M Report
อีเวนต์อื่นๆ

TGI จัดอบรมหลักสูตรพื้นฐานการวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน วันที่ 18-19 มิ.ย. 67

อัปเดตล่าสุด 28 เม.ย. 2567
  • Share :
  • 392 Reads   

สถาบันไทย-เยอรมัน Thai-German Institute จัดฝีกอบรมหลักสูตรพื้นฐานการวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน ในวันที่ 18-19 มิถุนายน 2567 ณ Chonburi Center รับจำนวนจำกัด 12 ท่านเท่านั้น **มีค่าอบรม 11,000 บาท/ท่าน**

หลักสูตรพื้นฐานการวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน

วัตถุประสงค์

  • เข้าใจแนวคิดของงานบำรุงรักษาและสามารถประยุกต์ใช้ในงานจริงได้
  • เข้าใจแนวคิดของงานบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์และกฎของการติดตามสภาพเครื่องจักร
  • เข้าใจหลักการ แนวคิด และประโยชน์ของการสั่นสะเทือน
  • สามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดการสั่นสะเทือนเพื่อตรวจวัดการสั่นสะเทือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เข้าใจพื้นฐานของการประเมินสภาพ การแจ้งเตือนและแนวโน้มได้
  • สามารถวิเคราะห์การสั่นสะเทือนของปัญหาพื้นฐานได้

ผู้ควรเข้ารับการอบรม
ผู้ที่ปฏิบัติงาน หรือมีประสบการณ์ในงานอุตสาหกรรมทั่วไปทางด้านบำรุงรักษา และที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ผู้ที่ปฏิบัติงาน หรือมีประสบการณ์ในงานอุตสาหกรรมทั่วไปทางด้านบำรุงรักษา และที่เกี่ยวข้อง

เครื่องจักร/อุปกรณ์หลัก ประกอบการฝึกอบรม
1) ชุดเครื่องจักรจำลองการสั่นสะเทือน
2) เครื่องมือวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน
3) โปรแกรมวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน

เนื้อหาหลักสูตร

1. การจัดการงานบำรุงรักษา (Maintenance Management)

1.1 มาตรการบำรุงรักษาเครื่องจักร
1.2 การวางกลยุทธ์ในการบำรุงรักษาเครื่องจักร
1.3 เทคโนโลยีที่ใช้ในการบำรุงรักษาเครื่องจักร

2. คุณลักษณะของเครื่องจักร (Machine Characteristics)

2.1 คุณลักษณะโดยทั่วไปของเครื่องจักร
2.2 การพิจารณาพฤติกรรมของเครื่องจักร
2.3 การตั้งสมมติฐานอาการที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องจักร

3. พื้นฐานของการสั่นสะเทือน (Fundamental of Vibration)

3.1 นิยามของความสั่นสะเทือน
3.2 องค์ประกอบทางกลของการสั่นสะเทือน
3.3 นิยามของความถี่และการนำไปใช้งาน
3.4 นิยามของขนาดการสั่นสะเทือนและการนำไปใช้งาน
3.5 นิยามของเฟสการเคลื่อนที่และการนำไปใช้งาน

4. การวัดการสั่นสะเทือน (Vibration Measurement)

4.1 การเลือกจุดวัดการสั่นสะเทือนที่เหมาะสม
4.2 การเลือกหัววัดการสั่นสะเทือน
4.3 การกำหนดพารามิเตอร์ในการวัดการสั่นสะเทือนเบื้องต้น

5. การประเมินความรุนแรง (Machine Evaluation)

5.1 หลักการประเมินความรุนแรง
5.2 มาตรฐาน ISO 10816 และ ISO 7919
5.3 วิธีการใช้งาน ISO

6. พื้นฐานการวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือน (Basic of Vibration Analysis)

6.1 หลักการวิเคราะห์การสั่นสะเทือนเบื้องต้น
6.2 วิเคราะห์ปัญหา Unbalance, Misalignment, Looseness, Bearing defects, Gear defect


ระยะเวลาการอบรม : 2 วัน

วันที่อบรม : 18-19 มิถุนายน 2567

จำนวนผู้เข้าอบรม : 12 คน

ค่าอบรม/ท่าน : 11,000 บาท (ไม่รวม Vat 7%)

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ : สถาบันไทย-เยอรมัน
โทร : 038-215033-39, 033-266040-44
E-mail : [email protected]

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH