คุณตติย มีเมศกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลนโซ่แอโรสเปซ จำกัด (Lenso Aerospace)

Lenso Aerospace พร้อมขับเคลื่อน อุตฯ อากาศยานไทย

อัปเดตล่าสุด 24 ต.ค. 2561
  • Share :

Lenso Aerospace หนึ่งใน Top 3 ผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน สัญชาติไทย โดยผลิตชิ้นส่วนโลหะที่มีความแม่นยำและซับซ้อนสูง เช่นงานจำพวก Freeform ทั้งชิ้นส่วนของเครื่องยนต์, Heat Exchanger, Interior  ผู้บริหารหนุ่มไฟแรง "คุณตติย มีเมศกุล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลนโซ่แอโรสเปซ จำกัด จะมาเผยถึงการขับเคลื่อนธุรกิจในอุตสาหกรรมอากาศยาน ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่ง่ายนัก นับตั้งแต่ย่างก้าวแรกว่า จะเข้าสู่ธุรกิจ Aerospace ได้อย่างไร และนี่เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนหลายต่อหลายท่านยังคงมองหากุญแจที่จะไขปริศนานี้อยู่ และเมื่อเข้ามาแล้ว การดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมอากาศยานมีลักษณะเฉพาะใดที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นบ้าง และยังตั้งเป้าหมายสู่ “The world class manufacturer” และเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อระหว่าง “Demand ขนาดใหญ่จาก ลูกค้า Aerospace ทั่วโลก” กับ “ผู้ประกอบการไทยที่สนใจที่จะพัฒนาธุรกิจของตนเข้าสู่อุตสาหกรรมอากาศยาน” เรามาหาคำตอบในบทสัมภาษณ์นี้ 

 
จุดเริ่มต้นของ Lenso กับการเข้าสู่ Aerospace ในประเทศไทย

ผู้บริหาร Lenso Wheel ได้สนับสนุนให้คุณตติยไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ในขณะที่กำลังศึกษานั้นจึงได้มีโอกาสเข้าไปทำงาน Part Time ที่โรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานแห่งหนึ่งซึ่งผลิตชิ้นส่วนป้อนให้กับ Boeing และ Airbus จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำการศึกษาตลาด Aerospace ในประเทศไทย  

จากการศึกษาครั้งนั้น ทำให้พบว่าตลาด Aerospace ในไทย เป็นตลาดกึ่งปิด หรือเรียกได้ว่าเป็นตลาดกึ่งผูกขาด  ดังนั้น ลักษณะการประกอบธุรกิจประเภทนี้จะทำให้บริษัทที่อยู่ใน Supply chain มีจำนวน supplier ไม่มากนัก และจะทำให้ demand ต่อ supplier สูงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น นอกจากนี้ ทิศทางของตลาด Aerospace ในขณะนั้นมีแนวโน้มที่จะมาผลิตในเอเชียมากขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตบางรายต้องการที่จะลดต้นทุนของฐานการผลิตในยุโรปและสหรัฐอเมริกา จึงได้ย้ายฐานการผลิตบางส่วนมาเอเชีย ทำให้ Lenso Wheel มองเห็นช่องทางในการทำธุรกิจ Aerospace ในประเทศไทย 

Lenso Aerospace ในช่วงแรกเริ่ม เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างคนไทยและเจ้าของทุนจากอังกฤษ  จากนั้นในปี 2009 อุตสาหกรรมอากาศยานได้มีการปรับเปลี่ยนฐานการผลิตครั้งใหญ่โดยโอนถ่ายการผลิตมายังเอเชียตามที่คาดการณ์ไว้ การเปลี่ยนแปลงนี้เองทำให้บริษัทที่อังกฤษก็ต้องปิดตัวลงหลังจากนั้น 4 ปี  ทาง Lenso Wheel มองเห็นว่าธุรกิจนี้มีโอกาสเติบโตสูง จึงตัดสินใจซื้อหุ้นทั้งหมดของฝ่ายอังกฤษขึ้นมา จนกลายเป็น Lenso Aerospace ในทุกวันนี้


ธุรกิจของ Lenso Aerospace 

Lenso Aerospace เป็นผู้ประกอบการ Tier 2 ที่ผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับอากาศยานที่มีความแม่นยำและซับซ้อนสูง ในกระบวนการผลิตจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลที่มีความแม่นยำสูงเป็นพิเศษ โดย Lenso จะรับจ้างผลิตตามแบบและมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด (build to print assembly) โดยงานส่วนใหญ่นั้นจะเป็นการแปรรูปโลหะด้วยเครื่องจักร CNC การทำเคมีพื้นผิว (surface treatment) รวมถึงออกแบบและปรับปรุงงานร่วมกับลูกค้า เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่ดีในต้นทุนที่เหมาะสม และเหมาะกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน 

สำหรับชิ้นส่วนอากาศยานที่ Lenso Aerospace ผลิต มี 4 หมวด ดังนี้

  1. Interior (ชิ้นส่วนภายใน) เช่น ที่นั่งสำหรับ economy class, business class และ firstclass, Galley (ห้องครัว), Lavatory (ห้องน้ำ) บนเครื่องบิน
  2. Airframe system (โครงสร้างของเครื่องบิน) เช่น Exit door และ ชิ้นส่วน landing gear
  3. Engine system เช่น Heat Exchanger (ตัวระบายความร้อนบนเครื่องบิน), Fuel system (ตัวจ่ายเชื้อเพลิงของเครื่องบิน) 
  4. Avionics  ได้แก่ ชิ้นส่วนของระบบการควบคุมของเครื่องบิน

 

ตั้งเป้าหมาย “The world class manufacturer” 

Business model ของ Lenso Aerospace ได้ตั้งใจออกแบบมาเพื่อธุรกิจ aerospace โดยเฉพาะ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของ Hard Side Management (HSM) และ Soft Side Management (SSM)

Hard Side Management คือ การบริหารงานในองค์กรตามศาสตร์ทั่วไปเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีต้นแบบความสำเร็จจาก Lenso Wheel ซึ่งเป็นผู้ผลิต จำหน่าย ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของยานยนต์ที่มียอดขายอันดับหนึ่งในประเทศไทย และส่งออกไปทั่วโลก ได้เข้ามาช่วยพัฒนาระบบการผลิตและการจัดการด้าน HSM  ของ Lenso Aerospace 

ในขณะที่ Soft Side Management คือ การบริหารจัดการเรื่องจิตใจของคนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรตั้งแต่ระดับผู้บริหารไปจนถึงพนักงานทั่วไป ผู้รับเหมา ผู้ขาย และที่สำคัญต้องรวมไปถึง ชุมชนและสังคมด้วย เน้นการพัฒนาคนแบบองค์รวม (Holistic) และยั่งยืน (Sustainable)  โดยมี ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ อดีตวิศวกรที่เคยทำงานกับองค์กรระดับโลกอย่าง NASA มาเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ให้  ทำให้พนักงานทั้งหมดสามารถทำงานกันเป็น Team Work ได้เป็นอย่างดี เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และขับเคลื่อนบริษัทสู่เป้าหมาย “The world class manufacturer” ที่ลูกค้าทั่วโลกให้การยอมรับ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลลัพธ์จากความสมดุลของการบริหารงานทั้งด้าน HSM และ SSM 


การสร้างคนจากการสอนใจด้วยใจ  (Coaching with Love)

การดำเนินงานช่วงเริ่มต้นของ Lenso Arospace ซึ่งเป็นบริษัทเปิดใหม่ และอยู่ในธุรกิจอากาศยาน อันเป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยแพร่หลายนักในประเทศไทย ทำให้บริษัทมีอุปสรรคในการคัดสรรบุคลากรเข้ามาทำงาน ปัญหาดังกล่าวจึงทำให้เกิดแนวคิด  “การสร้างคนจากการสอนใจด้วยใจ (Coaching with Love)” ไม่เน้นวุฒิการศึกษาเป็นข้อหลัก แต่เน้นการโค้ชด้วยการวางระบบการฝึกสอนและพัฒนาคน  โดยให้โอกาสกับคนที่มีใจสมัครเข้ามาทำงานแม้จะไม่มีประสบการณ์ ก็เปิดโอกาสให้เข้ามาเรียนรู้งานและศึกษาระบบเพื่อให้เข้าใจและสามารถทำงานได้ภายใต้ AS9100 module และในทุก modules ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพนักงานทุกตำแหน่ง จะต้องมีการเรียนรู้จากการทำงานจริงหน้าเครื่องจักรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้เข้าใจระบบการทำงาน เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า จนสามารถที่จะทำงานได้เฉกเช่นกับคนที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ 

นอกจากนี้ การรับพนักงานฝ่ายผลิตจะเปิดรับพนักงานหญิงเป็นส่วนใหญ่  เนื่องจากผู้หญิงมีความตั้งใจในการเรียนรู้  สามารถรักษาการจัดการโรงงานและดูแลรักษาเครื่องจักรได้ดีกว่าผู้ชาย รวมถึงตั้งใจการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของมาตรฐาน AS9100 อย่างเคร่งครัด จึงทำให้บริษัทได้รับ AS9100 Rey C approval หลังจากดำเนินการได้เพียง 6 เดือน 

 


 

งานที่ดีต้องเลือกเครื่องจักรที่เหมาะสม 

Lenso Aerospace ให้ความสำคัญในการเลือกเครื่องจักรที่เหมาะสมกับชิ้นงานอย่างมาก  ซึ่งชิ้นส่วนสำหรับอากาศยานเป็นงานที่ค่อนข้างละเอียด ซับซ้อน จึงต้องพิถีพิถันในการเลือกเครื่องจักร โดยชิ้นงานส่วนใหญ่จะเป็นงานจำพวก Freeform ทั้งชิ้นส่วนของเครื่องยนต์, Heat Exchanger, Interior จึงเหมาะสมกับเครื่อง CNC 5 แกน โดย Lenso  Aerospace ได้เลือกใช้เครื่อง Mazak INTEGREX i-400ST 5 แกน จาก  Min Sen Machinery  ซึ่งถือเป็น Top 3 สำหรับเครื่องจักรสำหรับงาน Aerospace ที่มีอายุการใช้งานยาวนานและประสิทธิภาพสูง อีกทั้ง บริการหลังการขายแบบ “One Stop Service” ที่ยอดเยี่ยม เพราะหากเกิดคำถามในการใช้งานเครื่องจักร ทาง Min Sen Machinery  ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคให้คำแนะนำตลอดเวลา  และบางครั้งการทำงานด้านอุตสาหกรรมจะต้องทำงาน 24 ชั่วโมง ก็อาจมีปัญหาเครื่องจักรขัดข้อง ทาง Mazak สามารถส่งคนมาแก้ไขปัญหาให้ได้โดยไม่ทำให้เกิด Down-time ในการทำงาน  

 

“ความร่วมมือ” กุญแจแห่งการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอากาศยาน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ Lenso Aerospace ได้ร่วมมือกับสถาบันยานยนต์, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI), สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai Subcontracting Promotion Association), ภาคมหาวิทยาลัย, ภาคธนาคาร, รวมถึงกลุ่ม consultant ด้านต่าง ๆ  เพื่อที่จะพัฒนาผู้ประกอบการ SME ไทยให้ได้มาตรฐานการผลิตของธุรกิจ aerospace สากล โดยเริ่มจากการออกแบบโมเดลต้นแบบที่จะนำไปพัฒนา Supplier รายอื่น ๆ  เพื่อขยายตลาด และนำ Demand ขนาดใหญ่เข้ามาสู่ประเทศไทย  สร้าง Local content ให้ได้ 40% ของยอดส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้โมเดลดังกล่าว ยังสามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยยกระดับธุรกิจของตนเองให้เป็น “The world class manufacturer” ผลักดันประเทศไทยไปสู่ระดับโลก โดยมีอุตสาหกรรมอากาศยานเป็นตัวขับเคลื่อนมาตรฐานแห่งชาติ 

อุตสาหกรรมอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมที่มี Demand ขนาดใหญ่ การรับ Order เพียงลำพังบริษัทเดียวนั้น ทำให้ประเทศสูญเสียโอกาสจากการที่ไม่สามารถรองรับ Demand ใหญ่ ๆ ได้ จึงจำเป็นต้องมีความร่วมมือในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วน การจับมือกันจะช่วยให้สามารถวางแผน แบ่ง Demand เพิ่ม Capacity ที่จะรองรับลูกค้าได้ดีกว่า ดังนั้น Lenso Aerospace ในฐานะที่ได้เข้ามาวางรากฐานในธุรกิจนี้แล้ว จึงตัดสินใจที่จะเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อระหว่าง “Demand ขนาดใหญ่จาก ลูกค้า Aerospace ทั่วโลก” และ “ผู้ประกอบการไทยที่สนใจที่จะพัฒนาธุรกิจของตนเข้าสู่อุตสาหกรรมอากาศยาน”