M Report
อีเวนต์อื่นๆ

‘AUTOMATION EXPO 2019’ ปักธง EEC พร้อมดัน SME ทั่วไทยเข้าถึงเทคโนโลยีอัตโนมัติ

อัปเดตล่าสุด 10 ม.ค. 2562
  • Share :
  • 365 Reads   

งานแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันระบบอัตโนมัติที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกครั้งที่ 2 ปีนี้พบกับสินค้าสำหรับระบบอัตโนมัติ (Automation) มากมาย อาทิ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม อุปกรณ์ออโตเมชัน ระบบการควบคุมการผลิต-แรงงาน ระบบคลังสินค้า บาร์โค้ด จากซัพพลายเออร์ชั้นนำกว่า 80 รายที่นำไปจัดแสดงเต็มพื้นที่กว่า 5,000 ตร.ม. การสัมมนาฟรี 45 หัวข้อจากวิทยากรชั้นนำของเมืองไทย และการสาธิตเชิงปฏิบัติการของระบบการผลิตแบบดิจิทัล เตรียมพร้อมยกระดับสู่ SMART FACTORY

Automation Expo จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุช พัทยา จ.ชลบุรี

คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสายงานส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรม กล่าวถึงระบบอัตโนมัติ (Automation) ซึ่งจะมีผลมากยิ่งขึ้นต่อภาคอุตสาหกรรมในอนาคตว่า “การเกิด Disruptive Technology ในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว เพิ่มประสิทธิภาพในภาคการผลิตและพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนำนวัตกรรมที่ทันสมัย เช่น ระบบอัติโนมัติ (Automation) เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต พร้อมให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) นำเทคโนโลยีด้านสารสนเทศมาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ธุรกิจก้าวผ่านวิกฤตและเกิดความยั่งยืนได้”


ทั้งนี้ จากผลการสำรวจ CEO Survey จากนิด้าโพล” ร่วมกับ “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” (ส.อ.ท.)  ล่าสุดระบุว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจอีอีซีจะเป็นตัวชูโรงดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ถึง 64.55% ฟันธงว่าปัจจัยที่ส่งผลดึงดูดการลงทุนทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากนานาชาติเข้ามาในไทย คือ ความคืบหน้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐที่เข้าสู่ช่วงการก่อสร้างมากขึ้น ส่วนแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยในปี 2562 คือ นโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
 
ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอภิมหาโปรเจกที่รัฐบาลตั้งใจจะใช้เป็นแรงดึงดูดเม็ดเงินลงทุนและเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ โดยขณะนี้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้อนุมัติแผนปฏิบัติการ 8 แผนงาน ประกอบด้วย แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ แผนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือสัตหีบ และบริหารโลจิสติกส์ต่อเนื่อง, แผนการพัฒนา 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย, แผนการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว, การพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ และศูนย์กลางการเงิน, แผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา วิจัย และเทคโนโลยี, แผนการพัฒนาเมืองใหม่ และชุมชน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้กำหนดโครงการจำเป็นและเร่งด่วนขึ้นมา (ต้องเร่งทำก่อน) เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เป็นเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 และโครงการรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ รวมถึงการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซีไอ และการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ อีอีซีดี ฯลฯ

อย่างไรก็ดี ยังมีการรับรู้ที่ไม่ถูกต้องนักเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติและอีอีซี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กหรือ SME นั่นคือ บางรายคิดว่านี่เป็นเฉพาะเรื่องของธุรกิจในอีอีซีที่จะได้รับผล บางรายคิดว่าการลงทุนหรือการปรับตัวเป็นเรื่องของ Large Enterprise การลงทุนคือต้องซื้อหุ่นยนต์ราคาหลายล้านโดยไม่รู้จะคืนทุนเมื่อใด หลายรายรอลอกสูตรสำเร็จจากคู่แข่ง หรือหนักหน่อยก็เพียงแต่เฝ้ารอว่าเมื่อไหร่เศรษฐกิจจะดีขึ้น จะมีออเดอร์ใหม่ ๆ เข้ามาจากต่างประเทศหรือโครงการขนาดใหญ่ ฯลฯ
SME ไทยวันนี้จะมัวแต่รอไม่ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในอีอีซีหรือไม่ จะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันระหว่างประเทศหรือยัง แนวคิด Industry 4.0 ของเยอรมนีหรือ Connected Industry ของญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป การปรับตัวไม่ใช่แค่เรื่องหุ่นยนต์และสามารถเริ่มได้เร็วกว่าที่คิด

สำหรับการปรับตัวของ SME ไทยที่เราอยากเห็นอาจเป็นได้ด้วยแรงผลักดันต่าง ๆ เช่น การตลาด เทคโนโลยี หรือประสิทธิภาพ

ด้านการตลาด คือให้เริ่มก้าวแรกของการหลุดจากวงจร OEM ให้เร็วที่สุด จะไปในทาง ODM หรือ OBM ก็ได้ ขอแค่เริ่มก้าวแรกเดี๋ยวหนทางจะเกิดแน่นอน ขอเพียงอดทนและให้เวลากับมัน การเดินทางนี้ต้องเสาอากาศกว้างไกล รู้จักทั้งคู่แข่ง คู่ค้า ลูกค้า และหน่วยงานวิจัยสนับสนุนต่าง ๆ ให้มาก ก็จะช่วยลดภาระหรือความเสี่ยงในการลงทุนด้านการพัฒนาสินค้าด้วยตัวเอง

ด้านเทคโนโลยี ปฏิเสธไม่ได้ว่าการผลิตในยุคใหม่นี้บางอย่างต้องลงทุนเทคโนโลยีจริง ๆ เช่น การผลิตสินค้าที่ precision สูงมาก ๆ จนเครื่องจักรเดิมไม่อาจรองรับหรือทำมาตรฐานได้ไม่สูงพอ ไปจนถึงระบบการผลิตที่เครื่องจักรเดิมทำไม่ได้เลย การเดินทางนี้อาจเสี่ยงหน่อยเพราะต้องอาศัยความเร็ว แต่ก็เป็น high-risk high-return เพราะมีโอกาสกำไรและสร้างความได้เปรียบแบบ first-comer advantage

ด้านประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่ควรตัดสินใจลงทุนได้ง่ายที่สุด ซึ่งที่จริงผู้ประกอบการไทยหลายรายทำมาตลอด โดยเฉพาะ OEM ที่ส่งงานลูกค้าต่างประเทศ เพราะต้องควบคุมต้นทุนให้แข่งขันได้ แต่เมื่อคุมไปได้แล้วครั้งหนึ่งก็ยังไม่พอยังโดนกดลงอีกทุกปี ๆ แต่สำหรับ SME แทบจะยังไม่มีการปรับใช้วิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดของเสียในการผลิตเลย ยังอาศัยมนุษย์ในงานที่มนุษย์เองก็มีขีดจำกัดหรือใช้นโยบายรัดเข็มขัดเพียงอย่างเดียว องค์ความรู้ที่เป็นโมเดลการจัดการด้านประสิทธิภาพนั้นมีมานานแล้วและมีอยู่มากมาย เช่นเรื่องเกี่ยวกับ Lean ซึ่ง SME ไทยต้องนำมาใช้อย่างเป็นระบบเสียที แม้เราจะเล็กแต่ต้องเป็นเล็กพริกขี้หนู SME จะไม่ได้หมายถึงแค่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่ต้องเป็น Smart Management Enterprise

ผู้ประกอบการต้องลองศึกษาและเลือกว่าประสิทธิภาพด้านใดที่จำเป็นต่อกิจการ เช่น เลือกว่าต้องการลดของเสียจากการผลิต ลดเวลาในคลังสินค้าหรือการลำเลียง ลดความเสี่ยงจากการ turnover ของคนงาน ลดพลังงาน หรือเลือกเพิ่มความสามารถในการ monitor การผลิตแบบ real time ฯลฯ แง่มุมเหล่านี้สามารถเริ่มได้ไม่ยาก ลงทุนไม่มาก อาจคืนทุนได้ในระยะกลางและคุ้มค่าในระยะยาว

ขอย้ำว่าผู้ประกอบการไทยต้องเริ่มเรียนรู้ ลงทุนเวลากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เมื่อเข้าใจแล้วต้องกล้าลงทุน อย่ารอให้ชัวร์ 100% เพราะคู่แข่งจะแซงไปหมด

สุดท้าย คุณเกรียงไกรได้กล่าวถึงงาน AUTOMATION EXPO ว่ามีกลยุทธ์ที่น่าสนใจ เลือก automation technology เป็น core ของการจัดงาน ซึ่งยังสามารถต่อยอดได้อีกหลายมิติ อีกทั้งเริ่มต้นด้วยการจับพื้นที่ใหม่ที่อยู่ในกระแส EEC ซึ่งแม้จะไม่ใช่ center เหมือนในกรุงเทพฯ แต่ด้วยเป้าหมายที่อยากพัฒนา SME ทั่วประเทศก็นับเป็นการเริ่มต้นที่น่าชื่นชม และหวังว่าจะขยายการจัดงานได้ทั้งขนาดและปริมาณในอนาคต เพื่อประเทศไทยเป็นศูนย์กลางระบบอัตโนมัติได้จริง ๆ ในวันหน้า วันนี้เริ่มจากเป็นผู้ใช้ที่เชี่ยวชาญกันก่อน

คุณธีระ กิตติธีรพรชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีนเวิลด์ พับลิเคชั่น จำกัด ในฐานะผู้จัดงาน AUTOMATION EXPO 2019 งานแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันระบบอัตโนมัติที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกครั้งที่ 2 ปีนี้พบกับสินค้าสำหรับระบบอัตโนมัติ (Automation) มากมาย อาทิ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม อุปกรณ์ออโตเมชัน ระบบการควบคุมการผลิต-แรงงาน ระบบคลังสินค้าอัจฉริยะ บาร์โค้ด จากซัพพลายเออร์ชั้นนำ กว่า 80 รายที่นำไปจัดแสดงเต็มพื้นที่กว่า 5,000 ตร.ม. การสัมมนาฟรี 45 หัวข้อจากวิทยากรชั้นนำของเมืองไทย และโซน iN-EXPERIENCE ที่เกิดจากการจับมือกันของเจ้าของเทคโนโลยีเพื่อนำเสนอประสบการณ์และวิสัยทัศน์ด้าน Digital Manufacturing แก่ผู้ประกอบการในการลงทุนเพื่อยกระดับการผลิต นอกจากนี้ยังมีแคมเปญ Cash Back สูงสุด 2% สำหรับผู้บริหารและฝ่ายจัดซื้อที่สะสมยอดซื้อจาก Exhibitors รวมถึงร่วมลุ้น lucky draw ชิงโชคอีกมากมาย