DENSO หวัง ‘ความเติบโตของ SI ในไทย’ ผ่านโครงการ LASIs

อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2561
  • Share :

เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2560 หลังจากพิธีลงนาม MOU ทางคณะผู้บริหารกลุ่มบริษัทเด็นโซ่ประเทศไทยเองก็ได้ให้สัมภาษณ์ถึงโครงการ LASIs ที่ได้จับมือกับภาคอุตสาหกรรมว่าพวกเขามีความเห็นเห็นต่อโครงการนี้อย่างไร โดยมีคุณฮิโรยูกิ ฟูจิอิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด เป็นผู้ให้การตอบคำถาม

Q: เราใช้ระบบ Lean Automation มาใช้ในโรงงานแบบไหนได้บ้าง
A: “ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนนะครับ คำว่า Lean Automation เนี่ย ถ้าหากว่าเราแปลงเป็นอีกคำหนึ่ง มันจะเหมือนกันว่าจริง ๆ แล้วเราใช้หลักการของ Toyota Production System เดิม ๆ ที่เรามี หรือเรียกว่า TPS แล้วก็นำเอา TPS มาทำ Automation

เพราะฉะนั้นถึงแม้ TPS เองจะเกิดมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์แต่ว่าตามหลักการแล้ว มันสามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้กระทั่งส่วนของอุตสาหกรรมอาหารหรือเกษตรกรรมครับ”

Q: ระบบ Automation นี้มีข้อดีที่ล้ำสมัยอย่างไร
A: “ถ้าอธิบายง่าย ๆ นะครับ อย่างเช่น ถ้าในเมืองไทยเรามีไลน์การผลิตด้วยการประกอบมือ และบริษัทอื่นบอกว่ามาทำ Automation กับ DENSO บอกว่ามาทำ Automation สิ่งที่เห็นได้อย่างแรกก็คือจำนวนของ Robot ที่นำมาใช้จะแตกต่างกันในแต่ละไลน์ ในส่วนของ DENSO ส่วนที่แตกต่างในการนำหุ่นยนต์มาใช้ก็คือ DENSO ออกแบบให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่างในรอบของการทำงานในแต่ละรอบให้ได้มากที่สุด

อีกอย่างหนึ่งก็คือถ้าเราพูดกันทั่ว ๆ ไปว่า ช่วยทำระบบ Automation ให้ไลน์ที่ผลิตด้วยมือหน่อยได้ไหม ส่วนใหญ่สิ่งที่เราจะได้คือเปลี่ยนจากไลน์ที่ผลิตด้วยมือไปเป็นระบบ Automation ไปเลย แต่สำหรับ DENSO ไม่ได้ทำแบบนั้น ในอุตสาหกรรมไทยที่เป็นไลน์ประกอบด้วยมือและฝีมือดียังมีอยู่มาก โดยแนวคิด Lean Automation ของ DENSO เราจะใส่จุดที่เป็น Automation แบบ Step by step ซึ่งไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทีเดียวทั้งหมด เพราะฉะนั้นจากการที่ทำแบบ Step by step โดยไม่ต้องใช้เงินเยอะ ๆ โรงงานของเมืองไทยเราสามารถใช้เงินจำนวนไม่เยอะแต่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ง่าย”

Q: แล้วระบบ Automation จะกระทบต่อแรงงานคนไหม
A: “อันดับแรกต้องบอกไว้ก่อนนะครับ DENSO เราไม่เคยมีแนวคิดที่จะเอา Automation เข้ามาแล้วเอาแรงงานคนออก แต่เดิมคือเรานำระบบ Automation มาใช้สำหรับงานง่าย ๆ หรือน่าเบื่อ แล้วเอาแรงงานคนไปทำอย่างอื่นที่ต้องคิดและมีคุณค่ามากกว่า

แน่นอนว่าหลังจากนี้เราก็คาดหวังถึงพัฒนาการของอุตสาหกรรมไทยที่จะมีการนำระบบ Automation มาใช้เพิ่มมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน แรงงานในวัยทำงานนั้นลดลดเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นจะเกิดสภาวะขาดแคลนแรงงาน จึงจำเป็นต้องนำระบบ Automation มาใช้จากระบบที่เราก็อาจจะควบคุมไม่ได้”

Q: แล้ว DENSO ใช้หุ่นยนต์ทำงานในโรงงานกี่เปอร์เซ็นต์
A: “สำหรับ DENSO ในญี่ปุ่น ตอนนี้อยู่ในเลเวลประมาณ 70% ครับ”

Q: ใช้ระบบดังกล่าวนี้สามารถเพิ่ม Value ให้ผลิตภัณฑ์ได้ไหม
A: “เพิ่มได้ครับ ต้องบอกก่อนว่าการใช้ Robot นั้นแตกต่างจากแรงงานมนุษย์ คุณภาพจะมีความเสถียรมากกว่าเยอะมาก เพราะ Robot ทำงานได้นิ่งกว่าคน มั่นคงกว่า มันไม่เหนื่อย ไม่ป่วยและไม่มีการพัก ต่างจากคน หากต้องผลิตผลิตภัณฑ์จำนวนมาก การใช้ Robot จะตอบโจทย์ได้มากกว่าครับ”

Q: อุตสาหกรรมในเมืองไทยเหมาะสมมากแค่ไหนในการใช้ระบบหุ่นยนต์
A: “ก็ถ้ามองกันตอนนี้นะครับ ควรจะเริ่มเอา Automation เข้ามาได้แล้วครับ สำหรับอุตสาหกรรมในเมืองไทย เพราะ DENSO ในไทยก็ตระหนักถึงเรื่องนี้มาได้ 4 – 5 ปี แล้วก็นำเอา Robot เข้ามาใช้เรื่อย ๆ หลายปีแล้ว

เมื่อมองในแง่อุตสาหกรรม การนำ Automation เข้ามานับเป็นเรื่องที่ดีครับ สำหรับคนไทยในตอนนี้ก็มีเพียง Motivation ในการอยากจะนำ Automation เข้ามา คืออยากทำอะไรสักอย่างนั่นแหละครับ แต่ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ทางนู้นจึงคิดจะสร้างแนวทางให้กับอุตสาหกรรมไทยโดยให้รู้จักวิเคราะห์ความสูญเปล่าและตัดออกก่อนจะนำ Automation เข้ามาใช้ครับ”

Q: Technology Transfer ตัวไหนที่ DENSO จะนำเข้ามาในไทย
A: “อันหนึ่งก็คือ Technology Robot ครับ อีกอันก็คือ Know – how ในการที่จะออกแบบที่จะนำ Robot หลาย ๆ ตัวใช้แล้วเกิดประสิทธิภาพสูงสุด แล้วอีกอันนึงก็จะเป็นเรื่องของ Technology เกี่ยวกับการโปรแกรมมิ่ง ในการใช้หุ่นยนต์ว่าจะทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนไหวอย่างไรให้เกิด Loss น้อยที่สุด

ก่อนจะทำ Automation จะต้องกำจัดความสูญเปล่าก่อนใช่ไหมครับ Technology ที่จะนำมาออกแบบวิเคราะห์ Loss ก็คือ Stimulation Digital Engineering สุดท้ายก็จะเป็น Technology IoT ที่ใช้ในการ Manage การ Operation ของโรงงาน”

Q: จะเริ่มต้นโครงการเมื่อไร
A: “ก็จะเริ่มจากเรื่องของการเริ่มสอนซึ่งตรงนี้จะเริ่มประมาณปลายเดือนเมษายน แล้วก็จะมีการ Opening ในสิ่งที่เราบอกอยู่ในนั้นด้วยครับ”

Q: คาดหวังอะไรกับโครงการในครั้งนี้บ้าง
A: “อันดับแรกที่ใกล้ที่สุดคือ เราคาดหวังว่าจะสามารถสร้าง System Integrator ให้ได้เยอะ ๆ จะได้ขอให้ System Integrator เหล่านี้เข้ามาช่วยงานในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงงานของ DENSO และโรงงานอื่น ๆ ด้วย อันที่สองคือสามารถสร้างตลาดของ DENSO เองได้จากการขยายตัวของ Factory Automation อันที่สามก็จะเกี่ยวกับ Branding ซึ่งเป็นโอกาสให้ DENSO ได้สร้างภาพลักษณ์และเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นครับ”

Q: พอจะให้คำตอบเรื่องงบประมาณที่ลงทุนกับโครงงานนี้ได้ไหม
A: “ก็ต้องขออนุญาตเรียนตามตรงนะครับว่าเราก็ไม่สามารถให้ตัวเลขจริง ๆ ได้แต่บอกได้ว่าตอนนี้ที่เราลงทุนก็คือเราได้รับงบส่วนหนึ่งมาจาก JETRO รวมกับงบบางส่วนที่ทาง DENSO ใส่เองเข้าไปด้วย เป็นสองส่วนรวมกันครับ”