ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)
Asia - Pacific Economic Cooperation (APEC) หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบไปด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) รวมกันราว 62% หรือ 2 ใน 3 ของ GDP โลก ซึ่งมีเป้าหมายหลัก เพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึง ความร่วมมือในด้านมิติสังคม และการพัฒนาด้านอื่น ๆ
การค้ารวมระหว่างไทยกับ APEC ปี 2021 มีมูลค่าราว 385,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 71.52% ของการค้ารวมทั้งหมดของไทย แบ่งเป็น
- การนำเข้า มีมูลค่า 190,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- การส่งออก มีมูลค่า 195,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การค้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างไทยกับ APEC ปี 2021 มีมูลค่าราว 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 28.57% ของการค้ารวมทั้งหมดของไทย แบ่งเป็น
- การนำเข้า มีมูลค่า 56,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 29% ของการนำเข้าสินค้าจาก APEC ของไทย สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ 1. วงจรรวม 2. เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ 3. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
- การส่งออก มีมูลค่า 54,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 28% ของการส่งออกสินค้าไป APEC ของไทย สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ 1. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 2. วงจรรวม 3. เครื่องปรับอากาศ
ประเด็นการประชุม APEC 2022 THAILAND
ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ ได้มุ่งผลักดันประเด็นหลัก 3 ประเด็น ดังนี้
1. "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ (Open)"
ส่งเสริมการค้าการลงทุนเสรีและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ผ่านการขับเคลื่อนการเจรจาเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTAAP)
2. "สร้างการเชื่อมโยงทุกมิติ (Connect)"
ส่งเสริมการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย ผ่านการจัดตั้งกลไก APEC Safe Passage Taskforce
3 "สร้างสมดุลรอบด้าน (Balance)"
ส่งเสริมการเจรื่ญเติบโตที่ยั่งยืนตามแนวคิด BCG Economy
โดยการจัดงานครั้งนี้ ประเทศไทยได้ประกาศ "เป้าหมายกรุงเทพ" หรือ "Bangkok Goals on BCG Economy" ซึ่งให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy
การเจรจาเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิก (FTAAP)
แผนงาน FTAAP : สมาชิก APEC อยู่ระหว่างการจัดทำแผนงาน FTAAP ซึ่งจะเป็นแผนระยะ 4 ปี ระหว่างปี 2023-2026 เพื่อมุ่งสู่การจัดทำ FTAAP
ประโยชน์ของ FTAAP : หากเป็น FTAAP ในปี 2040 จริง คาดการณ์ว่ามูลค่าการค้าในกลุ่ม 21 เขตเศรษฐกิจ จะเพิ่มขึ้นประมาณ 200-400%
ไทยยังไม่มี FTA กับสมาชิกเอเปค บางประเทศ : ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา รัสเซีย ไต้หวัน ปาปัวนิวกินี และเม็กซิโก
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
จัดทำโดย แผนกนโยบายและแผน ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E Intelligence Unit: EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI)
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH