AI จะเข้ามาทดแทนอาชีพเหล่านี้ได้จริงหรือ?
การเข้ามาของ ChatGPT ซึ่งเป็น Generative AI กำลังมีอิทธิพลต่อการทำงานของมนุษย์เรา จนเป็นที่พูดกันว่า AI นั้นจะเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ แต่ยังมีบางอาชีพที่ AI ไม่สามารถแทนที่ได้ภายใน 5 ปี ข้างหน้า จริงหรือ?
Advertisement | |
วันที่ 17 พฤษภาคม 2023 - World Economic Forum (WEF) พูดถึงงานที่ AI แทนที่ไม่ได้ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก “ Future of Jobs Report 2023” ทำการสำรวจ 803 บริษัท จาก 27 อุตสาหกรรมใน 45 ประเทศ ซึ่งมีการจ้างงานมากกว่า 11.3 ล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก พบว่า AI ไม่น่าจะสามารถแทนที่งานที่ต้องใช้ทักษะของมนุษย์ได้ เช่น การตัดสิน ความคิดสร้างสรรค์ ความคล่องแคล่วทางร่างกาย และความฉลาดทางอารมณ์
50% ของผู้ตอบแบบสอบถาม เชื่อว่า AI จะเข้ามาอำนวยความสะดวกในการทำงานให้กับมนุษย์ แต่ในขณะที่ 25% เชื่อว่า AI จะเข้ามาทดแทนมนุษย์ โดยในรายงานยังแสดงให้เห็นการเติบโตของตลาดแรงงาน ในช่วงปี 2023 - 2027 จะมีดังนี้
1. ผู้ควบคุมอุปกรณ์การเกษตร
2. คนขับรถบรรทุกหนักและรถโดยสารประจำทาง
3. ครูอาชีวศึกษา
4. ช่างกล และช่างซ่อมเครื่องจักร
ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่า ข้อได้เปรียบที่มนุษย์เหนือกว่า AI คือ ร่างกายของมนุษย์ เนื่องจากรายงานฉบับเดียวกันนี้เอง พบว่าบริษัทจำนวนมากคาดการณ์ว่าออโตเมชันจะเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้น้อยลง ซึ่งรายงานฉบับก่อนหน้าในปี 2020 คาดการณ์ว่าออโตเมชันจะทดแทนงานของมนุษย์ได้ 47% ใน 5 ปีข้างหน้า แต่ฉบับปี 2023 ลดลงเหลือ 42%
อาชีพในภาคการเกษตร
ในอีก 5 ปีข้างหน้า อาชีพในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรจะมีการเติบโต 30% หรือราว 3 ล้านตำแหน่ง สืบเนื่องจากแรงงานในภาคการเกษตรเป็นกลุ่มที่มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลกระทบจาก Generative AI และโมเดลภาษาอย่าง ChatGPT น้อยมาก สาเหตุมาจากซัพพลายเชนที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากฟาร์มหลายแห่งขายผลผลิตตรงให้ผู้บริโภคโดยไม่ผ่านคนกลาง
การใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่เพิ่มขึ้นและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังนำไปสู่การขยายตัวของงานด้านการเกษตร
นอกจากนี้ ข้อมูลจากธนาคารโลกระบุถึงการเกษตรแบบ “Climate-smart agriculture” ซึ่งจัดการกับความท้าทายที่เชื่อมโยงกันของความมั่นคงทางอาหารและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เร่งขึ้น ไม่เพียงเพิ่มการจ้างงานเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพและผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความมั่นคงทางอาหารและความยืดหยุ่นของพืชผลอีกด้วย
อาชีพในภาคซัพพลายเชนและโลจิสติกส์
คาดการณ์ว่า ในปี 2027 อาชีพในภาคซัพพลายเชนและโลจิสติกส์จะมีการเติบโต 12.5% หรือราว 2 ล้านตำแหน่ง สืบเนื่องจากการกระจายตัวของซัพพลายเชนไปยังภูมิภาคต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าการโยกย้ายซัพพลายเชน ไปจนถึงวิกฤตซัพพลายเชน ต้นทุนที่พุ่งสูง และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจะนำมาซึ่งการสูญเสียตำแหน่งงานในระยะสั้น
Saadia Zahidi กรรมการผู้จัดการ WEF แสดงความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของซัพพลายเชนที่จะโฟกัสไปที่ความยืดหยุ่นมากกว่าประสิทธิภาพจะทำให้เกิดภูมิศาสตร์เศรษฐกิจใหม่ นำไปสู่การสร้างตำแหน่งงานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียและตะวันออกกลาง
จากการสำรวจข้อมูลในปี 2023 พบว่าอาชีพในภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 2 ล้านตำแหน่ง หรือคิดเป็น 12.5% สืบเนื่องมาจากการขาดแคลนของคนขับรถบรรทุกที่เกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2022 อีกทั้งผลกระทบที่เกิดจากการแทนที่ด้วยยานยนต์ไร้คนขับยังมีอัตราส่วนที่น้อยอยู่ จึงทำให้อาชีพคนขับรถบรรทุกนั้นจะยังไม่หายไปจากวงการอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในอนาคต
อาชีพในภาคการศึกษา
อาชีพในภาคอุตสาหกรรมการศึกษาจะมีการเติบโต 10% หรือราว 3 ล้านตำแหน่งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ซึ่งรายงานเผยว่า ในกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่ G20 จะมีการเติบโตมากกว่าในกลุ่มประเทศ G20 ถึงราว 50%
โดยการศึกษาเทคโนโลยีและการพัฒนาฝีมือแรงงานจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างงาน รวมถึงความพยายามขององค์กรในการลดช่องว่างทางทักษะที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก AI ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงทักษะที่พนักงานและนายจ้างต้องการ ซึ่งทั้งษะที่ภาคการศึกษาต้องการมีดังนี้
- การเอาใจใส่และการฟังอย่างกระตือรือร้น (Empathy and active listening)
- การสร้างแรงจูงใจและความตระหนักรู้ในตนเอง (Motivation and self-awareness)
- ความเป็นผู้นำ และอิทธิพลทางสังคม (Leadership and social influence)
- การบริหารคนเก่ง (Talent managerment)
- การมีใจมุ่งบริการและการบริการ (Service Orientation and customer service)
#AI #อาชีพ #แรงงาน #Mreport #mreportth #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH