คาร์บอนเครดิต คืออะไร, คาร์บอนเครดิต ในไทย, คาร์บอนเครดิต ราคา, คาร์บอนเครดิต อบก, คาร์บอนเครดิต ภาษี, ภาษีคาร์บอน, คาร์บอนเครดิต ต้นไม้, การขายคาร์บอนเครดิต ต้นไม้, โครงการปลูกป่า คาร์บอนเครดิต, ขายคาร์บอนเครดิต

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร ทำไมถึงต้องเร่งสร้างคาร์บอนเครดิต

อัปเดตล่าสุด 10 ก.พ. 2566
  • Share :
  • 74,059 Reads   

เมื่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ขีดจำกัด และการค้าแบบทุนนิยมส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน จนทำให้ทั่วโลกต่างแสดงความกังวลและหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก การที่หลายประเทศทั่วโลกได้เข้าร่วมพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เพื่อพิจารณาหาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งพิธีสารเกียวโตเองก็ได้มีการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้สำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ก็เป็นอีกหนึ่งความตกลงที่มีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยความตกลงดังกล่าวได้มีการกำหนดหลักการซื้อขายก๊าชเรือนกระจก (Emission Trading System: ETS) และอนุญาตให้ผู้ที่ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมาย สามารถขายสิทธิ์การปล่อยก๊าชเรือนกระจกที่เหลือให้แก่ผู้อื่นได้ หรือที่เรียกกันว่า “คาร์บอนเครดิต” 

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร?

คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) 1 หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas: GHG) ที่ลดหรือกักเก็บได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกลดก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ เช่น การปลูกป่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอน เป็นต้น มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมภายใต้พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) มี 7 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) สำหรับประเทศที่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น หากองค์กรใดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดหรือกักเก็บได้ไปขายเป็นเครดิตให้กับองค์กรอื่น ๆ ขณะเดียวกันหากองค์กรใดที่ต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินปริมาณที่กำหนด ก็สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ที่ขายคาร์บอนเครดิตเพื่อเพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับองค์กรตัวเองได้

คาร์บอนเครดิต คืออะไร, คาร์บอนเครดิต ในไทย, คาร์บอนเครดิต ราคา, คาร์บอนเครดิต อบก, คาร์บอนเครดิต ภาษี, ภาษีคาร์บอน, คาร์บอนเครดิต ต้นไม้, การขายคาร์บอนเครดิต ต้นไม้, โครงการปลูกป่า คาร์บอนเครดิต, ขายคาร์บอนเครดิต

ความเป็นมาของคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย 2 

- ปี 2545 ไทยเข้าร่วมให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต ในสนธิสัญญาการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งจะไม่ถูกบังคับให้มีพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

- ปี 2550 ไทยจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (TGO) ขึ้น มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการ และตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) ที่ได้รับการรับรอง

- ปี 2559 ไทยเข้าร่วมให้สัตยาบันในความตกลงปารีส โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งตั้งเป้าหมายควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และได้กำหนดเป้าหมายที่สูงขึ้นไว้ควบคู่กันว่า จะพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้น้อยลงไปอีกจนถึงต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส

- ปี 2564 ไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) โดยไทยมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2608 โดยใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย 

ตลาดการซื้อขายคาร์บอน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market) ถูกจัดตั้งขึ้นจากผลบังคับในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมาย มีกฎหมายและกฎระเบียบที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายกำกับอย่างชัดเจน ซึ่งภาครัฐหรือหน่วยงานกำกับเป็นผู้ดูแลและบังคับด้วยกฎหมาย เพื่อไม่ให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (Legally Binding Target) หากผู้ใดสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกในส่วนที่ปล่อยต่ำกว่าเกณฑ์ไปขายให้กับองค์กรอื่น ๆ ได้หรือที่รู้จักกันในนาม Emission Trading Scheme (ETS) และระบบ Cap and Trade

2. ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) ถูกสร้างขึ้นโดยไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมก๊าซเรือนกระจกมาบังคับ การจัดตั้งตลาดเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการหรือองค์กรเพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดด้วยความสมัครใจ คาร์บอนเครดิตที่ได้จากโครงการดังกล่าวสามารถนำมาขายในตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจได้และองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมเกินกว่าปริมาณที่กำหนด สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตดังกล่าวเพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมอีกครั้งในปริมาณที่ไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด

คาร์บอนเครดิต คืออะไร, คาร์บอนเครดิต ในไทย, คาร์บอนเครดิต ราคา, คาร์บอนเครดิต อบก, คาร์บอนเครดิต ภาษี, ภาษีคาร์บอน, คาร์บอนเครดิต ต้นไม้, การขายคาร์บอนเครดิต ต้นไม้, โครงการปลูกป่า คาร์บอนเครดิต, ขายคาร์บอนเครดิต

ที่มา: https://climatechange.lta.org/ รวบรวมและนำเสนอโดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

จากที่กล่าวไปข้างต้น ตลาดการซื้อขายคาร์บอนโดยทั่วไป มี 2 ประเภท โดยหนึ่งในประเภทของตลาดการซื้อขายคาร์บอนนั้น คือ ระบบ Emission Trading Scheme (ETS) หรือระบบ Cap and Trade ซึ่งจัดเป็นตลาดคาร์บอนภาคบังคับ โดยระบบการซื้อขายคาร์บอนของประเทศไทย มีการริเริ่มในปีพ.ศ. 2552 ในลักษณะ ETS เช่นกัน แต่เป็นภาคสมัครใจ ภายใต้การพัฒนาโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ที่เรียกว่า ระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Trading Scheme: Thailand V-ETS) ซึ่งจะมีระบบการตรวจวัดรายงาน และทวนสอบ (Measurement, Reporting, and Verification System) หรือ ระบบ MRV3

อย่างไรก็ตาม ระบบ Thailand V-ETS ยังเป็นเพียงโครงการนำร่องเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนากฎการดำเนินงานและรูปแบบการซื้อขายสิทธิ การทดสอบระบบ MRV และการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม โดยในช่วงที่ผ่านมาโครงการนำร่องครอบคลุมอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก โรงกลั่นน้ำมัน ปูนซีเมนต์ เยื่อและกระดาษ แก้ว และพลาสติกเท่านั้น4

นอกจากนี้ ไทยยังมีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทยอีกชื่อว่า Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER) ซึ่งเป็นโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่อบก. พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น (คาร์บอนเครดิต) ซึ่งภายใต้โครงการ T-VER นี้เรียกว่า “TVERs Credit” ไปใช้ในการรายงานผลการดำเนินงาน แลกเปลี่ยน หรือซื้อขายภายในประเทศ ทั้งนี้ อบก. จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ รวมถึงขั้นตอนการขึ้นทะเบียนและการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก

คาร์บอนเครดิต คืออะไร, คาร์บอนเครดิต ในไทย, คาร์บอนเครดิต ราคา, คาร์บอนเครดิต อบก, คาร์บอนเครดิต ภาษี, ภาษีคาร์บอน, คาร์บอนเครดิต ต้นไม้, การขายคาร์บอนเครดิต ต้นไม้, โครงการปลูกป่า คาร์บอนเครดิต, ขายคาร์บอนเครดิต

ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รวบรวมและเรียบเรียงโดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

คาร์บอนเครดิต คืออะไร, คาร์บอนเครดิต ในไทย, คาร์บอนเครดิต ราคา, คาร์บอนเครดิต อบก, คาร์บอนเครดิต ภาษี, ภาษีคาร์บอน, คาร์บอนเครดิต ต้นไม้, การขายคาร์บอนเครดิต ต้นไม้, โครงการปลูกป่า คาร์บอนเครดิต, ขายคาร์บอนเครดิต

ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รวบรวมและเรียบเรียงโดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

การซื้อขายคาร์บอนเครดิต สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

1) การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มตลาดซื้อขาย (Trading Platform) หรือ ศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตเป็นศูนย์กลางหรือเครือข่ายใด ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อซื้อขายคาร์บอนเครดิตอย่างเป็นทางการโดยการจับคู่หรือหาผู้ซื้อและผู้ขายคาร์บอนเครดิตหรือการจัดระบบหรืออำนวยความสะดวกให้ผู้ประสงค์จะซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถทำความตกลงหรือจับคู่สัญญากันได้

2) การซื้อขายในระบบทวิภาค (Over-the-counter: OTC) เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ต้องการซื้อและผู้ขายคาร์บอนเครดิตโดยตรงโดยไม่ผ่านตลาด ซึ่งรูปแบบการซื้อขายของไทยภายใต้โครงการ T-VER เป็นการซื้อขายรูปแบบนี้ โดยบุคคลหรือนิติบุคคลที่สามารถขายคาร์บอนเครดิต TVERs ได้ คือ

– ผู้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER)

– กรณีที่ไม่ได้เป็นผู้พัฒนาโครงการ จะต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกของตลาด Exchange Platform ก่อนในฐานะของนายหน้าหรือผู้ค้าคือผู้ที่สามารถรับซื้อคาร์บอนเครดิตจากตลาดแรก (Primary Market) เพื่อนำไปขายต่อให้กับผู้ซื้อที่เปิดบัญชีในตลาดรอง (Secondary Market) โดยมีลักษณะการทำงานคล้ายกับ Broker ของตลาดหุ้น

คาร์บอนเครดิต คืออะไร, คาร์บอนเครดิต ในไทย, คาร์บอนเครดิต ราคา, คาร์บอนเครดิต อบก, คาร์บอนเครดิต ภาษี, ภาษีคาร์บอน, คาร์บอนเครดิต ต้นไม้, การขายคาร์บอนเครดิต ต้นไม้, โครงการปลูกป่า คาร์บอนเครดิต, ขายคาร์บอนเครดิต

ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รวบรวมและเรียบเรียงโดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตของไทย

การซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้โครงการ T-VER ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2559 มีมูลค่าการซื้อขายเพียง 846,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 124,762,420 บาท ในปี พ.ศ. 2565 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 147 เท่า ในช่วงที่ผ่านมา โดยราคาคาร์บอนเฉลี่ยต่อตัน มีราคาเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 149.97 บาทต่อตัน (พ.ศ. 2559) ทั้งนี้ ราคาเฉลี่ยต่อตันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ. 2561-2564) โดยล่าสุดราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 34.34 บาทต่อตัน

คาร์บอนเครดิต คืออะไร, คาร์บอนเครดิต ในไทย, คาร์บอนเครดิต ราคา, คาร์บอนเครดิต อบก, คาร์บอนเครดิต ภาษี, ภาษีคาร์บอน, คาร์บอนเครดิต ต้นไม้, การขายคาร์บอนเครดิต ต้นไม้, โครงการปลูกป่า คาร์บอนเครดิต, ขายคาร์บอนเครดิต

ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รวบรวมและเรียบเรียงโดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

หมายเหตุ: *ข้อมูล ณ กันยายน พ.ศ. 2565

เมื่อพิจารณาราคาคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศ พบว่าราคาคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศมีราคาสูงกว่าราคาคาร์บอนเครดิตของไทยมาก ตัวอย่างเช่น ระบบ EU ETS ของสหภาพยุโรปมีราคาอยู่ที่ 73.27 ยูโรต่อตัน (ประมาณ 2,707.07 บาทต่อตัน) 5 เป็นต้น แม้ว่าปัจจุบันราคาคาร์บอนเครดิตของไทยจะต่ำกว่าราคาคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศ แต่ในอนาคตคาดว่าราคาคาร์บอนเครดิตของไทยมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากกรมสรรพสามิตเริ่มศึกษาแนวทางในการจัดเก็บภาษีคาร์บอน และคาดว่าจะเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2566 นี้

สถานการณ์คาร์บอนเครดิตของไทยและต่างประเทศ

1) ประเทศที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก (พ.ศ. 2563)

ในปีพ.ศ. 2563 ประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมากที่สุดในโลก 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย รัสเซีย และญี่ปุ่น ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 21 ของโลก มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 277.1 ล้านตันต่อปีซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.87 ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของทั้งโลกที่ถูกปล่อยออกมา 6

คาร์บอนเครดิต คืออะไร, คาร์บอนเครดิต ในไทย, คาร์บอนเครดิต ราคา, คาร์บอนเครดิต อบก, คาร์บอนเครดิต ภาษี, ภาษีคาร์บอน, คาร์บอนเครดิต ต้นไม้, การขายคาร์บอนเครดิต ต้นไม้, โครงการปลูกป่า คาร์บอนเครดิต, ขายคาร์บอนเครดิต

ที่มา: bp Statistical Review of World Energy 2021 รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

2) เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศ

จากการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) หรือ COP26 มีเป้าหมายสูงสุด คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปีพ.ศ. 2573 และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ทั่วโลกภายในปีพ.ศ. 2593 โดยแต่ละประเทศมีระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์แตกต่างกันไปตามความพร้อมของแต่ละประเทศ ดังนี้

คาร์บอนเครดิต คืออะไร, คาร์บอนเครดิต ในไทย, คาร์บอนเครดิต ราคา, คาร์บอนเครดิต อบก, คาร์บอนเครดิต ภาษี, ภาษีคาร์บอน, คาร์บอนเครดิต ต้นไม้, การขายคาร์บอนเครดิต ต้นไม้, โครงการปลูกป่า คาร์บอนเครดิต, ขายคาร์บอนเครดิต

ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ www.aljazeera.com รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผนสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

หมายเหตุ: * คือปีพ.ศ. ที่ระบุเพื่อบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก 5 อันดับ รวมถึงประเทศไทย

หน่วยงานที่ส่งเสริมการเข้าสู่ตลาดคาร์บอนเครดิตของไทย

ประเทศไทยได้จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization :TGO) ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการเข้าสู่ตลาดคาร์บอนเครดิต มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการ และการตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) ที่ได้รับการรับรอง เป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานการณ์ดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับคำรับรอง และการขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) ที่ได้รับการรับรองส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยจะเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ

แนวโน้มตลาดคาร์บอนเครดิตในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

ความต้องการคาร์บอนเครดิตในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากกระแสความตื่นตัวและความมุ่งมั่นทั้งในระดับประเทศและระดับองค์กร ซึ่งความตื่นตัวนี้จะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในไทยเติบโตขึ้น
ปัจจุบันมีหลายองค์กรเริ่มประกาศเป้าหมายที่จะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) รวมทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) อย่างชัดเจน นอกจากนี้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
หรือ อบก. ได้จัดตั้งเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network : TCNN) ขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่นในการยกระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศและมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลกที่ปรากฎในเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ขณะที่ กลุ่มบางจากฯ ร่วมกับพันธมิตรก่อตั้ง Carbon Markets Club (CMC) กระตุ้นให้มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับทิศทางระดับโลกที่ McKinsey คาดว่าในปี พ.ศ. 2573 ความต้องการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจจะเติบโตมากถึง 15 เท่าจากปี พ.ศ. 2563 และเติบโตมากถึง 100 เท่าในปี พ.ศ. 2593 7 สะท้อนให้เห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้น การพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตยังต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาครัฐควรเร่งส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อให้ภาคธุรกิจในวงกว้างเห็นความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น กระตุ้นตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในไทยให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันจะนำไปสู่การพัฒนาตลาดกลางเพื่อซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ในอนาคต

คาร์บอนเครดิต คืออะไร, คาร์บอนเครดิต ในไทย, คาร์บอนเครดิต ราคา, คาร์บอนเครดิต อบก, คาร์บอนเครดิต ภาษี, ภาษีคาร์บอน, คาร์บอนเครดิต ต้นไม้, การขายคาร์บอนเครดิต ต้นไม้, โครงการปลูกป่า คาร์บอนเครดิต, ขายคาร์บอนเครดิต

โอกาสของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย

จากกระแสความตื่นตัวเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลก ทำให้หลายประเทศหันมาให้ความสนใจเรื่องตลาดคาร์บอนเครดิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งขณะนี้ ทั้งสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
อยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมายกำหนดมาตรการจัดเก็บภาษีการปล่อยคาร์บอน หรือก๊าซเรือนกระจกกับสินค้าที่มีกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนในปริมาณสูง โดยสหรัฐฯ ได้เสนอร่างกฎหมาย Clean Competition Act (CCA) 8 ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มบังคับใช้ปี พ.ศ. 2567 และสหภาพยุโรปอยู่ระหว่างการออกมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) 9 คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ปี พ.ศ. 2570 10 โดยทั้งสองมาตรการดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ต้นทุนสินค้าของผู้ประกอบการไทยอาจปรับเพิ่มสูงขึ้นหากกระบวนการในการผลิตสินค้าไม่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้การปรับมาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้น เป็นต้น ซึ่งหากผู้ประกอบการไทยปรับตัวได้ช้า มาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวอาจจะกลายเป็นอุปสรรคทางการค้าได้

อย่างไรก็ตาม การซื้อขายคาร์บอนเครดิตและมาตรการจัดเก็บภาษีคาร์บอนอาจเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทยด้วยเช่นกัน เช่น ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการผลิตผ่านการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้มีการลดการปล่อยคาร์บอนตลอดห่วงโซ่อุปทาน การทำธุรกิจคาร์บอนต่ำ หรือการพัฒนานวัตกรรมในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นต้น หรือหากไทยมีการจัดเก็บภาษีคาร์บอนหรือมีการออกกฎหมายบังคับใช้อย่างจริงจัง คาดว่าน่าจะสามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมสังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance : ESG) ได้ไม่น้อย อีกทั้ง คาดว่าน่าจะดึงดูดลูกค้าที่มีแนวโน้มเลือกสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรเสริมสร้างกลยุทธ์ทางการค้าที่ให้ความสำคัญกับการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยโดยเฉพาะการค้าสินค้ากับประเทศที่มีความเข้มงวดต่อมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมสูง เช่น สหภาพยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ได้

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐของไทยได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทย เร่งปรับตัวให้ทันต่อมาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้มีการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ด้านการวิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรม ด้านการยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงด้านการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 สำหรับภาคการผลิตในการเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรหรืออุปกรณ์สำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพ รวมทั้งยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วน 50% ของเงินลงทุนในการปรับปรุงฯ 11 เป็นต้น

นอกจากมาตรการการสนับสนุนฯ ของบีโอไอนี้แล้ว กรมสรรพสามิตคาดว่าจะออกมาตรการจัดเก็บภาษีคาร์บอนจากสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง 5 ประเภท คือ ปูนซีเมนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม ปุ๋ยเคมี และไฟฟ้า 12 เพื่อผลักดันให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2608 ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ทั้งนี้ การพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตของไทยยังคงต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐอีกมาก ซึ่งภาครัฐควรเร่งส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิต อีกทั้งควรมีนโยบายหรือออกมาตรการบังคับใช้ต่าง ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจเห็นความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นวงกว้างและมีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมถึงพัฒนาหรือปรับธุรกิจของตนให้เติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือและปรับตัวให้เข้ากับมาตรการสิ่งแวดล้อมของทั้งไทยและต่างประเทศในการเก็บภาษีคาร์บอนในอนาคต

บทสรุป...สู่การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมไทย

ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก หลาย ๆ ประเทศเริ่มกล่าวถึงประเด็นการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนมากขึ้น ซึ่งนับเป็นความท้าทายใหม่ของภาคส่งออกไทยที่ต้องตระหนักและต้องเร่งปรับตัว โดยล่าสุด (กันยายน พ.ศ. 2565) กรมสรรพสามิตเตรียมศึกษาแนวทางในการจัดเก็บภาษีคาร์บอน และกำหนดให้มีความชัดเจนในแนวทางและอัตราภาษีภายในปี พ.ศ. 2566 คาดว่าจะเริ่มจัดเก็บภาษีคาร์บอนจากสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง 5 ประเภท คือ ปูนซีเมนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม ปุ๋ยเคมี และไฟฟ้า13 เพื่อผลักดันให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2608

ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เริ่มดำเนินโครงการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและซื้อขายคาร์บอนเครดิตกันอย่างจริงจังมากขึ้น เพราะปัจจุบันราคาคาร์บอนยังไม่สูงมากนักโดยงานวิจัย EY ประเมินไว้ว่าราคาคาร์บอนเครดิตในตลาดโลกมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 3.2-6 เท่า14 ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวได้เร็ว เช่น การทำธุรกิจแบบ Low Carbon หรือการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นต้น รวมทั้งมีกลยุทธ์ต่าง ๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อมในการแข่งขันกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่มีความเข้มงวดต่อมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมสูง เช่น สหภาพยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ไม่น้อย อีกทั้งยังสามารถดึงดูดลูกค้าที่มีแนวโน้มเลือกสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นอีกด้วย

 

Reference:

  • 1 https://ghgreduction.tgo.or.th/th/about-tver/t-ver.html
  • 2 https://www.tris.co.th/carbon-credit/
  • 3 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
  • 4 https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_474REC_2_9_65.pdf
  • 5 https://tradingeconomics.com/commodity/carbon
  • 6 bp Statistical Review of World Energy 2021
  • 7 https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_474REC_2_9_65.pdf
  • 8 CCA (Clean Competition Act) คือ มาตรการภาษีคาร์บอนสหรัฐฯ เป็นมาตรการกำหนดกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing)และมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: US-CBAM)
  • 9 CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) คือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป โดยฝ่ายวิจัยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • 10 https://www.dtn.go.th/th/news/-กรมเจรจาฯ-เตือนผู้ส่งออกรับมือมาตรการจัดเก็บภาษีคาร์บอนของสหรัฐฯ-และอียู?cate=5cff753c1ac9ee073b7bd1c5
  • 11 https://www.boi.go.th/un/production_effiiciency2
  • 12 https://www.thansettakij.com/finance/540015
  • 13 https://www.thansettakij.com/finance/540015
  • 14 https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_474REC_2_9_65.pdf

 

ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI)

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH