของโลกได้จัดการกับความท้าทายดังกล่าวด้วยการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021 - 2024) ผ่านการขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงตั้งเป้าหมายสู่การเป็นประเทศดิจิทัลและเกาะอัจฉริยะ

แผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ตอนที่ 4 กรณีศึกษา แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021 - 2024) ของไต้หวัน: โอกาสใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประเทศของไต้หวันและนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบนโยบายเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่มีศักยภาพ (Smart Domain) และกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของไทย โดยบทวิเคราะห์มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021-2024) ของไต้หวัน: โอกาสใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021 - 2024) ของไต้หวันได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 202 ซึ่งแผนดังกล่าวได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศผ่านการสร้างแบบจำลองทางเศรษฐกิจใหม่ มุ่งสู่การเป็นผู้เล่นสำคัญในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกโดยใช้กลยุทธ์ Six Core Strategic Industries อำนวยความสะดวกในการปฏิรูปโครงสร้างของอุตสาหกรรม

ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ สร้างไต้หวันให้เป็นประเทศดิจิทัลและเกาะอัจฉริยะ เพิ่มเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตร โดยแผนดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจของไต้หวันมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 26-34 ในช่วงสี่ปีข้างหน้า

ภาพรวมการค้าของไต้หวัน

ไต้หวันเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยในปี 2020 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไต้หวันเติบโตร้อยละ 2.98 เนื่องจากได้รับประโยชน์จากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีในช่วงการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ทำให้การส่งออกสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวันขยายตัวเพิ่มขึ้น

ขณะที่ในปัจจุบัน สำนักงานงบประมาณ บัญชี และสถิติไต้หวัน คาดการณ์ว่า ในปี 2023 เศรษฐกิจไต้หวันจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.04 จากที่ก่อนหน้านี้เคยคาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.12 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ สงครามรัสเซีย-ยูเครน และสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ซึ่งทำให้อุปสงค์สินค้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจของไต้หวัน ได้แก่ การลงทุนอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ บริษัทไต้หวันในต่างประเทศที่ย้ายกลับมาลงทุนในไต้หวัน การลงทุนด้านพลังงานลมนอกชายฝั่ง การลดหย่อนภาษีสำหรับบริษัทด้านนวัตกรรม รวมไปถึงมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิด 19 ที่มีผลตั้งแต่ปี 2023 - 2025 เช่น การแจกเงินสดให้ประชาชน กองทุนประกันภัยแรงงานกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ เงินอุดหนุนธุรกิจ SMEs และภาคการผลิต Incentive สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นต้น


1 ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในไต้หวัน (ที่มา: https://haibiztaiwan.thaiembassy.org)
2 สำนักข่าวอินโฟเดวสท์ (ที่มา: https:/ww.infoquest co.th/2023/304635)
3 ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในต้หวัน (ที่มา: htps://haibiztaiwan.thaiembassy.org/h/contenteconupdate202391)

สำหรับภาพรวมการค้าของไต้หวันในช่วงปี 2013 - 2022 พบว่า การนำเข้าสินค้าของไต้หวันมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (CAG R) ที่รัอยละ 5.4 หรือมีมูลค่าการนำเข้าจาก 269,306 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในปี 2013 เพิ่มขึ้นเป็น 435,053 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 สินค้าหลักที่ไต้หวันนำเข้าในปี 2022 ได้แก่ สินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (HS 84 และ HS 85) โดยมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 45 และสินค้าเชื้อเพลิงที่ได้จากแร่ น้ำมันแร่และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นสิ่งดังกล่าว สารบิทูมินัส ไขที่ได้จากแร่ (HS 27) ร้อยละ 17 ขณะที่ประเทศคู่ค้าหลักที่ไต้หวันนำเข้าสินค้า ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ

ในขณะที่ การส่งออกสินค้าของไต้หวันมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 4.9 หรือมีมูลค่าการส่งออกจาก 287,259 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2013 เพิ่มขึ้นเป็น 443, 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 สินค้าหลักที่ไต้หวันส่งออก ได้แก่ สินด้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (HS 84 และ HS85) โดยมีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 64 และสินค้าพลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก (HS 39) ร้อยละ 5 ขณะที่ประเทศคู่ค้าที่ไต้หวันมีสัดส่วนการส่งออกสินค้ามากที่สุด ได้แก่ จีน สหรัฐฯ และฮ่องกง

ภาพรวมแผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021-2024) ของไต้หวัน

แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี ปี 2021 - 2024) ของไต้หวัน มีเป้าหมายเพื่อรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง รักษาตำแหน่งผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับตัน ๆ ของโลก มุ่งสู่การเป็นประเทศดิจิทัลและเกาะอัจฉริยะ พร้อมทั้งพัฒนาเมืองเพื่อสร้างสังคมแห่งความสุข และทำให้ไต้หวันเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ระบุไว้ข้างตัน ไต้หวันจึงออกกลยุทธ์หลัก 4 ด้าน ดังนี้

1) ศึกษาเมกะเทรนด์ทั่วโลก (Global Mega Trends)

ศึกษาสถานการณ์เศรษฐกิจและกฎระเบียบการค้ารูปแบบใหม่พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยี AI เทคโนโลยี 5G และข้อมูล Big Data เพื่อรองรับเศรษฐกิจการค้ในรูปแบบดิจิทัล เพิ่มทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกด้วย โดยจะปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนตลอดจนปรับกระบวนการการผลิตให้ปล่อยคาร์บอนต่ำ

2) วิเคราะห์ประเด็นในระยะกลางและระยะยาว (Analyzing Medium/Long-Term Issues)

พัฒนาเศษฐกิจและนวัตกรรมดิจิทัลด้วยการปรับโครงสร้างของห่วงโซ่การผลิตผ่านกลยุทธ์การพัฒนา 6 อุตสาหกรรมหลักในประเทศและยกระดับ 2 นวัตกรรม AI และ 5G โดยเชื่อมโยงทุกห่วงโซ่การผลิตเข้าด้วยกันเพื่อเปลี่ยนผ่านจากอุตลาหกรรมในรูปแบบเดิมไปสู่อุตสาหกรรมแบบดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ เพิ่มทักษะให้แรงงาน ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เอื้ออำนวยต่อผู้สูงอายุเสริมสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพและการป้องกันโรคระบาด รวมถึงส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว ลดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติและปรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ปล่อยคาร์บอนต่ำ

3) เป้าหมายเศรษฐกิจมหภาคปี 2021 - 2024 (Macroeconomic Targets for 2021 - 2024)

ไต้หวันจะใช้โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ 2.0 เพื่อจัดการกับความท้าทายและสร้างโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกในยุคหลังโควิด โดยจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและเทดโนโลยี AI เทคโนโลยี 5G และระบบอัตโนมัติเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP Per Capita) เฉลี่ย 4 ปี (ปี 2021 - 2024) เพิ่มเป็น 32,335 - 32.648 ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.3 - 3.7

4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศปี 2021 - 2024 (National Development Strategies 2021 -2024)

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเปิดภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจใหม่และทำให้ไต้หวันเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ต้หวันจะดำเนินการตาม 4 กลยุทธ์หลัก ดังนี้ (1) ใช้โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจ (2) สร้างความสังคมแห่งความสุขเพื่อการดูแลทุกช่วงวัย (Forging a Happy Society for Care of All Ages) (3) สร้างสมดุลการพัฒนาภูมิภาคเพื่อหล่อหลอมไต้หวันให้เป็นบ้านแห่งความสุขสำหรับทุกคน (People-Centered Sustainable Development, Shaping a LOHAS Homeland for Balanced Development) และ (4) สร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศเพื่อการดำรงอยู่อย่างสงบสุข (Peaceful Reciprocity, Pursuing Peaceful Foreign Relations for Generations)

ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินงานตามกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจ 2.0 (โมเดลเศรษฐกิจใหม่) ไต้หวันได้มีการส่งเสริมการยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศที่น่าสนใจ คือ การส่งเสริม 6 อุตสาหกรรมหลักเชิงกลยุทธ์ (Program for Promoting Six Core Strategic Industries) ที่มุ่งเป้าพัฒนา 6 อุตสาหกรรมหลักภายในประเทศ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


(1) อุตสาหกรรมข้อมูลสารสนเทศและดิจิทัล (Information and Digital Industries) จะมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ ส่งเสริมการใช้งาน AloT และจัดทีม 5G ระดับชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำการผลิตด้านเทคโนโลยี ICT ส่งออกโซลูชัน AIoTไปทั่วโลก และรักษาบทบาทสำคัญในห่วงซ่อุปทานทั่วโลกของเทคโนโลยี 5G

(2) อุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Outstanding Cybersecurity Industry) จะมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี 5G เซมิคอนดักเตอร์การพัฒนาโซลูชันเกี่ยวกับ AI0T การดูแลสุขภาพ การจัดตั้งองค์กรเพื่อการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ

(3) อุตสาหกรรมสุขภาพแม่นยำ (Taiwan Precision Health Industries) จะมีการจัดตั้งแพลตฟอร์มที่รวมเนื้อหาของ Biobank ไต้หวันและฐานข้อมูลการวิจัยการประกัน สุขภาพแห่งชาติ ระบบการป้องกัน การวินิจฉัย การรักษา และการดูแลที่แม่นยำ การพัฒนาผลิตภัณฑ์การป้องกันการแพร่ระบาดที่แม่นยำระดับนานาชาติ และการสำรวจโอกาสทางธุรกิจชีวการแพทย์เพื่อส่งเสริมให้ไต้หวันเป็นแบบอย่างในด้านการป้องกันการแพร่ระบาดทั่วโลก

(4) อุตสาหกรรมการบิน อวกาศ การต่อเรือและยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศ (National Defense and Strategic Industries) จะมีการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการบินและอวกาศ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการต่อเรือรวมถึงระบบขับเคลื่อนการพัฒนาดาวเทียมและอุปกรณ์ภาคพื้นดินและเปิดตัวดาวเทียม B5G ครั้งแรกในปี 2025

(5) อุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวหรือพลังงานทดแทน (Green and Renewable Energy Industries) มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานสีเขียวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปลี่ยนแปลงพลังงานแห่งชาติในปี 2025 เป็นผู้ส่งออกสำคัญ สำหรับอุตลาหกรรมพลังงานลม (ส่งออกชิ้นส่วนสำคัญของกังหันลมขนาดใหญ่ 9 - 124 เมกะวัตต์) มีกำลังการผลิตและการติดตั้งพลังงานลมมากถึง 5.7 กิกะวัตต์ ภายในปี 2025 และลงทุนพลังงานลมนอกชายฝั่ง 1 ล้านล้านเหรียญไต้หวัน

(6) อุตสาหกรรมคลังสินค้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic Stockpile Industries) จัดหาวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนสำรองสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญ เช่น อุปกรณ์เซมิ-คอนดักเตอร์ แบตเตอรี่รถยนต์และวัตถุดิบสำหรับการผลิตยา เป็นต้น รวมถึงสร้างแพลตฟอร์มการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับวัสดุทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศ ส่งเสริมการซื้อสินค้าทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศ และจัดหา

ในช่วงปี 20 13 - 2022 การนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวันมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 10.9 หรือมีมูลค่าการนำเข้าจาก 54,206 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2013 เพิ่มขึ้นเป็น 138,125 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2022 ในขณะที่ การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวันมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 11.3 หรือมีมูลค่าการส่งออกจาก 97,189 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 20 13 เพิ่มขึ้นเป็น 255,87 1 านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 โดยประเทศคู่ค้าหลักที่ไต้หวันนำเข้าและส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ จีน ขณะที่สินค้าสำคัญที่ไต้หวันนำเข้าและส่งออก ได้แก่ สินค้าวงจรรวม นอกจากนี้ ไหวันยังมีบทบาทสำคัญในหวงโซ่การผลิตสินค้าเซมิคอนดักเตอร์และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก โดยไต้หวันผลิตเซมิคอนดักเตอร์มากกว่าร้อยละ 60 ของโลกและส่วนใหญ่ผลิตโดยบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Corporation (TSMC)




แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021 - 2024) ของไต้หวันกับการสนับสนุนการเติบโตของ Smart Domain

แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021 - 2024) ของไต้หวั่นจะเป็นโอกาสในการสนับสนุนการเติบโตของกลุ่มผลิตภัณฑ์ป้าหมายของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่มีศักยภาพ (Smart Domain) 4 กลุ่ม ได้แก่ บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) รวมไปจนถึงกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กลยุทธ์ที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี AI เทคโนโลยี 5G และข้อมูล Big Data ภายใต้แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021-2024) ของไต้หวันจะนำไปสู่การพัฒนาโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) และฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm)


การยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมไปสู่โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) จะทำให้ไต้หวันสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของโลกได้ ตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโล่ยีที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับโรงงานอุตลาหกรรมไปสู่โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) เช่น การติดตั้งเซนเซอร์ให้ทำงานร่วมกับเทคโนโลยี AI เพื่อติดตามและบันทึกผลการทำงานที่ผิดปกติได้ พร้อมทั้งนำข้อมูล Big Data ที่ได้มาวางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรและยังสามารถลดระยะเวลาในการตรวจสอบอุปกรณ์ด้วยวิธีทางกายภาพ นอกจากนี้ หากนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติก็จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถทราบข้อมูลการผลิตทั้งหมดได้แบบเรียลไทม์ สามารถติดตามได้จากระยะไกล ช่วยลดระยะเวลาการทำงานของเครื่องจักร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เซมิดอนดักเตอร์ที่ต้องใช้ความแม่นยำสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

สำหรับการพัฒนาบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) นั้น จะทำให้ไต้หวันบรรลุเป้าหมายการสร้างสมดุลการพัฒนาภูมิภาคเพื่อหล่อหลอมไต้หวันให้เป็นบ้านแห่งความสุขสำหรับทุกคน ตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) เช่น 1) การติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับแก๊สรั่วหรือการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับน้ำรั่ว ซึ่งหากเซนเซอร์ตรวจพบความผิดปกติก็จะทำการสั่งปิดอัดโนมัติ หรือแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันบน Smartphone เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งปิดได้อย่างรวดเร็ว 2) การใช้อุปกรณ์ Smart Plug, Smart Light และ Smart Meters เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ I0T เทคโนโลยี 5G เทคโนโลยี AI โดยแสดงผลการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบน Smartphone เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานภายในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัน

ขณะที่การส่งเสริมอุตลาหกรรมสุขภาพแม่นยำที่มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี AI เทคโนโลยี 5G และระบบ Big Data เพื่อยกระดับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องไปสู่โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้งสังคมแห่งความสุขเพื่อการดูแลทุกช่วงวัย (Forging a Happy Society for Care of AIL Ages) โดยตัวอย่างการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับไปสู่โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smat Hospital) เช่น 1) การสร้างแพลตฟอร์มกลางเพื่อเก็บรวบรวมฐานข้อมูลคนไข้ ฐานข้อมูลด้านสุขภาพประชาชนมาไว้ในระบบ Big Data ระบบเดียว เพื่อให้โรงพยาบาลของภาครัฐและภาคเอกชนสามารถดึงฐานข้อมูลดังกล่าวผ่านเทคโนโลยี 5G มาใช้ในการวินิจฉัยโรคและให้บริการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว 2) การพัฒนาเทคโนโลยี AI และเซนเซอร์สำหรับเดียงอัจฉริยะเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันหรือสั่งงานด้วยสายตาในการช่วยพลิกตัวเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ เป็นต้น

ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยี A เทคโนโลยี 5G และอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวและลดความเสียหายซื้อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินั้นจะเป็นโอกาสสำคัญในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในการผลิตของสินค้าเกษตรต่าง ๆ ไปสู่ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ตัวอย่างการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เช่น การใช้หุ่นยนต์ที่มีเซนเซอร์และกล้องตรวจวัดความผิดปกติของอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่ ซึ่งหากหุ่นยนต์ตรวจพบว่าภายในโรงเรือนมีอุณหภูมิผิดปกติจะรายงานผลสภาพอุณหภูมิภายในโรงเรือนแบบเรียลไทม์ด้วยเทคโนโลยี 5G และประมวลผลด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้โรงเรือนมีอุณหภูมิชื้นเกินไปจนอาจทำให้แม่ไก่มีสุขภาพแย่และอาจส่งผลต่อคุณภาพของไข่ที่ฟักออกมา 2) การนำเทคโนโลยีดาวเทียม เทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยี AI มาช่วยวิเคราะห์และบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรน้ำ เป็นต้น นอกจากกลยุทธ์มุ่งส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี AI เทคโนโลยี 5G ข้อมูล Big Data แล้ว แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021 -2024) ของไต้หวันยังมีกลยุทธ์ส่งเสริมอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวหรือพลังงานทดแทน การมุ่งเป็นศูนย์กลางด้านสีเขียวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การเปลี่ยนแปลงพลังงานแห่งชาติภายในปี 2025 และการจัดหาวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนสำรองสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญ เช่น อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์และแบตเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น

กลยุทธ์ดังกล่าวเป็นโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีของกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV ตัวอย่างการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เช่น การพัฒนาชิป (IC) เซนเซอร์อุปกรณ์เชมิคอนดักเตอร์ เทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยี AI โดยใช้ดวบคู่กับระบบรักษาความปลอดภัยของตัวรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อตรวจจับการขับขี่ออกนอกเลนโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว นำมาใช้ควบคุมการสั่งงานในระบu Infotainment ของรถยนต์ รวมถึงนำมาใช้ดวบคุมระบบแบตเตอรี่ ระบบชาร์จไฟฟ้า และระบบส่งกำลังรถยนต์ (Powertrain System) เป็นต้น


สรุป

แผนพัฒนาแห่งชาติระยะ 4 ปี (ปี 2021 .2024) ของไต้หวัน มีกลยุทธ์หลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1) ศึกษาเมกะเทรนด์ทั่วโลก (Global Mega Trends) เช่น เทคโนโลยี AI เทคโนโลยี 5G และข้อมูล Big Dala เป็นตัน 2) วิเคราะห์ประเด็นในระยะกลางและระยะยาว (Analyzing Medium /Long - Term Issues) และนำไปสู่การเชื่อมโยงทุกห่วงโซ่การผลิตเข้าด้วยกันเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมแบบดิจิทัล 3) เป้าหมายเศรษฐกิจมหภาค ปี 2021 - 2024 (Macroeconomic Targets for 2021 - 2024) ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ย 4 ปี (ปี2021 - 2024) จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 33 - 3.7 และ 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศปี 2021 - 2024 (National Development Strategies 2021 - 2024) เช่น โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจ 2.0 ที่เนันการส่งเสริม 6 อุตสาหกรรม หลักเชิงกลยุทธ์ (Program for Promoting Six Core Strategic Industries)' จะเห็นได้ว่า แผนพัฒนาแห่งชาติ ระยะ 4 ปี (ปี 2021 - 2024) ของไต้หวันได้ให้ ความสำคัญกับการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี AI เทคโนโลยี 5G และข้อมูล Big Data และเชื่อมโยงเข้ากับอุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของกลุ่มผลิตภัณฑ์เป้าหมายของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่มีศักยภาพ (Smart Domain) 4 กลุ่ม ได้แก่ บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) รวมไปจนถึงกลุ่ม รถยนต์ไฟฟ้า (EV)






สำหรับการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ภายใต้แผนพัฒนาแห่งชาติของไต้หวันนั้น นอกจากจะทำให้อุตสาหกรรมในประเทศเติบโตแล้ว ยังสร้างโอกาสด้านการและการลงทุน รวมไปจนถึงส่งเสริมความร่วมมือทางด้นอุตสาหกรรมระหว่างไตัหวันและไทยให้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการไต้หวันให้ความสนใจในการร่วมมือกับผู้ประกอบการไทยเพื่อจับคู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผลิตภัณฑ์อิล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่มีศักยภาพ (Smart Domain) เช่น การที่ผู้ประกอบการไต้หวันได้เข้าร่วมงานจัดแสดงสินค้าในไทยเพื่อแสดงโซลูชันและนำเสนอผลิตภัณฑ์วัตกรรมด้านการผลิตอัจฉริยะและอุปกรณ์อัตโนมัติในงาน Manufacturing Expo 2023' หรือการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้เชิงลึก Smart Farming ไทย-ต้หวั่น และไต้หวั่นได้แนะนำอุปกรณ์และซลูชั่น Smart Fanming เพื่อแก้ปัญหาเชิงเทคนิคในฟาร์มอัจฉริยะ เป็นต้นซึ่งความร่วมมือทางธุรกิจจะทำให้ไทยสามารถใช้ทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพจากไต้หวันในการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ รวมถึงเพิ่มโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่มีศักยภาพ (Smart Domain) ร่วมกันด้วย

ทั้งนี้ ในปี 2022 ที่ผ่านมา ไทยมีมูลคำการรวมในสินด้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กับไต้หวัน 9,229 ล้านดอลลาร์สหรัฐ' ขณะที่สถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ปี 2022 พบว่าไต้หวันมีจำนวนโดรงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น 68 โดรงการ และมีมูลค่ารวม 45,215 ล้านบาท


5 สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2023/313062)
6 สำนักข่าวแนวหน้า (ที่มา: https://www.naewna.com/lady/752838_
7 มูลค่าการค้ารวมในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้และอิเล็กทรอนิกส์ (HS 84 และ HS 85) จาก Global Trade Allas
8 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

บทความนี้จัดทำโดย

แผนกนโยบายและแผน ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E Intelligence Unit: EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI)