กรณีศึกษา: สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

กรณีศึกษา: สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

อัปเดตล่าสุด 12 ม.ค. 2567
  • Share :
  • 25,671 Reads   

สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีบทบาทในการกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของโลก อีกทั้งยังเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของหลาย ๆ ประเทศรวมถึงไทยด้วย ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จึงถือได้ว่ามีความมั่นคงและน่าเชื่อถือ1 นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังเป็นผู้นำระดับโลกในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านองค์กรระหว่างประเทศ ด้านความมั่นคงและการทหาร เป็นต้น ซึ่งหากสหรัฐฯ มีการออกนโยบายหรือยุทธศาสตร์ในด้านใด ย่อมทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ปัจจุบันสหรัฐฯ มีการวางแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม ความเท่าเทียม และความยืดหยุ่นในการปรับตัวผ่านการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศ

แผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้นำเสนอบทวิเคราะห์โอกาสของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะไทยในตลาดโลก...ตอนที่ 3 กรณีศึกษา: สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน เพื่อศึกษาแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1 https://www.northamericastudy.com/general-info-usa/

สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

กรณีศึกษา: สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (U.S. Department of Commerce) จากแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) ของปีค.ศ. 2022 - 2026 รัฐบาลสหรัฐฯ มุ่งเน้นพัฒนาภายใต้ 3 แนวคิดหลัก คือ นวัตกรรม (Innovation)ความเท่าเทียม (Equity) และความยืดหยุ่นในการปรับตัว (Resilience) เพื่อที่จะขับเคลื่อนศักยภาพในการแข่งขันของสหรัฐฯ

ภาพรวมการค้าของสหรัฐ

สำหรับภาพรวมการค้าของสหรัฐฯ ในช่วงปี 2013 - 2022 พบว่า การนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 4.05 หรือมีมูลค่าการนำเข้าจาก 2,267,987 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2013 เพิ่มขึ้นเป็น 3,242,530 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 สินค้าหลักที่สหรัฐฯ นำเข้าในปี 2022 ได้แก่ สินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (HS 84 และ HS 85) โดยมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 28.5 และสินค้ากลุ่มยานบกนอกจากรถที่เดินบนรางรถไฟหรือรางรถราง ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของยาน (HS 87) ร้อยละ 9.9 ขณะที่ประเทศคู่ค้าหลักที่สหรัฐฯ นำเข้าสินค้า ได้แก่ จีน เม็กซิโกและแคนาดา

ในขณะที่ การส่งออกสินค้าของสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ร้อยละ 3.03 หรือมีมูลค่าการส่งออกจาก 1,578,517 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี2013 เพิ่มขึ้นเป็น 2,065,157 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 สินค้าหลักที่สหรัฐฯ ส่งออก ได้แก่ สินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (HS 84 และ HS 85) โดยมีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 20.7 และสินค้าเชื้อเพลิงที่ได้จากแร่ น้ำมันแร่และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นสิ่งดังกล่าว สารบิทูมินัส ไขที่ได้จากแร่ (HS 27) ร้อยละ 18.4 ขณะที่ประเทศคู่ค้าที่สหรัฐฯ มีสัดส่วนการส่งออกสินค้ามากที่สุด ได้แก่ แคนาดา เม็กซิโกและจีน

กราฟที่ 1 ภาพรวมมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้าของสหรัฐฯ ปี 2013 - 2022

กรณีศึกษา: สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

ที่มา: Global Trade Atlas รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จากแผนกลยุทธ์ของปี ค.ศ. 2022 – 2026

ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จากแผนกลยุทธ์ของปี ค.ศ. 2022 - 2026 ประกอบไปด้วยเป้าหมายกลยุทธ์ (Strategic Goal) 5 ด้าน เพื่อที่จะขับเคลื่อนศักยภาพในการแข่งขันของสหรัฐฯ
ดังต่อไปนี้

ด้านที่ 1 การขับเคลื่อนนวัตกรรมและความสามารถของการแข่งขันในระดับโลก (Drive U.S. Innovation and Global Competitiveness) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐฯ โดยในปัจจุบันความเชื่อมโยงกันของนวัตกรรม ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติมีมากขึ้น ซึ่งต้องพึ่งพาฐานอุตสาหกรรมภายในประเทศที่มีความยืดหยุ่นระบบนิเวศทางนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ และการมีส่วนร่วมเชิงกลยุทธ์ในระดับโลก ซึ่งหมายความว่าสหรัฐฯ ต้องจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนในบุคลากร พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวทางในหลายแง่มุมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ชุมชน และแรงงานของประเทศ ในขณะเดียวกันก็มีส่วนร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วนเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม ความยั่งยืน และความมั่นคงของโลก การที่จะพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันได้นั้น สหรัฐฯ จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพภายในประเทศ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นควอนตัมคอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีการสื่อสาร 5G และ 6G และเทคโนโลยีอื่น ๆ ควบคู่กัน

ด้านที่ 2 การส่งเสริมทุนนิยมแบบมีส่วนร่วมและความเท่าเทียมด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Foster Inclusive Capitalism and Equitable Economic Growth) การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระดับโลกและการเสริมสร้างประชาธิปไตยที่ดีต้องสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมกับชาวอเมริกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศ ผิวสี และผู้ที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง การลงทุนในชุมชน แรงงาน นักประดิษฐ์ และผู้ประกอบการภายในประเทศจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาได้อย่างเต็มความสามารถ โดยหัวใจสำคัญในการพัฒนาของกระทรวงพาณิชย์ คือ การขยายโอกาสให้กับชาวอเมริกันที่มากขึ้น ทั้งในด้านการสร้างงาน โอกาสทางการศึกษา และการช่วยเหลือการเติบโตของธุรกิจ

ด้านที่ 3 การจัดการวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศด้วยการลดผลกระทบ ปรับตัว และความพยายามในการฟื้นตัว (Address the Climate Crisis Through Mitigation, Adaptation, and Resilience Efforts) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะมุ่งสร้างประเทศให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะเดียวกันก็จะช่วยสร้างเศรษฐกิจจากพลังงานสะอาด (Clean Energy Economy) โดยเร่งพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด รวมไปจนถึงการให้ข้อมูลสภาพอากาศและเครื่องมือที่นำไปใช้ได้จริงแก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจ

ด้านที่ 4 การขยายโอกาสและการใช้ข้อมูลเพื่อการค้นหา(Expand Opportunity and Discovery Through Data) ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันเวลา และใช้งานได้ของหน่วยงานเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและโอกาสสำหรับทุกชุมชน ข้อมูลประกอบไปด้วยข้อมูลทางประชากรศาสตร์ ข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ รวมไปจนถึงข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การคำนวณแบบควอนตัม และข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและข้อมูลประชากรของประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้นำในชุมชน อุตสาหกรรม และรัฐบาลจึงต้องการข้อมูลในการพัฒนาข้อมูลเชิงลึกเพื่อขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันและนวัตกรรม นอกจากนี้ หน่วยงานต้องปรับปรุงการใช้งาน (Usability) การเข้าถึง (Accessibility) ความทันเวลา (Timeliness) และความละเอียด (Granularity) ของข้อมูลที่เผยแพร่สู่สาธารณะ ซึ่งต้องพิจารณาปรับปรุงการรักษาความลับของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวเป็นสำคัญ

กรณีศึกษา: สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

ด้านที่ 5 การให้บริการในศตวรรษที่ 21 ด้วยความสามารถในศตวรรษที่ 21 (Provide 21st Century Service with 21st Century Capabilities) ความสามารถในการให้บริการและการสนับสนุนภารกิจในศตวรรษที่ 21 มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายของการบริหาร หน่วยงานต้องการพนักงานที่มีทักษะสูง ซึ่งสะท้อนถึงความหลากหลายของประชากรชาวอเมริกัน เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่ของแผนกควรมีเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ให้บริการโดยเน้นประชากรเป็นศูนย์กลาง สร้างแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการจ้างงานและการจัดหาทรัพยากร หน่วยงานจะปรับใช้กลยุทธ์รูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โครงสร้างพื้นฐาน คุณภาพของแรงงานและความเท่าเทียม ตลอดจนความยั่งยืนและความพึงพอใจของประชากรที่เพิ่มขึ้น

กรณีศึกษา: สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

ภาพรวมการค้าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ

ภาพรวมการค้าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ ในช่วงปี 2013 - 2022 พบว่า การนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี(CAGR) ที่ร้อยละ 7.18 หรือมีมูลค่าการนำเข้าจาก 363,582 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2013 เพิ่มขึ้นเป็น 678,768 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำคัญที่สหรัฐฯ นำเข้าในปี 2022 อันดับ 1 และอันดับ 2 คือ สินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ ส่วนประเทศคู่ค้าหลักที่สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ จีน เม็กซิโก และเวียดนาม

ในขณะที่ การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 2.49 หรือมีมูลค่าการส่งออกจาก 209,807 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2013 เพิ่มขึ้นเป็น 261,708 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำคัญที่สหรัฐฯ ส่งออกในปี 2022 อันดับ 1 และอันดับ 2 คือ สินค้าวงจรรวม และสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนประเทศคู่ค้าหลักที่สหรัฐฯ ส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ เม็กซิโก แคนาดาและจีน ซึ่งสหรัฐฯ เป็นฝ่ายขาดดุลทางการค้า

ภาพที่ 2 ภาพรวมมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ ปี 2022

 

กรณีศึกษา: สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

ที่มา: Global Trade Atlas รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

แผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จากแผนกลยุทธ์ของปี ค.ศ. 2022 – 2026 เพื่อการสนับสนุนและพัฒนาของ Smart Domain

 

ภาพที่ 3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จากแผนกลยุทธ์ของปี ค.ศ. 2022 – 2026 เพื่อการสนับสนุนและพัฒนาของ Smart Domain

กรณีศึกษา: สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

Smart Domain and EV

แผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จากแผนกลยุทธ์ของปีค.ศ. 2022 – 2026 ที่มุ่งเน้นพัฒนาภายใต้3 แนวคิดหลัก คือ นวัตกรรม ความเท่าเทียม และความยืดหยุ่นในการปรับตัว จะเป็นโอกาสในการสนับสนุนและพัฒนาของ Smart Domain 4 กลุ่ม ได้แก่ บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) รวมไปจนถึงกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งการสนับสนุน Smart Domain ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะมุ่งเน้นการตอบสนองและคุณภาพชีวิตของประชากรด้วยเทคโนโลยีจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มเทคโนโลยีบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือ Smart Home มากที่สุดในโลกโดย Home Automation มีสัดส่วนมากที่สุด ตามมาด้วยอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย ซึ่งการใช้งาน Smart Home ของชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะเน้นไปในเรื่องการเพิ่มความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยจึงถือได้ว่าสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับกลุ่มเทคโนโลยีบ้านอัจฉริยะเพื่อตอบโจทย์และคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น

การบริการดูแลสุขภาพเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯให้ความสำคัญและมีแผนที่จะมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เนื่องจากเป้าหมายของสหรัฐฯ คือ การสร้างความเท่าเทียมและเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวอเมริกันให้ดีขึ้น ประกอบกับปัจจุบันสหรัฐฯ กำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยจากข้อมูลสถิติในปี 2022 พบว่า จำนวนชาวอเมริกันที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10,000 คนต่อวัน และคาดว่าภายในปี 2032 สหรัฐฯ จะมีจำนวนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าจำนวนประชากรเด็ก เนื่องจากแนวโน้มอัตราการเกิดในประเทศลดลง ผู้สูงวัยส่วนใหญ่เริ่มต้องการสินค้าและบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันคนรุ่นใหม่บางส่วนก็เริ่มให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพและการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้น3 จึงเป็นโอกาสของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) ในการดูแลประชากรภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยและ
กลุ่มวัยรุ่น ตัวอย่างกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) เช่น การพัฒนา High-Quality Broadband เพื่อเชื่อมโยงระหว่างชนบทกับเมืองมากยิ่งขึ้น และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของคุณภาพชีวิตยุคใหม่ รวมไปถึงการบริการสาธารณสุขระยะไกล (Telemedicine) เพื่อให้เข้าถึงประชากรทุกวัยและทุกพื้นที่

2 https://prop2morrow.com/2019/02/11
3 https://www.ditp.go.th/post/138317

การพัฒนาและปรับใช้เทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับผู้ผลิต (Manufacturer) ในสหรัฐฯ เป็นแผนพัฒนาหลักด้านอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วและแข่งขันได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการที่สหรัฐฯ ผลักดันให้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายภาครัฐอย่างเป็นทางการ ทั้งในด้านการสนับสนุนงบประมาณ ทรัพยากร ระดับของมาตรฐานและแรงงานเพื่อให้โรงงานผลิตกลายเป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรม เช่น การใช้หุ่นยนต์ที่สามารถโต้ตอบได้ (Interactive Robotics) และการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต (Connected System) เป็นต้น

ทั้งนี้ การมุ่งเน้นส่งเสริมด้านการเกษตรเพื่อไปสู่ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) อาจไม่ได้มุ่งเน้นมากนัก แต่จากการที่สหรัฐฯ มีการลงนามกลับเข้าสู่ข้อตกลงปารีสในวันแรกของการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายโจ ไบเดน โดยมีการวางแผนมุ่งสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2050 หรือเร็วกว่านั้น รวมถึงมีการตั้งทีมงานด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อดำเนินงานบริหารด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญด้านสภาพอากาศรวมถึงระบบนิเวศน์ของประเทศ โดยสหรัฐฯ ต้องการที่จะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรของชาติโดยการอนุรักษ์พื้นดินและน้ำร้อยละ 30 ผลักดันการปลูกป่าทดแทนและพัฒนาพลังงานทดแทนในพื้นที่ดินและน้ำของรัฐ5 นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการพัฒนาด้านพลังงานสะอาดการจัดการด้านผลกระทบ การลงทุนเครือข่ายพื้นฐานต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งล้วนเป็นการสนับสนุนด้านเกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

กรณีศึกษา: สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

4 https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/14173
5 http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/post

นอกจากนี้ สหรัฐฯ ก็มีการสนับสนุนกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (EV) จากการทำโครงการพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จรถไฟฟ้าโดยจัดสรรเงินลงทุนภายใต้กฎหมายโครงสร้างพื้นฐานจำนวน 7,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ส่งเสริมการจ้างงานและความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศ รวมถึงจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ สร้างเศรษฐกิจจากพลังงานสะอาดด้วยเทคโนโลยีสะอาดสอดคล้องกับการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลภาวะภายในประเทศแผนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าที่สหรัฐฯ ได้ดำเนินการแล้ว ได้แก่ ให้อำนาจแต่ละมลรัฐในการจัดซื้อยานยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาด โดยให้จัดซื้อยานยนต์ขนาดเล็ก (Zero-Emission Light-Duty Vehicles) ทั้งหมดภายในปี 2027 และรถยนต์ประเภทอื่น ๆ ภายในปี2035 รวมถึงกําหนดมาตรฐานสูงสุดของรถยนต์ปล่อยก๊าซไอเสียและมาตรฐานประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง8

กรณีศึกษา: สหรัฐฯ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน

6 ที่มาของรูปภาพ: https://www.freepik.com/
7 ที่มาของเนื้อหา: https://www.thansettakij.com/columnist/532709

สรุป

ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จากแผนกลยุทธ์ของปี ค.ศ. 2022 – 2026 มุ่งเน้นการพัฒนาภายใต้ 3 แนวคิดหลัก คือ นวัตกรรม ความเท่าเทียม และความยืดหยุ่นในการปรับตัว โดยสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมของประชากรภายในประเทศควบคู่กับการส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ผ่านการออกมาตรการและแผนงานของรัฐบาล

นอกจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ยังมีนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในฐานะที่เป็นผู้ปล่อยคาร์บอนสูงสุดอันดับสองของโลก สหรัฐฯ จึงประกาศให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวาระที่ต้องดำเนินการทันทีเช่นเดียวกับความเท่าเทียมทางเชื้อชาติ เศรษฐกิจ สุขภาพ การตรวจคนเข้าเมือง และการนำประเทศกลับสู่จุดยืนเดิมในระดับโลก8 ทั้งนี้ การใช้แผนพัฒนาดังกล่าวของสหรัฐฯ ถือเป็นการส่งเสริมในผลิตภัณฑ์เป้าหมายทั้ง 5 กลุ่ม ได้แก่ โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) บ้านอัจฉริยะ (Smart Home) โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) ตลอดจนกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง

ปัจจุบันสหรัฐฯ กำลังให้ความสำคัญและต้องการสนับสนุนการใช้กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เนื่องจากตลาดยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของสหรัฐฯ เติบโตอย่างมากในปี 2021 และยังคงมีการแข่งขันทางด้านการผลิตที่เข้มข้นมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน9 ประกอบกับไทยมีนโยบายสนับสนุน ผลักดันกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และต้องการเป็นฮับในการผลิต จึงเป็นโอกาสที่ดีหากไทยสามารถเป็นฐานการผลิตที่สำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของสหรัฐฯ ได้สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของไทย รัฐบาลและผู้ประกอบการไทยควรศึกษาแนวทางการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รวมไปถึงนโยบายส่งเสริมอื่น ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการยกระดับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย และทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขยายการลงทุนหรือส่งออกสินค้าไปยังตลาดของสหรัฐฯ ได้โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา ไทยมีมูลค่าการค้ารวมในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กับสหรัฐฯ 32,905 ล้านดอลลาร์สหรัฐ10

8 http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/post
9 https://www.thansettakij.com/columnist/532709
10 มูลค่าการค้ารวมในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(HS 84 และ HS 85) จาก Global Trade Atlas

 

จัดทำโดย แผนกนโยบายและแผน ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E Intelligence Unit: EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI)

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH