Makita เผย “เครื่องมือไฟฟ้ากว่า 90% สามารถชาร์จไฟได้” ย้ำ เร่งพัฒนาเทคโนโลยีชาร์จไฟกำลังสูง

อัปเดตล่าสุด 18 ม.ค. 2561
  • Share :
  • 567 Reads   

Q: ท่านคิดว่าปี 2018 จะดำเนินไปในทิศทางไหน

“ผมคิดว่ามันคงจะเป็นปีที่ดีอีกปี เทคโนโลยียานยนต์ใหม่ ๆ จะกลายเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความต้องการในด้าน AI และ IoT เพิ่มมากขึ้น ส่วนในด้านเครื่องมือไฟฟ้านั้นก็กำลังคึกคึกในระดับโลก ซึ่งเป็นผลจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัย โรงงาน และอาคารพาณิชย์”

Q: ท่านมีแนวทางการตอบสนองต่ออุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างไรบ้างครับ

“จริง ๆ แล้วเรามีแผนที่จะเปิดโรงงานใหม่ในโรมาเนียและจีนนะครับ ในโรมาเนียตอนนี้เรากำลังเจรจาขอซื้อโรงงานข้างเคียงกับโรงงานเดิมเราอยู่ เพราะอยากจะเริ่มการก่อสร้างภายในไตรมาสแรกของปี 2019 และสามารถเริ่มทำงานได้ในไตรมาสแรกของปี 2020 เลย ส่วนในจีนนั้นเรากำลังหาพื้นที่ในเมืองคุนชาน มณฑลเจียงซู ซึ่งมีโรงงานเดิมของเราอยู่แล้ว 2 แห่ง ถึงแม้ตอนนี้จะยังไม่มีกำหนดการก่อสร้าง แต่คาดว่าจะสามารถเพิ่มกำลังผลิตได้ถึง 1.3 เท่า”

Q: แล้วจะเน้นผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทไหนบ้างครับ

“กว่า 90% ของสินค้าใหม่เราจะเป็นผลิตภัณฑ์แบบชาร์จไฟได้ครับ ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จในเทคโนโลยีการชาร์จไฟกำลังไฟสูง เราคาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศพัฒนาแล้วประมาณ  60 – 70% จะเป็นแบบชาร์จไฟได้ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่สามารถชาร์จไฟได้นั้น เราก็อยู่ระหว่างการวิจัยเพื่อพัฒนาให้ชาร์จไฟได้อยู่ครับ”

Q: มีนโยบายการขายในแต่ละภูมิภาคอย่างไรบ้าง

“เราอยู่ระหว่างการพิจารณาการจัดตั้งศูนย์การจำหน่ายในยุโรปให้ได้ประเทศละแห่งครับ ส่วนในสหรัฐฯ นั้นเราเน้นไปที่การจัดโปรโมชั่น ซึ่งส่งผลให้แม้จะเป็นสินค้าราคาสูง เราก็สามารถขายดีได้ในช่วงคริสต์มาสเมื่อปีที่แล้ว และในจีนที่เรามีศูนย์การจำหน่ายอยู่มากก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาการวางระบบใหม่ และเน้นไปที่การอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าเป็นหลัก และสุดท้ายคืออินเดียที่เราเน้นไปโดยการสนับสนุนตัวแทนจำหน่ายครับ”

Q: ท่านคิดอย่างไรกับบทบาทของหุ่นยนต์และ IoT ในโรงงานครับ

“ปัจจุบัน IoT มีบทบาทมากขึ้นในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงานครับ แต่ความก้าวหน้าของIoT ในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นยังมีอยู่น้อย ส่วนหุ่นยนต์ก็กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในโรงงานและมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามผมไม่คิดว่าการเปลี่ยนโรงงานทั้งหมดให้เป็นระบบอัตโนมัติ 100% เนื่องจากผู้ใช้ต้องเข้าใจหลักการและขั้นตอนในงานผลิตอย่างแท้จริง จึงจะสามารถใช้หุ่นยนต์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ”