รับสมัคร "บุคลากรสถานประกอบการ" ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Lean IoT ในการบริหาร์จัดการโรงงานเพื่อเพิ่มผลิตภาพ" ไม่มีค่าใช้จ่าย จำกัดจำนวน
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) ขอเชิญบุคลากรในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Lean IoT ในการบริหารจัดการโรงงานเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Lean IoT Plant Management and Execution : LIPE)
โดยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำระบบ IoT มาประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอันเป็นการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของภาคการผลิตในประเทศ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัตการนี้จะจัดขึ้นระหว่างเดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2564 อบรมทั้งหมด 8 รุ่น รวมระยะเวลา 3 วันต่อ 1 รุ่น ณ สถาบันไทย-เยอรมัน (ศูนย์ชลบุรี หรือ ศูนย์กรุงเทพฯ กล้วยน้ำไท)
กลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
- ผู้ประกอบการ/ผู้บริหาร ภายในโรงงานอุตสาหกรรม
- หัวหน้างาน ผู้จัดการ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกรในสายการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรม
การดำเนินการคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรม
- สถานประกอบการต้องอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต
- สถานประกอบการต้องตั้งอยู่ในเขตภาคกลาง หรือ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง)
- สามารถส่งผู้เข้าอบรมได้ไม่เกิน 2 คน/สถานประกอบการ
- สถานประกอบการที่มีแผนจะปรับเปลี่ยนระบบหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
อบรมทั้งหมด 8 รุ่น รวมระยะเวลา 3 วันต่อ 1 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ 1 : 6 - 8 ตุลาคม 2564
รุ่นที่ 2 : 19 - 21 ตุลาคม 2564
รุ่นที่ 3 : 26 - 28 ตุลาคม 2564
รุ่นที่ 4 : 2 - 4 พฤศจิกายน 2564
รุ่นที่ 5 : 9 - 11 พฤศจิกายน 2564
รุ่นที่ 6 : 30 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2564
รุ่นที่ 7 : 14 - 16 ธันวาคม 2564
รุ่นที่ 8 : 21 - 23 ธันวาคม 2564
กำหนดการ
- 08.30-12.00 น. : ความสำคัญของระบบ IoT เพื่อการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการและสายการผลิต และ Lean Management เพื่อ Lean Manufacturing และ TPM , โครงสร้างและหน้าที่ในการบริหารโรงงานเพื่อการปรับไปสู่การเป็น Smart and Slim Digitalize Plant
- 13.00-17.00 น. : การเลือกใช้ระบบ Sensor สำหรับรวบรวมข้อมูล IoT และเครื่องมือต่าง ๆ รวมทั้งการติดตั้งและ Set up
- 08.30-12.00 น. : การส่งข้อมูลผ่านระบบ IoT (Data Transfer)
- 13.00-17.00 น. : การแสดงข้อมูล (Data Visualization) ที่จำเป็นในการปรับปรงกระบวนการผลิด
- 08.30-12.00 น. : การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลำดับความสำคัญของวิธีการ และการใช้ Simulation เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงกระบวนการผลิต
- 13.00-17.00 น. : วิเคราะห์แนวทางการปรับปรงผลิตภาพสายการผลิต , ประเมินและสรุปผลการอบรม (Conclusion)
หากคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด สามารถเข้าร่วมได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
สมัครด่วน! รับจำนวนจำกัด
สมัครออนไลน์ : คลิกที่นี่
ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ และสถานที่ฝึกอบรม เพื่อให้เป็นไปตาม มาตราการของภาครัฐในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่ : แผนกลูกค้าสัมพันธ์
โทร. 061-825-1030 หรือ 038-2150-3339 กด 1
Email: [email protected]
Website: www.tgi.or.th
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- บทเรียน 'หมิงตี้ เคมีคอล' สู่มาตรการป้องกันไฟไหม้โรงงาน ระยะสั้น-ยาว
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไทย ปี 2564
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- อุตสาหกรรม 4.0 การผลิตแห่งอนาคต
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th