มาตรฐาน มอก. ยูโร 5 และ 6 การออกใบอนุญาตทำผลิตภัณฑ์หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์
จากปัญหาการปล่อยมลพิษทางอากาศฝุ่น PM (Particulate Matter) ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของโลกปัจจุบันที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ โดยสาเหตุของมลพิษดังกล่าวเกิดจากการเผาป่า อุตสาหกรรมหนัก และอื่น ๆ อีกมากมายที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ และหนึ่งในปัจจัยเหล่านั้นที่พูดกันมากคือ ปัจจัยจากยานยนต์บนท้องถนนนั่นเอง โดยเฉพาะเครื่องยนต์สันดาปภายในชนิดจุดระเบิดด้วยกำลังอัด (Compression Ignition Engine) หรือที่เราเรียกว่าเครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Engine) ปัจจุบันถูกมองว่าเป็นหนึ่งในปัญหาหลักในการปล่อยมลพิษทางอากาศฝุ่น PM2.5 และสารมลพิษอื่น ๆ ทำให้ภาครัฐให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและมีการปรับมาตรฐานเกี่ยวกับสารมลพิษจากเครื่องยนต์ให้มีความเข้มงวดมากขึ้นเป็นลำดับ
โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมมีการปรับจาก มาตรฐานยูโร 3 มาเป็น มาตรฐานยูโร 4 เมื่อ พ.ศ.2556 และมีแผนปรับจากมาตรฐานยูโร 4 ที่ใช้ในปัจจุบัน มาเป็นการใช้มาตรฐานยูโร 5 และ 6 ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งในสมอ. มีการประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป 4 มาตรฐาน เพื่อรองรับการควบคุมการปล่อยมลพิษจากเครื่องยนต์ตามมาตรฐานยูโร 5 และ 6 ดังนี้
-
มอก.3016-2563 รถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟ เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 9 (มาตรฐานยูโร 5)
-
มอก.3017-2563 รถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟ เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 10 (มาตรฐานยูโร 6)
-
มอก.3018-2563 รถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 8 (มาตรฐานยูโร 5)
-
มอก.3019-2563 รถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 9 (มาตรฐานยูโร 6)
สำหรับประเทศไทย มาตรฐานการปล่อยสารมลพิษจากเครื่องยนต์นั้น เป็นมาตรฐานบังคับ ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมีการควบคุมให้ ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานอย่างสมํ่าเสมอและให้ผู้บริโภคมั่นใจในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ รวมถึงไอเสียที่ปล่อยออกมาก็จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันผู้ประกอบการรถยนต์ทั้งผู้ทำในประเทศและผู้นำเข้ามีการขอใบอนุญาต มอก. สำหรับรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล ตามมาตรฐาน มอก.2540-2554 และ มอก.2550-2554 (ตามมาตรฐานยูโร 4 อ้างอิงตามมาตรฐาน UN/ECE Regulation No. 83 Rev.3) ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับ กับ สมอ. แล้วนั้น โดยจากประกาศ สมอ. มาตรฐานการปล่อยสารมลพิษจากเครื่องยนต์ตามมาตรฐานยูโร 5 และ 6 (อ้างอิงตามมาตรฐาน UN/ECE Regulation No. 83 Rev.4) ซึ่งมีความเข้มงวดมากขึ้นจากมาตรฐานยูโร 4 ปัจจุบันนั้น ทำให้ต้องมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และการตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานที่ทําผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับยานยนต์ เพื่อการขอใบอนุญาตทำในประเทศและนำเข้าผลิตภัณฑ์เมื่อประกาศมีผลบังคับใช้ โดยในบทความนี้จะมาทำความรู้จักกับมาตรฐานการปล่อยสารมลพิษจากเครื่องยนต์ กระบวนการออกใบอนุญาต และการตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงาน ว่าจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจอย่างไรบ้าง
การวัดปริมาณการปล่อยสารมลพิษจากเครื่องยนต์ตามมาตรฐานยูโร 4 , 5 และ 6 ต่างกันอย่างไร
การวัดปริมาณการปล่อยมลมลพิษจากเครื่องยนต์จะเป็นการวัดจากระดับของสารพิษ คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide : CO) ไฮโดรคาร์บอนทั้งหมด (Total Hydrocarbon : THC) ไฮโดรคาร์บอนที่ไม่รวมมีเทน (Non Methane Hydrocarbon : NMHC) ออกไซด์ของไนโตรเจน (Nitrogen Oxide : NOx) ไฮโดรคาร์บอนรวมกับออกไซด์ของไนโตรเจน (HC+ NOx) สารมลพิษอนุภาค (Particulate Matter : PM) และจำนวนอนุภาค (Particulate Number : PN) ซึ่งแบ่งตาม ประเภท และลักษณะของเครื่องยนต์ ปัจจุบันมาตรฐานควบคุมไอเสียของประเทศไทยอยู่ในระดับมาตรฐานยูโร 4 ซึ่งตรงกับมาตรฐาน มอก.2540-2554 (เบนซิน), มอก.2550-2554 (ดีเซล) ก่อนจะขยับเป็นระดับมาตรฐานยูโร 5 ซึ่งตรงกับมาตรฐาน มอก.3016-2563 (เบนซิน), มอก.3018-2563 (ดีเซล) และระดับมาตรฐานยูโร 6 ซึ่งตรงกับมาตรฐาน มอก.3017-2563 (เบนซิน) มอก.3019-2563 (ดีเซล) โดยสิ่งที่เหมือนกันของมาตราฐานยูโร 4 , 5 และ 6 คือรายการทดสอบค่าปริมาณสารมลพิษ สิ่งที่ต่างกันคือปริมาณสารมลพิษจะมีความเข้มงวดขึ้นเป็นลำดับ โดยรายการทดสอบมีรายละเอียด ดังนี้
ลักษณะที่ 1 (Type I): ปริมาณสารมลพิษภายหลังติดเครื่องขณะเย็น โดยวัดค่า CO, THC, NMHC, NOx, HC+ NOx, PM และ PN (สำหรับประเทศไทย รถยนต์นั่ง และ รถบรรทุกขนาดเล็ก กำหนดให้รถยนต์ที่ผ่านการทดสอบจะต้องมีปริมาณการปล่อยสารมลพิษไอเสียต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ดังตารางที่ 1 สำหรับรถยนต์เบนซิน และตารางที่ 2 สำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก)
ลักษณะที่ 2 (Type II): ปริมาณสารมลพิษภายหลังติดเครื่องขณะเดินเบา โดยวัดค่าความเข้มข้นของ CO ซึ่งจะต้องไม่เกินค่าที่กำหนดตามมาตรฐาน
ลักษณะที่ 3 (Type III): ปริมาณสารมลพิษจากห้องเพลาข้อเหวี่ยงต้องไม่มีก๊าซออกจากห้องเพลาข้อเหวี่ยงสู่บรรยากาศ
ลักษณะที่ 4 (Type IV): ปริมาณสารมลพิษไอระเหยที่วัดได้ต้องน้อยกว่า 2 g/test
ลักษณะที่ 5 (Type V): ความทนทานของอุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษ โดยการวิ่งทดสอบหรือใช้ค่าที่กำหนดตามมาตรฐาน
ลักษณะที่ 6 (Type VI): ปริมาณสารมลพิษภายหลังติดเครื่องขณะเย็น ที่อุณหภูมิต่ำ (-7 องศาเซลเซียส) โดยวัดค่า CO, HC ซึ่งตามมาตรฐาน มอก. ไม่ได้มีการทดสอบในสภาวะนี้
นอกจากลักษณะที่ 1-6 ยังมีการทดสอบระบบวินิจฉัยอุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษ (On Board Diagnostics: OBD) โดยเป็นการจำลองให้เกิดความล้มเหลวของอุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษในรถยนต์ โดยจะต้องมีสัญญาณเตือนให้ผู้ขับทราบ
Table 1: Shows the amount of pollution from the engine (Gasoline), according to Euro 4 5 and 6 standards.
(Vehicle types of category M1 M2 N1 N2 according to TIS. 2390 standard)
Remark: * Enforce to direct injection engine only.
Table 2: Shows the amount of pollution from the engine (Light Duty diesel), according to Euro 4 5 and 6 standards.
(Vehicle types of category M1 M2 N1 N2 according to TIS. 2390 standard)
Remark: * Include vehicle types M1. which use for specific social needs.
การออกใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีกระบวนอย่างไร
การออกใบอนุญาตทำผลิตภัณฑ์หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน มอก. ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยกระบวนการออกใบอนุญาตของ สมอ. ประกอบด้วย
ผู้ประกอบการยื่นคำขอดำเนินการผ่านระบบ e-license ของ สมอ. (กองควบคุมมาตรฐาน กลุ่มยานยนต์) จากนั้นดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และการตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานที่ทําผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้รายงานผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และรายงานผลการประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานที่ทําผลิตภัณฑ์ สำหรับการพิจารณาออกใบอนุญาต โดยรายงานผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และผลการประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานที่ทําผลิตภัณฑ์ มีรายละเอียด ดังนี้
1. รายงานผลการประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงาน (QC Report) ที่ทําผลิตภัณฑ์ของผู้ขอรับใบอนุญาต ซึ่งดําเนินการโดย สมอ.หรือหน่วยตรวจ (Inspection Body : IB) โดยรายงานผลการประเมินระบบควบคุมคุณภาพดังกล่าวต้องมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ผลการประเมินระบบควบคุมคุณภาพ เป็นไปตามข้อกําหนดจนถึงวันที่ยื่นคําขอ
2. รายงานผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทุกรายการตามมาตรฐานกําหนด โดย สมอ.จะพิจารณายอมรับรายงานผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ ตามลําดับAll items of the product inspection report must meet the specified standards which TISI will accept the product inspection report from the following agencies respectively.
(2.1) ผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(2.2) ห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 หรือ มอก.17025 ในขอบข่ายมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจาก สมอ.ก่อน
(2.3) ห้องปฏิบัติการทดสอบของโรงงานที่ทําผลิตภัณฑ์ โดย สมอ.เป็นผู้ควบคุมการตรวจสอบและใช้เครื่องมือทดสอบของโรงงาน และห้องปฏิบัติการทดสอบนั้นต้องได้รับการทวนสอบขีดความสามารถจาก สมอ.ก่อน
(2.4) ห้องปฏิบัติการทดสอบที่สํานักงานให้การยอมรับ ทั้งนี้รายงานผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์นั้นต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือห้องปฏิบัติการทดสอบลงนามรับรองรายงานผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์จนถึงวันที่ยื่นคําขอ และต้องเป็นรายงานผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่ยื่นขอในครั้งนั้น
การตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงาน มีรายการตรวจประเมินอะไรบ้าง
การตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานตามข้อกำหนด ของ สมอ. กิจกรรมการตรวจประเมิน ณ ที่ทําผลิตภัณฑ์ มีอยู่ 5 ข้อกำหนด ดังนี้
1. การจัดซื้อและการควบคุมวัตถุดิบ
2. การควบคุมกระบวนการผลิต
3. การควบคุมผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
4. การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
5. การควบคุมเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ
สถาบันยานยนต์ ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นหน่วยตรวจ (Inspection Body : IB) ในการตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงาน ในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน โดยในส่วนนี้จะพูดถึงรายการตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงาน ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับยานยนต์ ระดับมาตรฐานยูโร 4 ตรงกับ มอก.2540-2554 (เบนซิน) และ มอก.2550-2554 (ดีเซล) ซึ่งบังคับใช้อยู่ปัจจุปัน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานยูโร 5 ซึ่งตรงกับมาตรฐาน มอก.3016-2563 (เบนซิน), มอก.3018-2563 (ดีเซล) และระดับมาตรฐานยูโร 6 ซึ่งตรงกับมาตรฐาน มอก.3017-2563 (เบนซิน), มอก.3019-2563 (ดีเซล) โดยมีรายละเอียดหัวข้อตั้งแต่ การจัดซื้อและการควบคุมวัตถุดิบ การควบคุมกระบวนการผลิต การควบคุมผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด และการควบคุมเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ ดังนี้
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ใน 2566
- คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร ทำไมถึงต้องเร่งสร้างคาร์บอนเครดิต
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2566 ฟรี
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ 2565
- ยอดขายโทรศัพท์ 2023 ทั่วโลก
- GAC AION Thailand
- เปิดโผ 8 อุตสาหกรรมเด่นเติบโตสูงในปี 2566
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH