นวัตกรรมระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ (Low Cost Automation)
Low-Cost Automation เป็นแนวคิดในการนำเอาเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีต้นทุนต่ำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้คิดค้นแนวคิดและเทคนิคที่เรียกว่า karakuri kaizen ที่ใช้แรงโน้มถ่วงเพื่อให้เกิดพลังงานจลน์แทนการใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นการประหยัดต้นทุนผสานกับความรู้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตตามแนวทางของลีน (Lean Manufacturing) มาช่วยเหลือพนักงานในกระบวนการของการผลิต
หากเราพูดถึงเรื่องของ “ระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ” ในปัจจุบันเริ่มมีการนำระบบเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ แต่กว่าจะสร้างระบบอัตโนมัติขึ้นมาได้นั้นก่อนอื่นผู้ใช้งานต้องมีทักษะ ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการของการลดต้นทุนด้านการผลิตและการนำเทคโนโลยีมาใช้เสียก่อน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดเป็นความสูญเปล่า และเพิ่มค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง
แนวคิด Low cost Automation
ซึ่งการนำแนวคิด Low Cost Automation (LCA) มาประยุกต์ใช้ในระบบการผลิตอุตสาหกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่มากขึ้น จึงทำให้ระบบอัตโนมัติและโรงงานที่ไม่ใช้แรงงานคนมีจำนวนสูงขึ้น โดยเฉพาะในส่วนงานที่เครื่องจักรกลสามารถทำได้ดีกว่าคน หรืองานที่ต้องเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย อุบัติเหตุ เพื่อให้เกิดคุณภาพการผลิตที่ดีขึ้นและต้นทุนในการผลิตลดลง โดยต้องอาศัยการพัฒนาระบบและเครื่องจักรให้เหมาะสม
technology by which a process or procedure is
performed with minimal human assistance.”
การนำเทคโนโลยีผสมผสานกับกระบวนการผลิตมาใช้
โดยลดการใช้แรงงานมนุษย์ให้น้อยที่สุด”
อาจกล่าวได้ว่าระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ เป็นตัวกลางที่ช่วยทั้งลดและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้งานของเครื่องจักรที่มีระบบการควบคุมที่ซับซ้อน มีราคาต้นทุนสูงต้องหางบในการลงทุน ซึ่งหากเกิดการขัดข้องก็จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี อะไหล่ชิ้นส่วนพิเศษ หรือผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงมาจัดการ ทำให้เสียเวลาในการผลิต หรือเพิ่มจำนวนการผลิตที่มากขึ้นควบคู่ไปกับประสิทธิภาพของงาน และความน่าเชื่อถือของตัวผลิตภัณฑ์และธุรกิจด้วย
ทักษะที่จำเป็นเพื่อสร้าง Low-Cost Automation
ก่อนจะเกิดระบบหรือกระบวนการการผลิต แน่นอนว่าทักษะความรู้ เป็นอีกสึ่งที่ขาดไม่ได้ วันนี้เราจะมาแนะนำทักษะที่จำเป็นต้องรู้ ก่อนการสร้างระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ ว่าแนวคิดด้านไหนบ้าง ที่ผู้ผลิตจำเป็นต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจเสียก่อน โดยทางสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพลได้ให้ความสำคัญกับทักษะเหล่านี้
- Lean Manufacturing ทักษะความรู้ที่ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตตามแนวทางของลีน ออกแบบระบบอัตโนมัติเพื่อให้เกิดความเสถียรและลดเวลาการผลิต โดยการใช้กรอบแนวคิด Lean Thinking ผสานกับ การปรับปรุงอย่างรวดเร็วในแบบ Kaizen เพื่อค้นหาความสูญเปล่า
- Karakuri Kaizen การใช้หลักการออกแบบด้วยระบบ Karakuri โดยใช้หลักการกลศาสตร์ เฟือง สปริง คาน คานงัด ล้อ เพลา ที่ใช้แรงโน้มถ่วงเพื่อให้เกิดพลังงานจลน์แทนการใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นการประหยัดต้นทุน
- Low Cost Automation Design เกิดความเข้าใจในกระบวนการออกแบบระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ และการออกแบบโมดูลอัตโนมัติที่ใช้ได้ในหลากหลายกระบวนการผลิต
- Mechanism Unit for Motion Task สร้างความเข้าใจในกลไกของระบบการเคลื่อนที่แบบหมุนและเส้นตรง รวมถึงการใช้ระบบลม (Pneumatic) และ ระบบไฟฟ้า (Electric) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Sensor and Controller สร้างความเข้าใจในระบบเซนเซอร์แบบดิจิทัล (Digital) และอนาล็อก (Analog) รวมถึงการเลือกใช้ระบบควบคุมประเภทต่างๆได้อย่างถูกต้อง
แนะนำ: สำหรับผู้ที่สนใจ เพิ่มทักษะความรู้ด้านการออกแบบกระบวนการอัตโนมัติ เราขอแนะนำหลักสูตร Hybrid Course เรียนออนไลน์พร้อมปฏิบัติ Low-Cost Automation (LCA) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีทักษะในหลักการ Lean Manufacturing ผสมผสานกับความรู้ด้าน Karakuri และเสริมสร้างความเข้าใจการออกแบบระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ (Low Cost Automation Design) โดยจะจัดอบรมตั้งแต่ 16 สิงหาคม 2564 ถึง 18 ตุลาคม 2564 (แบ่งการอบรมเป็น 2 กลุ่ม) เรียนออนไลน์ผ่านระบบ Zoom และปฏิบัติ ณ สถาบันการผลิตสุมิพล (SIMTec) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง The Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships (AOTS), Japan และสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTEC) โดยการสนับสนุนของ Ministry of Economy, Trade, and Industry (METI), Japan
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://simtec.or.th/courses/ โทรศัพท์ : 033-047-800 โทรสาร : 033-047-877 อีเมล : [email protected] ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
เหตุผลที่ควรใช้การผลิตแบบอัตโนมัติ
- ระบบอัตโนมัติสามารถใช้แทนแรงงานที่มีทักษะได้ จากการสำรวจบริษัทส่วนใหญ่ใช้เวลามากในการค้นหาบุคคลที่มีทักษะเพิ่มเติมตำแหน่งในบริษัท หากนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการผลิตก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องการใช้แรงงานที่มีทักษะได้ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายของแรงงาน กล่าวคือการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในส่วนของแรงงานในส่วนล่วงเวลา เช่น ค่าจ้าง ค่าชดเชยการทำงาน เป็นต้น และการใช้ระบบอัตโนมัติสามารถช่วยการทำงานของมนุษย์ได้ 24 ชั่วโมง
- เพื่อปรับปรุงด้านความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงาน เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรม เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะปฎิบัติงาน หากใช้เครื่องจักร ก็จะสามารถลดเรื่องอุบัติเหตุระหว่างการปฏิบัติงานได้
- เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และระยะเวลาในการผลิต เนื่องจากเป็นการใช้เครื่องจักรกลช่วยทำงานกับมนุษย์ดังนั้นคุณภาพ และประสิทธิภาพของชิ้นงานจะเป็นมาตรฐาน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ
- เพื่อกระบวนการผลิตที่บางครั้งไม่สามารถทำงานด้วยมือให้เกิดขึ้นได้ เช่น ต้องการความแม่นยำสูง ชิ้นส่วนมีขนาดเล็กมาก ๆ อย่าง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ก็จำเป็นต้องใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิต เป็นต้น
สรุปบทความ
จะเห็นได้ว่าการนำระบบอัตโนมัติเข้ามามีบทบาทในสายการผลิตของอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน ลดความสูญเปล่า ลดความผิดพลาดในการทำงาน และยังเพิ่มคุณภาพของชิ้นงานที่ผลิตได้หล่ายเท่าตัวอีกด้วย
แนวทางการนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ต้นทุนต่ำมาประยุกต์ใช้ (Low Cost Automation) ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัว ซึ่งทักษะความรู้ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบกระบวนการอัตโนมัติต้นทุนต่ำคือการนำหลักการของ Lean มาพัฒนาให้เกิดความเสถียรในกระบวนการผลิตซึ่งควบคู่ไปกับความรู้ด้าน Karakuri Kaizen การใช้แรงโน้มถ่วงเพื่อให้เกิดพลังงานจลน์แทนการใช้พลังงานไฟฟ้า มาออกแบบระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
#Low-Cost Automation #Low Cost Automation #Low-Cost Automation คือ #Lean Kaizen #LCA Program #ระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ #Lean Manufacturing #Karakuri Kaizen #การปรับปรุงกระบวนการผลิต #การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต #Sensor and Controller #SIMTec #สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล #Sumipol #สุมิพล #Upskill Reskill #Automation #ระบบอัตโนมัติ #พัฒนาบุคลากร #Industry 4.0