สถาบันยานยนต์ พร้อมเผย “การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ FMEA” ผ่านการอบรม สนใจส่งใบสมัครภายในวันที่ 14 ส.ค
การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA) เป็นข้อกำหนดหลักในขณะนี้ ที่ผู้ผลิต และส่งมอบในอุตสาหกรรมยานยนต์ ในองค์กรภายใต้ระบบบริหารคุณภาพ ISO/IATF 16949 ใช้ในการบริหารและวางแผนระบบการผลิตของผู้ส่งมอบ โดยใช้กลวิธีเชิงวิเคราะห์ในขณะการออกแบบผลิตภัณฑ์ DFMEA (องค์กรที่มีหน้าที่ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์) และ/หรือ ในขณะการออกแบบกระบวนการ PFMEA (ทุกองค์กรที่มีการผลิตและบริการ) โดยผู้เกี่ยวข้อง (คณะทำงานที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหลายแผนก) ร่วมกันประชุมในการนำกลวิธีวิเคราะห์ไปใช้เป็นแนวทางเพื่อประกันแต่เนิ่นๆ ต่อขอบเขตที่อาจเป็นไปได้ว่าข้อขัดข้องด้านศักยภาพและ กลไก/สาเหตุที่ก่อตัวขึ้นในการสร้างปัญหา จะได้รับการพิจารณาและกำหนดมาตรการดำเนินการ เพื่อให้คุณภาพของชิ้นส่วนที่ได้รับมอบมีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อพนักงานประกอบของลูกค้าและผู้ใช้ (ผู้ขับขี่ยานยนต์) และ สอดรับกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
- หลักการวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA) และนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้ อย่างถูกต้อง
- ความแตกต่างระหว่าง DFMEA และ PFMEA
- เข้าใจหลักการกำหนด AP (Action priority) แทนการคำนวณผลระดับคะแนนความเสี่ยง (Risk Priority Number)
- เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของ คณะทำงาน (Crosse Function Team ) การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA) และใครบ้างที่ควรร่วมเป็นคณะทำงาน
หัวข้อการฝึกอบรม
- แนะนำการวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ (FMEA)
- รายละเอียดความต้องการ DFMEA การสร้างเอกสาร และทดลองปฏิบัติ ที่ครอบคลุม 6 steps ได้แก่ scope definition, structure analysis, function analysis, failure analysis, risk analysis และ optimization
- รายละเอียดความต้องการ PFMEA การสร้างเอกสาร และทดลองปฏิบัติ ที่ครอบคลุม 6 steps ได้แก่ scope definition, structure analysis, function analysis, failure analysis, risk analysis และ optimization
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารการผลิตและคุณภาพ เช่น วิศวกรรม,ฝ่ายผลิต, ควบคุมคุณภาพ, ประกันคุณภาพ,วางแผนการผลิต,การตลาด,จัดซื้อ,คลังสินค้า เป็นต้น
ระยะเวลาการอบรม จำนวน 2 วัน
กรุณาส่งใบสมัครภายในวันที่ 14 สิงหาคม 2562
สนใจสามารถสอบถามกำหนดการการฝึกอบรมและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมได้ที่ : แผนกพัฒนาผู้ประกอบการสถาบันยานยนต์ อีเมล : [email protected] หรือ โทร. 02-712-2414 ต่อ 6701-6702