ใกล้ความจริง..ภาษีคาร์บอนในภาคขนส่งทางเรือ
องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ระบุ ใกล้บรรลุข้อตกลงเก็บภาษีคาร์บอนภาคอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือ คาดมาตรการนี้มีแนวโน้มที่จะได้รับการรับรองในปี 2568
22 มี.ค.67 สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานการประชุมขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เพื่อหารือเกี่ยวกับการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือ โดยข้อสรุปสำคัญที่ประชุมฯ มีการสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นจากประเทศต่าง ๆ สำหรับการนำระบบภาษีคาร์บอนระดับโลกมาใช้กับภาคเรือขนส่งสินค้า ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของโลก
Advertisement | |
ในการประชุมดังกล่าว ประเทศรายได้สูงและรายได้ต่ำรวม 34 ประเทศ ให้การสนับสนุนการกำหนดราคาก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นสากล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสียงสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่รอบการเจรจาครั้งหลังสุดในปี 2566
ทั้งนี้ องค์กรผู้ให้การสนับสนุนเชื่อว่า จากการสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นจึงมีแนวโน้มที่ระบบกำหนดราคาคาร์บอนโลกจะได้รับการรับรองจาก IMO ในปี 2568
การประชุมรอบล่าสุดนี้ถือเป็นการประชุมครั้งแรกของ IMO นับตั้งแต่ประเทศทางทะเลต่าง ๆ เห็นชอบเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ก๊าซเรือนกระจกฉบับใหม่ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว นโยบายฉบับปรับปรุงที่ได้รับการสนับสนุนจาก 175 ประเทศ มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซจากการขนส่งทางเรือลง 30% ภายในปี 2573 อย่างน้อย 70% ภายในปี 2583 และมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยมลพิษสุทธิภายในกลางศตวรรษ
ส่วนหนึ่งของข้อตกลงดังกล่าว จะมีการนำระบบกำหนดราคาคาร์บอนมาใช้ในปี 2568 โดยมุ่งหวังที่จะช่วยลดช่องว่างราคาระหว่างเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานสะอาด และใช้รายได้ที่ได้รับเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่เท่าเทียมกัน
ทางด้าน Sandra Chiri ผู้จัดการสื่อสารระหว่างประเทศด้านการปล่อยก๊าซจากเรือขององค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) กลุ่มรณรงค์จากสหรัฐฯ กล่าวแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า องค์การสหประชาชาติกำลังก้าวสู่การรับรองราคาคาร์บอนระดับโลก ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของโลก แต่นโยบายนี้จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อประเทศต่าง ๆ ทำให้มันสำเร็จ และการเจรจาที่ IMO ในเดือนมีนาคมทำให้เรามีความหวังว่าประเทศส่วนใหญ่ ทั้งในแคริบเบียน แปซิฟิก แอฟริกา รวมถึงสหภาพยุโรปและแคนาดา ได้เห็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ของการกำหนดราคาการปล่อยก๊าซจากเรือสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมที่สะอาดขึ้น และเพื่อให้แน่ใจว่าประเทศกำลังพัฒนาทุกประเทศจะเป็นส่วนหนึ่งและได้รับประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่มีกลุ่มส่วนน้อยยังดื้อรั้นพยายามที่จะลดทอนข้อเสนอนี้
การปล่อยคาร์บอนจากภาคการขนส่งทางเรือยังคงเป็นความท้าทายที่ใหญ่มาก
ภาคการขนส่งทางเรือถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยคาร์บอนมากที่สุด เนื่องจากมีการขนส่งสินค้ามากกว่า 90% ของการค้าโลก โดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลปริมาณมหาศาล ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยคิดเป็น 3% ของการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก
ในการประชุมองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ที่ผ่านมา ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน เช่น ฟิจิ หมู่เกาะมาร์แชลล์ วานูอาตู บาร์เบโดส จาเมกา และเกรนาดา ได้ผลักดันให้มีการจัดเก็บภาษีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือในระดับโลก และข้อเสนอจากประเทศเบลีซและบางประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิกเรียกร้องให้มีการจัดเก็บภาษีคาร์บอนในอัตรา 150 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งองค์กรผู้รณรงค์ระบุว่าเป็น "ข้อเสนอที่มีเป้าหมายสูงสุดบนโต๊ะการเจรจา" นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนออื่น ๆ ที่จะผนวกราคาการปล่อยก๊าซจากเรือเข้ากับมาตรฐานการปล่อยก๊าซระดับนานาชาติสำหรับเชื้อเพลิงทางทะเลด้วย
Panos Spiliotis ผู้จัดการอาวุโสด้านการขนส่งทางทะเลระดับโลกของสหภาพยุโรปจากกองทุนปกป้องสิ่งแวดล้อม กล่าวแสดงความเห็นว่า การเจรจาครั้งล่าสุดที่ IMO ประสบความสำเร็จในการผลักดันให้มีการเจรจาเพื่อทำให้การค้าโลกมีความคงทนต่อสภาพภูมิอากาศ ด้วยการสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นสำหรับการกำหนดราคาก๊าซเรือนกระจกระดับสากล ผู้แทนประเทศจำเป็นต้องพัฒนารายละเอียดนโยบายที่เหมาะสมเพื่อจูงใจให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนในภาคการขนส่งทางเรือ
ทั้งนี้ คาดว่าผู้แทนจาก IMO จะจัดการเจรจาครั้งต่อไปในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2024 นี้
#CarbonTax #ภาษีคาร์บอน #CBAM #EU #Mreport #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ 2566
- คาร์บอนเครดิต คือ
- อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2567
- Apple ครองตลาดสมาร์ทโฟนพรีเมียมในปี 2023
- การเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายไร้สาย 5G
- ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 2566
- สถิติส่งออกกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนไทยปี 2566
- เทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง
- กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ
- solid state battery คือ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH