อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย 2564 สถานการณ์และแนวโน้ม ดัชนีผลผลิตไตรมาสแรก ลดลงเล็กน้อยเทียบปลายปี
สถานการณ์ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ปี 2564 ประจำไตรมาสที่ 1 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2 จากข้อมูลโดยกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
Advertisement | |
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีผลผลิตของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 อยู่ที่ 98.8 โดยลดลงร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Printer, แผงวงจร (PWB), Semiconductor devices transistor, วงจรรวม (IC) และ HDD โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.5, 17.9, 12.6, 10.9 และ 3.3 ตามลำดับ
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ วงจรพิมพ์ (PCBA) โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 14.5 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผล กระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิต อย่างไรก็ตาม PCBA ยังจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 10,012.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.7 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
-
สินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ โทรศัพท์และอุปกรณ์วงจรพิมพ์ วงจรรวม (IC) และ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนําและส่วนประกอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.1, 36.5 18.6 และ 1.6 ตามลำดับ
-
สินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องส่งสำหรับวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ และเครื่องส่งเครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 48.4 และ 25.3 ตามลำดับ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2563
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2563
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 3/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2563
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 4/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 1/2564
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รวมมูลค่า 9,917.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เอเชีย ยุโรป และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8, 22.6 และ 16.9 ตามลำดับ
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำและส่วนประกอบ HDD และวงจรรวม (IC) เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.2, 25.8, 20.6 และ 15.3 ตามลำดับ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 คาดว่าจะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 3.0และ 5.0 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดส่งออกโลกและประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และ IoT ทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากในประเทศ และต่างประเทศเพิ่มขึ้น
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- นิยามใหม่ SME ปี 63 ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- 8 แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต (8 Industry’s Mega Trend)
- 10 รับเหมาฝ่าวิกฤตโกยรายได้ปี”62 ITD ยืนหนึ่ง “ซิโน-ไทยฯ” แซงหน้า “ช.การช่าง”
- บอร์กวอร์เนอร์ (BorgWarner) ฉลองเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
- เซ็นแล้ว! 'อู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก' เฟสแรกเสร็จปี 67
- ยอดขายรถยนต์เมษายน 2564
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
ติดตาม M Report ทุกวันได้ที่ www.mreport.co.th และ Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH