สถาบันยานยนต์ เปิดอบรมหลักสูตร “การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ” 25-26 มี.ค. 64 นี้
สถาบันยานยนต์ จัดฝึกอบรมหลักสูตร “การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ” (FMEA Requirement and Implementation Training Course:1st Editon 2019- AIAG-VDA) หลักสูตรที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ความเสี่ยงหรือการป้องกันความผิดพลาดในการดำเนินกิจกรรมให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุดและคำนึงถึงความปลอดภัย ในวันพฤหัสบดีและศุกร์ที่ 25-26 มีนาคม 2564 ณ สถาบันยานยนต์
โดย FMEA เป็นการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นเมื่อชิ้นงานเข้าสู่กระบวนการผลิต ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Design) และกระบวนการผลิต (Process) ซึ่งบุคลากรควรที่จะเข้าใจหลักการการวิเคราะห์ทั้ง PFMEA และ DFMEA โดยเนื้อหาในหลักสูตรของ FMEA จะช่วยให้องค์กรมีความรู้และสามารถนำความรู้ไปวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบอย่างเป็นขั้นตอน รวมทั้งสามารถหาวิธีการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลที่จะได้รับจากการฝึกอบรม
- รับทราบและเข้าใจในรายละเอียดการทำกิจกรรม Process FMEA ในข้อกำหนดฉบับใหม่
- ลดปัญหาความผิดพลาดในการจัดทำเอกสาร Process FMEA
- รับทราบและเข้าใจเทคนิคและหลักการ-แนวคิดในการพัฒนากระบวนการผลิต ที่มีการป้องกันข้อบกพร่องที่อาจเกิดจากการออกแบบที่ไม่เหมาะสม
รายละเอียดเนื้อหาฝึกอบรม
วันที่ 1
1.1 จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ (FMEA)
- วัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนข้อกำหนด AIAG-VDA FMEA
- จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบในกระบวนการออกแบบ (Design FMEA)
- จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบในกระบวนการผลิต (Process FMEA)
- วัตถุประสงค์และ ขอบเขตการจัดทำเอกสาร FMEA
1.2 แนวคิดการวิเคราะห์ FMEA แบบ Six Step Process สำหรับ Process FMEA และ Design FMEA
- Step # 1 : Scope Definition
- Step # 2 : Structure analysis
- Step # 3 : Function Analysis
- Step # 4 Failure analysis
- Step # 5 Risk analysis
- Step # 6 Optimization
1.3 ขั้นตอนการทำ Process FMEA
- 1stStep: Scope Definition: พิจารณากระบวนการทั้งหมดภายในโรงงานที่สามารถส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
- 2ndStep: Structure Analysis>: การวิเคราะห์โครงสร้างจะถ่ายโอนข้อมูลที่รวบรวมมาในขั้นตอนการกำหนดขอบเขตเพื่อให้เห็นภาพความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของกระบวนการผลิต
- 3rdStep: Function Analysis: เป็นการวิเคราะห์ถึงระบบการทำงานของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการจะมั่นใจได้ โดยการจัดอธิบายถึงกิจกรรมและวัตถุประสงค์สำคัญ ด้านสมรรถนะของผลิตภัณฑ์
- 4thStep: Failure Analysis: ความล้มเหลวของฟังก์ชันต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นที่ไม่สอดคล้องข้อกำหนดความต้องการที่ระบุไว้ในขั้นตอนที่ 3
1.4 การจัดลำดับความเสี่ยง SOD (SOD Ranking chart)
- ในขั้นตอนนี้มีการกำหนดวิธีป้องกันและควบคุมการตรวจจับรวมถึงการจัดอันดับความรุนแรงการเกิดและการตรวจสอบ จะมีการใช้แนวทางใหม่สำหรับการจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการ
- หลักเกณฑ์การประเมิน Process FMES
- การประเมินความรุนแรง (Severity)
- การประเมินโอกาสการเกิดขึ้น (Occurrence)
- การประเมินความสามารถการตรวจพบ (Detection)
วันที่ 2
2.1 วิธีการกำหนด Action Priority (AP)
วัตถุประสงค์หลักของการเพิ่มประสิทธิภาพคือการพัฒนากิจกรรมที่ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าโดยการปรับปรุงการออกแบบหรือกระบวนการ FMEA สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสำหรับการออกแบบหรือกระบวนการ
2.2 กิจกรรมกลุ่มการจัดทำ PFMEA
- เปรียบเทียบ Worksheet หรือแบบฟอรมระหวาง Process FMEA 4 edition กับ New edition
- การเปลี่ยน (Transition) Process FMEA 4 edition ไปสูForm worksheet กับ New edition และแบ่งกลุ่มลงมือทดลองปฏิบัติ
- นำเสนอผลการทดลองปฏิบัติ และวิทยากรให้ข้อเสนอ
2.3 การประยุกต์ใช้ข้อกำหนดลูกค้ากับ การประเมิน FMEA New Version
- การจัดทำเอกสาร Process FMEA และการเสนออนุมัติ
- การควบคุมและแจกจ่ายเอกสาร FMEA
- การสื่อสารถึงผลดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยง
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
- ผู้บริหารระดับกลาง วิศวกร ผู้เกี่ยวข้องกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และหรือกระบวนการผลิต ทีมพัฒนาผู้ส่งมอบ แผนกจัดซื้อ ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายผลิต และผู้สนใจทั่วไป
ระยะเวลาการอบรม : จำนวน 2 วัน
Download ตารางอบรมประจำปี 2564 คลิกที่นี่
Download ใบสมัครเข้าอบรม คลิกที่นี่
มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน 4,000 บาท/คน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
***วันและเวลาการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม***
กรุณาส่งใบสมัครเข้าร่วมโครงการและใบสมัครมายัง สถาบันยานยนต์ โดยผ่านช่องทาง 2 ช่องทางดังนี้
1. Fax : 0-2712-2415
2. E-mail : [email protected] , [email protected] , [email protected] , [email protected]
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel: 0-2712-2414 ต่อ 6701-3