ถอดรหัส การสร้างนวัตกรรมในแบบฉบับ ‘พีทีที แอลเอ็นจี’

ถอดรหัสการสร้างนวัตกรรมในแบบฉบับ ‘พีทีที แอลเอ็นจี’

อัปเดตล่าสุด 30 มิ.ย. 2565
  • Share :
  • 2,364 Reads   

ถอดรหัสความสำเร็จการสร้างนวัตกรรมของ พีทีที แอลเอ็นจี ผู้เปลี่ยนสถานะก๊าซ LNG ให้เป็น “พลังงานความเย็น” ที่สามารถนำมาสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ ผ่านการวิเคราะห์จุดแข็งทางธุรกิจ ทั้งในเรื่องของ ‘คน’ และ ‘กระบวนการทำงาน’ 

ภายในงานสัมมนา “Thailand Quality Award 2021 Winner Conference :The Excellence of the Future Readiness” ซึ่งเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนชั้นนำ ผู้ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2564 (Thailand Quality Award: TQA) ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ผ่านงานนี้ โดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 

บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด หนึ่งใน 2 องค์กรที่ได้รับรางวัล TQC Plus: Innovation 2021 ได้ร่วมแบ่งปันแนวคิดในหัวข้อบรรยาย TQC Plus Insights: การจัดการนวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ โดย นายประทีป จิตรประทักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ปฏิบัติการ 

 

หลักในการทำนวัตกรรมของ พีทีที แอลเอ็นจี 

นายประทีป เปิดเผยว่า พันธกิจหลักของ พีทีที แอลเอ็นจี คือการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน โดยนำเข้าก๊าซ LNG จากต่างประเทศ ในกรณีที่ก๊าซภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ เรามีการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้พลังงานที่มากขึ้น รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนพลังงาน

ในการดำเนินธุรกิจ พีทีที แอลเอ็นจี ได้รับโจทย์มาว่า เราจะต้องมีการจ่ายก๊าซธรรมชาติอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีวันหยุด การดำเนินธุรกิจของเราจึงอยู่ภายใต้หลักการ การเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Growth Mindset Culture) และ การวิเคราะห์จุดแข็ง ค้นคว้าโอกาสทางธุรกิจ 

ถอดรหัส การสร้างนวัตกรรมในแบบฉบับ ‘พีทีที แอลเอ็นจี’

ทั้งนี้ ปริมาณก๊าซที่จ่ายจาก PTT LNG มีสัดส่วนอยู่ที่ 30 - 40% ให้กับซัพพลายเออร์ก๊าซธรรมชาติในประเทศ ทุก ๆ ครั้งที่เรามีการจ่ายก๊าซแอลเอ็นจีออกไป จึงต้องอยู่ในกรอบของเวลาที่รวดเร็ว เพราะหากใช้เวลานาน อาจเกิดไฟฟ้าดับในประเทศได้

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ และในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ จะต้องสามารถเข้าไปบริการจัดการต่าง ๆ ได้ทันท่วงทีและทันต่อเวลา โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งตัวอุปกรณ์เครื่องจักรและตัวบุคคล

ถอดรหัส การสร้างนวัตกรรมในแบบฉบับ ‘พีทีที แอลเอ็นจี’

นายประทีป จิตรประทักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ปฏฺิบัติการ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด

อีกประการ เนื่องจากเราเป็นหน่วยที่มีการให้บริการ ดังนั้น จึงมีหน่วยงานกำกับจากทางภาครัฐ เป็นผู้คอยกำกับดูแลในเรื่องของอัตราค่าบริการ หากเราคิดค่าบริการในอัตราสูง ผลกระทบก็จะตกอยู่กับภาคประชาชน ต้องจ่ายค่าพลังงานไฟฟ้าที่สูงตาม ดังนั้น สิ่งสำคัญที่เราใช้เป็นหลักคิด คือ 

“ทำอย่างไรที่เราจะช่วยลดและควบคุมค่าใช้จ่าย หรือลดภาระต่าง ๆ ของภาคประชาชนได้ เราจึงต้องมีการค้นหาจุดแข็งขององค์กรของเรา ทั้งในเรื่องของคนและตัวกระบวนการการทำงานว่าเรามีจุดแข็งอย่างไร ด้านใดบ้าง เพื่อนำจุดแข็งมาเสริมสร้างสมรรถนะ ผลักดันให้การสร้างนวัตกรรมเกิดขึ้นจริง”

PTT LNG กับการค้นหาจุดแข็งทางธุรกิจ ในด้านกระบวนการผลิต

อย่างที่พอจะทราบกันมาว่า ก๊าซแอลเอ็นจีที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ จะอยู่ในสถานะตัวของเหลว มีอุณหภูมิ -160°C ซึ่งเรามีการนำน้ำทะเลมาช่วยเปลี่ยนสถานะจากของเหลวให้กลายเป็นก๊าซ ก่อนส่งเข้าระบบและนำจ่ายสู่ภาคประชาชน

มุมหนึ่ง เรามองเห็นว่า หากสามารถนำแอลเอ็นจีในสถานะของเหลวนี้มาใช้ประโยชน์ได้ ก็จะทำให้ต้นทุนต่าง ๆ ลดลง

แต่อีกมุมหนึ่ง แอลเอ็นจีที่อยู่ในระบบถังเสียของเรา มันไม่ใช่ของเรา แต่เป็นของลูกค้า สิ่งที่เราต้องมองต่อมา คือ หากเราจะนำมาใช้ประโยชน์ ลูกค้าก็ควรที่จะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้เช่นกัน

และสิ่งที่ตามมา… ภาครัฐก็จะต้องมีการถามต่อ ว่า เมื่อคุณนำมาใช้งานแล้ว สามารถสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างไรบ้าง…

เป็น 3 สิ่งที่เราต้องคิด และพยายามที่จะ Convince ให้ได้ทั้ง 3 ฝ่าย 

ทั้งนี้ แม้ทั่วโลกจะนิยมใช้แอลเอ็นจี แต่คนที่จะคิดนำมาใช้ประโยชน์มีน้อย และจริง ๆ ไม่ทำก็ได้ ใช้กระบวนการเดิม คือนำน้ำทะเลมาเปลี่ยนสถานะของเหลว และปล่อยลงสู่ทะเลไป

แต่เรามีความมุ่งมุ่นในการสร้างนวัตกรรมนี้ให้เกิดขึ้นจริง โดยจะคืนให้กับภาครัฐนำไปลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเราใช้เวลารวม 11 ปี ในการทำโปรเจ็กต์ให้เกิดผลสำเร็จ ช่วยสร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติ ทำให้เกิดความคุ้มค่าได้จริง

 

ถอดรหัส การสร้างนวัตกรรมในแบบฉบับ ‘พีทีที แอลเอ็นจี’

 

PTT LNG กับการออกแบบและต่อยอดธุรกิจ ผ่านการส่งเสริมแนวคิดบุคลากร

เราจึงคิดต่อไปว่าจะนำมาเป็นต้นแบบในการค้นหาจุดแข็ง ซึ่งเมื่อเราค้นหาจุดแข็งในด้านของกระบวนการได้แล้ว เรามองไปถึงด้านการสร้างนวัตกรรม ที่ตัวบุคลากรมีความสำคัญอย่างมาก 

ดังนั้น ประการต่อมาที่ PTT LNG ให้ความสำคัญ ก็คือการสร้างบุคลากร 

“เราเริ่มจากแนวคิดที่ว่า จะทำอย่างไรให้คนของเราเป็นนักครีเอทีฟ มีความคิดในเชิงสร้างสรรค์ได้ (Creative thinking) ซึ่งเราต้องเปลี่ยนกรอบความคิด (Mide set) ในบุคลากรของเรา และในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นจริง ก็จะต้องมีตัวโซลูชั่นต่าง ๆ เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย” 

เบื้องต้นเราก็มีการเปลี่ยนคนของเราให้มีมุมมองในเรื่องของเชิงบวก (Positive) มากขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งไอเดียต่าง ๆ

“เราสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Creating a positive work environment)ให้พนักงานกล้าคิด กล้าทำ กล้าเสนอความคิดเห็นที่แปลกใหม่ ทุกคนในองค์กรณ์รู้จักการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening with empathy) ไปจนถึงปรับปรุงหรือทดลองทำ แต่ก็ยังต้องคำนึงให้อยู่บนพื้นฐานความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หรือมีความเสียหายเกิดขึ้น” 

เราเพิ่มเติมเสริมทักษะ ความคิด เครื่องมือต่าง ๆ ให้กับบุคลากร ผ่านการดูงาน, การอบรมสัมมนารวมถึงการส่งเสริมโปรเจ็กต์เล็ก ๆ ในองค์กรร่วมกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์

และเมื่อมีบุคลากรมีไอเดียใหม่ ๆ เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ในด้านของผู้บริหารที่ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นเก่า บางอย่างก็จะใช้สิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเป็นพื้นฐานว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง สิ่งที่ไม่เคยทำเลยก็อย่าไปทำ

“เราจึงพยายามที่จะเปลี่ยนมุมมอง ให้มีการรับฟังแนวคิดใหม่ ๆ ทำให้ทั้งตัวผู้บริหาร ที่มีประสบการณ์มาก และพนักงานที่มีความครีเอทีฟมากขึ้น นำทั้ง 2 ส่วนมาผสมผสานกัน ทำให้เราได้จำนวนไอเดียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย”

การนำมาใช้งาน บางอย่างก็จะเข้าสู่ของกระบวนการนำร่อง แต่บางอย่างอาจจะยังไม่เหมาะกับช่วงเวลานั้น ๆ เราจึงเก็บโครงการนั้นไว้ก่อน และเมื่อถึงจุด ๆ นึง อาจมีการทบทวนใหม่และนำมาใช้ ดังนั้น สิ่งหลักที่เราเริ่มปรับปรุงพัฒนา คือ ‘คน’ และนำ ‘กระบวนการ’ ต่าง ๆ เข้ามารองรับ 

ซึ่ง พีทีที เอ็นแอลจี สามารถนำ “LNG สถานะของเหลว” มาต่อยอดสร้างนวัตกรรม เพื่อทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

1. นำมาใช้แลกเปลี่ยนกับโรงงานที่มีการใช้พลังงานสูง 

นำมาใช้แลกเปลี่ยนโดยตรงกับโรงงานที่มีการใช้พลังงานสูง ช่วยลดการใช้พลังงานในภาพรวมของประเทศไทย แม้จะมีข้อจำกัด คือ โรงงานต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องอยู่ใกล้เคียงกับตัวโรงเก็บแอลเอ็นจีของเรา เพราะหากอยู่ไกลกัน สิ่งที่ตามมาจะเป็นค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

2. การนำมาทำห้องเย็น 

เพื่อแช่แข็งอาหาร (Freeze) โดยเราได้ดูตัวอย่างจากทางประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการแช่แข็งปลาทูน่า สินค้าพรีเมี่ยมเกรด สามารถแช่และนำทยอยออกมาบริโภค ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ขึ้นมาได้ 

แต่ในกรณีของ พีทีที เอ็นแอลจี เราเกิดแนวคิดว่า หากนำมาแช่แข็งผลไม้ตามฤดูกาล จะช่วยทำให้มีสินค้าในช่วงนอกฤดูกาลได้หรือไม่ โดยยังอยู่ในช่วงของการวิจัยและพัฒนา ในการรักษาคุณภาพให้ดีคงเดิมไว้ได้

3. นำมาใช้แลกเปลี่ยนกับน้ำ 

เรานำน้ำมาใช้ในกระบวนการเปลี่ยนสถานะก๊าซ LNG ให้เป็นพลังงานความเย็น ซึ่งปัจจุบันเรามีการนำใช้แล้วหลายที่ เช่น การใช้ในเรื่องของการปลูกพืชเมืองหนาว ทำให้ในพื้นที่ของ PTT สามารถปลูกทิวลิปคุณภาพสู้กับทางต่างประเทศได้ รวมถึง สามารถต่อยอดนำมาทำการตลาด (Marketing) ได้อีกด้วย 

อีกอย่างที่ PTT LNG ได้ลองทำ คือ ปรับปรุงระบบปรับอากาศที่เราใช้อยู่ในสถานี โดยนำตัวน้ำเย็นนี้มาใช้ลดอุณหภูมิของระบบลงได้

“การนำพลังงานความเย็นมาใช้ในสิ่งต่าง ๆ นี้ ได้ผ่านการ Research ว่าสามารถใช้ได้เหมาะสมกัน บางอย่างก็เกิดจากในฝั่งของตัวผู้บริหารที่นำแนวคิดต่าง ๆ นำมาใช้งาน ขณะที่บางอย่างก็จะเกิดจากไอเดียของทีมงาน น้อง ๆ พนักงานในองค์กร ที่นำมาปรับปรุงให้มันดียิ่งๆขึ้นไป” 

 

PTT LNG กับการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร ขยายโอกาสทางธุรกิจ

การสร้างโอกาสทางธุรกิจ ในกระบวนการต่าง ๆ  บางอย่างเราไม่สามารถที่จะทำได้ด้วยตัวเอง ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยพาร์ทเนอร์ เช่น กระบวนการของโรงแยกอากาศ เราก็มีการส่งแอลเอ็นจีไปลดอุณหภูมิของตัวอากาศ เพื่อมาเข้าสู่กระบวนการคัดแยกอากาศ ทำให้อากาศที่แยกได้มีต้นทุนในการผลิตลดลง ผลผลิตที่จะนำมาใช้งานก็จะมีราคาถูกลง 

ในภาคของโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะได้รับประโยชน์จากวัตถุดิบที่มีราคาถูกลง ตัวอย่างเช่น สตอเบอรี่ แบรนด์ Harumiki ที่ปลูกภายในสถานี PTT สามารถใช้ระบบนวัตกรรมนี้ช่วยเพิ่มผลผลิตได้ ซึ่งในอนาคต… ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี ทำให้มีจำนวนมากขึ้น ทางเราก็มีบริษัทอื่นที่ช่วยดูแลด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การจัดแบ่งเกรดสินค้าต่าง ๆ

ถอดรหัส การสร้างนวัตกรรมในแบบฉบับ ‘พีทีที แอลเอ็นจี’

และในเวลาต่อมา เราก็มีโรงงานใหม่เกิดขึ้นตามมา เช่น โรงงานแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. หน่วยที่ 7 (GSP7) ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน และมีการนำความเย็นมาใช้โดยตรง 

ปัจจัยความสำเร็จของ พีทีที แอลเอ็นจี กับการสร้างนวัตกรรมในแบบฉบับตัวเอง

ดังนั้น ในแต่ละด้านที่เรามองเห็น และจะนำมาใช้งาน ถ้าทำให้มุมมองของพนักงานเกิดเป็นความคิดเชิงบวกได้ พนักงานก็สามารถที่จะครีเอทสิ่งใหม่ ๆ ออกมา ในการที่ผู้บริหารจะซัพพอร์ตส่วนนี้ได้ ก็ต้องมีการนำโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เข้ามาช่วย ทั้งในเรื่องของการสร้างบรรยากาศเพื่อทำให้เกิดมุมมองแนวคิดใหม่ ๆ และนำมาใช้งาน รวมถึงการปรับปรุงใหม่ (Rework) ในสิ่งที่เราคิดว่ายังไม่เหมาะสม อาจจะต้องมีการโฮลด์เก็บเอาไว้ก่อน เพื่อรอเวลาใช่ 

ถอดรหัส การสร้างนวัตกรรมในแบบฉบับ ‘พีทีที แอลเอ็นจี’

ทั้ง 3 ปัจจัยต่าง ๆ หากมีการนำใช้งานอย่างจริงจัง จะทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมขึ้นได้จริง ไม่ว่าจะเป็นโครงการเล็กหรือใหญ่ก็ล้วนสร้างประโยชน์ได้ทั้งสิ้น สิ่งสำคัญคืออยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ และเมื่อเราเริ่มมี Creative thinking ใหม่ เกิดขึ้นเรื่อย ๆ คุณภาพของการผลิตเป็นนวัตกรรมก็จะมีมากขึ้นตาม

“ในท้ายสุด การที่เราจะก้าวข้ามอุปสรรคไปได้ เราต้องปลูกฝังให้คนกล้าคิดกล้าทำ ให้มีความมั่นใจในตัวเอง ว่าเรามีวิธีและกระบวนการที่จะไปให้ถึงความสำเร็จของเราในอนาคตได้”

 

#รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2564 #TQA2021 #Thailand #Quality #Award #Mreport #mreportth #ข่าวอุตสาหกรรม #onlinecontent

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH