“Transform องค์กร” เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืนด้วย “Corporate Foresight”

อัปเดตล่าสุด 26 มี.ค. 2562
  • Share :
  • 1,078 Reads   

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงในทุกด้านทั้งระดับโลกและระดับประเทศ ส่งผลให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของลูกค้าและคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนกฏระเบียบและนโยบายทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะเรื่อง Disruptive Technology เช่น The Internet of Things Advanced Robotic Cloud Technology และ Mobile Internet เป็นต้น

จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ทุกองค์กรต้องเผชิญความท้าทายด้านต่างๆ ที่ไม่เคยเจอมาก่อน ต้องคิดบริหารและปรับตัว เพื่อทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในอนาคต องค์กรใดที่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง อาจส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง หรือเลวร้ายที่สุดก็คือการล่มสลาย

Corporate Foresight จึงกลายเป็นเครื่องมือการจัดการที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจ คาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ และกำหนด Transformation Change Strategies เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในอนาคต  โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ

1. Environmental Scanning
เริ่มจากองค์กรจะต้องสแกนและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่สำคัญต่อผลการดำเนินงานและขีดความสามารถในการแข่งขันเช่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลกและประเทศไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พฤติกรรมของผู้บริโภคและสังคมที่เปลี่ยนไป การเกิดขึ้นของ social media การขยายตัวของเมืองตามแนวรถไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเกิดขึ้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไม่ว่าจะเป็น New S Curve Smart Farmer EEC เมืองการบินครบวงจร ตลอดจนนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น โดยการสแกนให้เน้นสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อความสำเร็จ เป้าหมายและวิสัยทัศน์องค์กร

2. Strategic Thinking
ขั้นตอนต่อมาเป็นการคิดและวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อ Performance และความสำเร็จองค์กรอย่างไร กรณีมีผลกระทบเชิงลบก็จะถือว่าเป็นภัยคุกคามหรือความเสี่ยงขององค์กรที่ต้องจัดการ (Enterprise Risk Management หรือ ERM) ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงหลายๆ เรื่องก็จะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อองค์กร ก่อให้เกิด Strategic Opportunity อันนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมด้านต่างๆ เช่น Product & Service Innovation, Process Innovation, Business Model Innovation เป็นต้น โดยในขั้นตอนนี้องค์กรจะได้มาซึ่ง Strategic Option จำนวนมากที่มาจากแนวคิดที่จะ เห็นประโยชน์จากโอกาสเพื่อเอาชนะภัยคุกคามให้ได้นั่นเอง (Take benefit from the Opportunity and Overcome the Threat)

3. Strategic Decision Making
ขั้นตอนนี้ผู้นำองค์กรและทีมกลยุทธ์องค์กรต้องพิจารณาและตัดสินใจจาก Strategic Options ที่มีอยู่มากมายว่าจะตัดสินใจและเลือก Strategic option ใดไปสู่การกำหนดเป็นทิศทางและกลยุทธ์ในอนาคตที่องค์กรต้องการ ซึ่งขั้นตอนนี้จะได้มาซึ่ง Case for Change หรือ Transformation Change ขององค์กร ถือเป็น Preferred Future ขององค์กร

4. Strategic Planning
ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการวางแผนกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุ Preferred Future ขององค์กรที่ได้มีการตัดสินใจและกำหนดไว้จากขั้นตอนที่ 3 ซึ่งขั้นตอนนี้จะได้มาซึ่งกลยุทธ์ แผนกลยุทธ์ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives) และ Action Plans ที่เหมาะสม
Corporate Foresight จึงเป็นเครื่องมือการจัดการที่เป็นระบบและช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวและได้มาซึ่งแผนกลยุทธ์ขององค์กรที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในอนาคตและยั่งยืน

อ้างอิง:
Disruptive technologies: Advances that will transform life, business, and the global economy; https://www.mckinsey.com/business-functions/digital-mckinsey/our-insights/disruptive-technologies

สนับสนุนบทความโดย: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ www.ftpi.or.th