เมื่อโลกและบริบทเปลี่ยน Productivity จะต้องปรับเปลี่ยนหรือไม่ อย่างไร สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ FTPI

เมื่อโลกและบริบทเปลี่ยน Productivity จะต้องปรับเปลี่ยนหรือไม่ อย่างไร

อัปเดตล่าสุด 7 เม.ย. 2566
  • Share :
  • 1,467 Reads   

ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งโลกต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามา จนภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับบริบทความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอย่างเต็มที่ Productivity ก็เช่นกันจะถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง องค์ประกอบของผลิตภาพจะยังคงต้องเน้นในเรื่องของ QCDSMEE อยู่แบบเดิมหรือไม่ รวมไปถึงความก้าวหน้าเรื่องของเทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว จะเข้ามามีบทบาทอย่างไรในการขับเคลื่อนผลิตภาพในอนาคต

เมื่อโลกและบริบทเปลี่ยน Productivity จะต้องปรับเปลี่ยนหรือไม่ อย่างไร สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

กว่าจะมาถึง Productivity 4.0

หากเรามองย้อนกลับไปดู พัฒนาการของ Productivity ในแต่ละช่วงของการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยจะพบว่า เราเริ่มต้นจากความพยายายามเพิ่มผลิตภาพจากการปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าในมุมมองขององค์กร พลังของผู้บริโภคและการเรียกร้องการปรับเปลี่ยนต่าง ๆ รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัยมีผลต่อพัฒนาการของ Productivity

Productivity 1st ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก ๆ จะเป็นการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ และการผลิตเพื่อการส่งออก ดังนั้นผลิตภาพในช่วงนี้จะให้ความสำคัญใน 4 เรื่อง คือ คุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการมีมาตรฐานการผลิต

Productivity 2nd เป็นพัฒนาการช่วงการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ มีมุมมองการขับเคลื่อนผลิตภาพจากปัจจัยที่ไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัยทุนและปัจจัยแรงงาน เริ่มมีการมองปัจจัยที่ส่งผลต่อ Total Factor Productivity ที่เข้ามาสนับสนุนกระบวนการผลิต อาทิเช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การพัฒนาทักษะแรงงานเพิ่มขึ้น การบริหารจัดการที่เป็นเลิศ เป็นต้น

Productivity 3rd เป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ยังคงให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การสร้างนวัตกรรม รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ โดยมีกรอบแนวคิดการเพิ่มผลิตภาพเป็นพื้นฐานสำคัญ

Productivity 4.0 เป็นช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมไปสู่ Smart Factory, Smart Business เทคโนโลยีสารสนเทศมีความทันสมัยและเข้าถึงได้ง่าย เริ่มเห็นพลังจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะพลังจากผู้บริโภคที่จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนผลิตภาพมากขึ้น ดังนั้นในองค์ประกอบของ QCDSMEE สำหรับ Next Level of Productivity ต่อจากนี้ สิ่งแวดล้อมและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจจะเป็นปัจจัยหลักที่มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นให้เกิดการขับเคลื่อนผลิตภาพมากกว่าในอดีต และ QCDSM จะต้องสอดคล้องกับ E 2 ตัวนี้

เมื่อโลกและบริบทเปลี่ยน Productivity จะต้องปรับเปลี่ยนหรือไม่ อย่างไร สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

4 กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ Next Level of Productivity

4 กลไกหลักในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านผลิตภาพเพื่อตอบองค์ประกอบ QCDSMEE ในยุคของเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยฐานความรู้ ดิจิทัลเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประกอบด้วย

1. Business Upgrading : การเร่งยกระดับกระบวนการด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความท้าทายขององค์กร

2. Future Skill : การพัฒนาทักษะและส่งเสริมสร้างองค์ความรู้ High Skilled Workforce สำหรับ Future of Work

3. Innovation & Creativity : การจัดการเพื่อสร้างนวัตกรรม เพื่อการเพิ่มผลิตภาพอย่างยั่งยืน สามารถตอบสนองทันต่อการเปลี่ยนแปลงและต้องทำให้มีการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด

4. Data Analytic & Digital Tech : การออกแบบและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจอย่างเหนือชั้น

ทั้งนี้ในการจะขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านผลิตภาพให้ประสบความสำเร็จและช่วยผู้ประกอบการให้สามารถเพิ่มผลิตภาพได้อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องมีกลยุทธ์หรือปัจจัยสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมจากภาครัฐให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมตลอดห่วงโซ่คุณค่า การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และกฎระเบียบต่างๆที่เอื้อต่อการยกระดับผลิตภาพ ในมุมของธุรกิจเองก็ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการที่ทันต่อบริบทการเปลี่ยนแปลง มีการเสริมสร้างทักษะความเชี่ยวชาญของบุคคลากรหรือแรงงานที่สามารถตอบสนองธุรกิจ/อุตสาหกรรมแห่งอนาคตและระบบเศรษฐกิจใหม่

 

ที่มา: Next Level of Productivity : ยกระดับผลิตภาพไทย ก้าวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ โดยคุณนันทพร อังอติชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ 

https://youtu.be/T5xFbte0ErA

 

สนับสนุนบทความโดย: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH