รถยนต์ไฟฟ้า ZERO Emission จริงหรือไม่, Surapong Tangtaratorn, Factory Max, สุรพงศ์ ตั้งธราธร,แฟ็คทอรี่ แม็กซ์

รถยนต์ไฟฟ้า ZERO Emission จริงหรือไม่

อัปเดตล่าสุด 20 ก.ค. 2566
  • Share :
  • 1,288 Reads   

คำถามในใจใครหลายคน “รถยนต์ไฟฟ้า ZERO Emission จริงหรือไม่” ท่ามกลางการเร่งเครื่องนโยบาย 30@30 ที่ไทยตั้งเป้าผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (ZEV) ให้ได้ 30% ในปี 2030 เพื่อเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) 

ผู้ประกอบการในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิต นายสุรพงศ์ ตั้งธราธร ผู้บริหารกลุ่มบริษัท แฟ็คทอรี่ แม็กซ์ (Factory Max) หนึ่งในผู้นำเทคโนโลยีและโซลูชันด้านเครื่องจักรกลและเครื่องมืออุตสาหกรรม ได้แลกเปลี่ยนความเห็นไว้ดังนี้

รถยนต์ไฟฟ้า ZERO Emission จริงหรือไม่ 

นายสุรพงศ์ได้ฉายภาพให้เห็นถึง “รถยนต์ไฟฟ้า” เป็นจุดเปลี่ยนเกมของผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง Tesla และแบรนด์จีน ที่ต้องการเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งถูกครอบงำโดยแบรนด์ดั้งเดิมจนมองไม่เห็นโอกาสในการเข้าสู่ตลาด 

จุดขายหลักของรถยนต์ไฟฟ้าคือความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม แต่หากมองภาพรวมทั้งหมดอาจไม่ใช่ โดยนายสุรพงศ์เปรียบเทียบการใช้พลังงานระหว่างรถอีวีและรถยนต์ ICE ไว้ว่า รถอีวีอาศัยไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ต้องใช้พลังงานเช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน มาผลิตกระแสไฟส่งผ่านมาตามสายไฟ ซึ่งเกิดการสูญเสียระหว่างทาง ไฟที่ชาร์จเข้าตัวรถจะได้ประสิทธิภาพพลังงานเพียง 40% จากพลังงาน 100% ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ในขณะที่รถยนต์ ICE เติมน้ำมัน 100% จะได้ประสิทธิภาพพลังงาน 50% ซึ่งมากกว่ารถอีวี

นอกจากนี้ รถอีวียังมีโจทย์ในการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ทำได้น้อยมาก เทคโนโลยีในการรีไซเคิลปัจจุบันยังไม่ก้าวหน้าพอ ในขณะที่รถยนต์ ICE สามารถรีไซเคิลได้เกือบทั้งคัน 

นโยบาย 30@30 จะสร้างไทยเป็นฐานการผลิต “ชิ้นส่วน EVs” ได้หรือไม่ 

นายสุรพงศ์มีความเห็นต่อนโยบาย 30@30 ในการผลักดันยานยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ไทยเป็นฮับผลิตรถอีวีของภูมิภาคได้ เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมในการผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ถึง 70% อยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการใช้ชิ้นส่วนในประเทศให้มากที่สุด โดยเฉพาะค่ายจีนที่อาจใช้สิทธิประโยชน์ FTA ไทย-จีน นำเข้าชิ้นส่วนมาประกอบในไทย ทำให้เราเป็นเพียงที่แสตมป์ตราผลิตจากประเทศไทย แต่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการเข้ามาลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้แก่ประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมองถึงการวางนโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าเฉพาะเซกเมนต์เท่านั้น เช่นในกลุ่มรถสาธารณะที่กำหนดเส้นทางวิ่งชัดเจน และรถยนต์นั่งขนาดเล็ก เพราะรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นรถที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับใช้ขับขี่ในเมือง ซึ่งผู้บริโภคจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง และรัฐบาลจะสามารถวางงบประมาณสนับสนุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการให้เงินอุดหนุนที่ตรงกลุ่ม การออกแบบระบบนิเวศ สถานีชาร์จต่าง ๆ 

 

 

#zeroemission #ElectricVehicles #automotive #แบตเตอรี่อีวี #Mreport #ข่าวอุตสาหกรรม

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH