ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างหันมาให้ความสำคัญทางด้านพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดตามเทรนด์รักษ์โลกกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากพลังงานดังกล่าวเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกหลักที่ทั่วโลกเลือกใช้ รวมถึงผู้ประกอบการยังให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ ๆ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ซึ่งสอดคล้องกับรายงาน Solar Cells and Modules-Global Market Trajectory & Analytics ของ Global Industry Analysts Inc., (GIA) ที่ได้มีการคาดการณ์ว่า ตลาดเซลล์แสงอาทิตย์และโมดูลทั่วโลกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 127.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 20261
1https://www.prnewswire.com/news-releases/global-solar-cells-and-modules-market-to-reach-127-7-billion-by-2026--301290831.html
ประเภทของโซลาร์เซลล์
สำหรับเทคโนโลยีของเซลล์แสงอาทิตย์หรือแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในปัจจุบันนั้น ร้อยละ 90 ทำจากสารกึ่งตัวนำซิลิคอน (Silicon) โดยเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีการวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดและได้รับความนิยมจากผู้ใช้งาน 3 ประเภทหลัก ๆ มีดังนี้2
2กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
ภาพที่ 1 แผงโซลาร์เซลล์ประเภทต่างๆ
ที่มา: https://solarmagazine.com/solar-panels/
1) แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง ด้วยการนำซิลิคอนไปผ่านกระบวนการทำให้เป็นก้อนและนำไปหลอมละลายเพื่อให้ออกมาเป็นแท่งผลึกเดี่ยวขนาดใหญ่หรือเป็นแท่งทรงกระบอก หลังจากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยม (เวเฟอร์) พร้อมทั้งลบมุมทั้งสี่ออกเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์เป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพในผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดและมีราคาสูงสุดเมื่อเทียบกับราคาแผงโซลาร์เซลล์ชนิดอื่น
2) แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) ทำมาจากผลึกซิลิคอน โดยทั่วไปจะเรียกว่า โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline: p-Si) หรือมัลติคริสตัลไลน์ (Multi-crystalline: mc-Si) โดยนำไปหลอมละลาย เทลงในโมลด์หรือแม่แบบที่เป็นสี่เหลี่ยมและเมื่อซิลิคอนเย็นตัวลงแล้ว จึงจะนำมาตัดเป็นแผ่นบาง ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและไม่มีการตัดมุม ทั้งนี้ แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์เป็นชนิดที่มีขั้นตอนกระบวนการในการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและมีการใช้ปริมาณซิลิคอนในการผลิตน้อยกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์
3) แผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells) มีกระบวนการการผลิตที่แตกต่างจากแผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์และชนิดโพลีคริสตัลไลน์อย่างสิ้นเชิง โดยการผลิตโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบางนั้น จะนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงให้เป็นกระแสไฟฟ้าได้มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น ซึ่งสารที่นำมาฉาบก็มีหลายชนิดและมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดวัสดุที่นำมาใช้ เช่น Amorphous silicon (a-Si), Cadmium telluride (CdTe), Copper indium gallium selenide (CIS/CIGS) และ Organic photovoltaic cells (OPC) เป็นต้น ทั้งนี้ แผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบางเป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่สามารถผลิตได้ง่ายและมีราคาถูกกว่าชนิดอื่น แต่อย่างไรก็ตาม แผงโซลาร์เซลล์ชนิดดังกล่าวกลับเป็นชนิดที่มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุด
ภาพรวมการใช้งานโซลาร์เซลล์ของโลก
รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกต่างก็เร่งผลักดันนโยบายทางด้านโซลาร์เซลล์ ทำให้ในปัจจุบันการติดตั้งระบบการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยกำลังการติดตั้งสะสมทั่วโลกทั้งหมด ณ สิ้นปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 714 กิกะวัตต์ (GW) ทั้งนี้ ประเทศ 5 อันดับแรก ที่มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์มากที่สุดในโลก ในปี 2020 ได้แก่3
1) จีน มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 254,355 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งจีนได้มีการตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เป็น 1,200 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2030 นอกจากนี้ ยังได้มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 การบริโภคพลังงานทดแทนในประเทศจีนจะมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 60 ของการบริโภคพลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดของจีน หรือคิดเป็นร้อยละ 86 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าของจีน4
ทั้งนี้ จีนถือเป็นผู้นำในตลาดสินค้าโซลาร์เซลล์ของโลก โดยได้รับอุปสงค์ภายในประเทศจากการเพิ่มกำลังผลิตของพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อควบคุมปัญหาด้านมลภาวะและอุปสงค์จากต่างประเทศ ได้แก่ เทรนด์พลังงานสะอาดที่กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก
2) สหรัฐฯ มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 75,572 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งสหรัฐฯ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอน ร้อยละ 80 ในภาคการผลิตไฟฟ้าภายในปี 2030 และมุ่งสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน 100% ภายในปี 2035 นอกจากนี้ The Solar Futures Study โดย Department of Energy ยังเผยว่า ในปี 2035 สหรัฐฯ จะมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ถึงร้อยละ 40 ของการผลิตไฟฟ้าในสหรัฐฯ ทั้งนี้ พลังงานแสงอาทิตย์จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนภาคพลังงานของสหรัฐฯ ให้เป็นพลังงานสะอาดและจะช่วยทำให้สหรัฐฯ สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนได้ในอนาคตอันใกล้อีกด้วย5
3) ญี่ปุ่น มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 67,000 เมกะวัตต์ (MW) โดยแหล่งพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้นตั้งแต่เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะในปี 2011 ทั้งนี้ กำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์ของญี่ปุ่นอาจสูงถึง 100 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2025 ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและต้นทุนโซลาร์เซลล์
4) เยอรมนี มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 53,783 เมกะวัตต์ (MW) โดยรัฐบาลเยอรมันได้เสนอให้เพิ่มเป้าหมายการติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็น 100 กิกะวัตต์ (GW) ในปี 2030 และแม้ว่าเยอรมันจะเป็นประเทศที่ตั้งอยู่พื้นที่ที่มีแดดน้อย แต่ร้อยละ 50 ของการใช้พลังงานทั้งหมดในประเทศมาจากแสงอาทิตย์และคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 65 ภายในปี 20306
5) อินเดีย มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 39,211 เมกะวัตต์ (MW) โดยอินเดียได้ตั้งเป้าหมายในการเพิ่มการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เป็น 280 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2030-2031 อีกด้วย7
สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่า ในปี 2020 ที่ผ่านมา กำลังผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน มีปริมาณรวม 12,005 เมกะวัตต์ (MW) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.3 โดยเป็นกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 2,979.4 เมกะวัตต์ (MW) หรือคิดเป็นร้อยละ 24.88
5https://edition.cnn.com/2021/09/08/politics/solar-energy-doe-report-climate/index.html
6http://www.energygreenplus.co.th/2021/06/18/5-อันดับประเทศที่มีกำลัง/
7Reuters, March 9, 2021. UPDATE 1- India to levy import tax on solar modules, cells from April 2022 - memo. และสํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี
8รายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทย 2563 โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
มูลค่าการค้าสินค้าโซลาร์เซลล์ของไทย
ที่มา: Trademap รวบรวมและวิเคราะห์โดยแผนกนโยบายและแผน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
จากกราฟที่ 1 (ทางซ้าย) มูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้าโฟโตวอลตาอิกเซลล์ที่ยังไม่ได้ประกอบ (HS 85414021) ของไทย ปี 2016-2020 แสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี 2018-2020 การนำเข้าสินค้าโฟโตวอลตาอิกเซลล์ที่ยังไม่ได้ประกอบ (HS 85414021) ของไทยจากทั่วโลกมีการขยายตัว โดยประเทศนำเข้าหลักของไทย ได้แก่ จีน เวียดนามและมาเลเซีย ในขณะที่การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยไปทั่วโลกกลับหดตัว โดยประเทศส่งออกหลักของไทย ได้แก่ เวียดนาม
จากกราฟที่ 2 (ทางขวา) มูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้าโฟโตวอลตาอิกเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นโมดูลหรือทำเป็นแผง (HS 85414022) ของไทย ปี 2016-2020 แสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี 2018-2020 การนำเข้าสินค้าโฟโตวอลตาอิกเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นโมดูลหรือทำเป็นแผง (HS 85414022) ของไทยจากทั่วโลกมีการขยายตัว โดยประเทศนำเข้าหลักของไทย ได้แก่ จีน ขณะที่การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยไปทั่วโลกก็มีการขยายตัวเช่นกัน โดยประเทศส่งออกหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐ ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง ร้อยละ 97
จะเห็นได้ว่า ไทยพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ในการส่งออกสินค้าโฟโตวอลตาอิกเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นโมดูลหรือทำเป็นแผง (HS 85414022) ค่อนข้างมาก โดยความต้องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในสหรัฐฯ จะทำให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยไปสหรัฐฯ ขยายตัวมากขึ้น ในขณะที่เวียดนามนั้น ก็เป็นอีกประเทศที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสนใจเนื่องจากการผลิตพลังงานหมุนเวียนในเวียดนามโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์นั้นได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเวียดนามได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานลมเป็นร้อยละ 15-20 ภายในปี 2030 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25-30 ภายในปี 20459
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ จำนวน 36 ราย10 โดยมีรายละเอียดดังนี้
-
กิจการการผลิตโซลาร์เซลล์ จำนวน 22 ราย ซึ่งเป็นการลงทุนจาก 1) ผู้ประกอบการชาวต่างชาติ จำนวน 10 ราย (ร้อยละ 45) โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการสัญชาติจีนที่ลงทุนในกิจการขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 2) ผู้ประกอบการสัญชาติไทย จำนวน 8 ราย (ร้อยละ 37) และ 3) ผู้ประกอบการที่มีการร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบการสัญชาติไทยและผู้ประกอบการชาวต่างชาติ จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 18)
-
กิจการการประกอบโซลาร์เซลล์ จำนวน 14 ราย ซึ่งเป็นการลงทุนจาก 1) ผู้ประกอบการสัญชาติไทย จำนวน 10 ราย (ร้อยละ 72) โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่ลงทุนในกิจการขนาดเล็ก 2) ผู้ประกอบการชาวต่างชาติ จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 21) และ 3) ผู้ประกอบการที่มีการร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบการสัญชาติไทยและผู้ประกอบการชาวต่างชาติ จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 7)
9https://www.reuters.com/article/vietnam-energy-solar-idUKL4N2H31A2
10ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเซลล์แสงอาทิตย์ โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)11
ตัวอย่างมาตรการกีดกันทางการค้าของต่างประเทศที่ไทยควรระวัง
โซลาร์ตามลำดับ ในปี 2022 ซึ่งในปัจจุบัน อินเดียยังไม่ได้มีการจัดเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับสินค้าดังกล่าว แต่มีมาตรการปกป้องเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมท้องถิ่นโดยการเก็บภาษีนำเข้าโซลาร์เซลล์และแผงโซลาร์ ร้อยละ 15 จากจีน มาเลเซีย และประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งมาตรการดังกล่าวได้หมดอายุลงแล้วในเดือนกรกฎาคม ปี 2021 ที่ผ่านมา12 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอินเดียจะจัดเก็บภาษีศุลกากรตามกำหนดในเดือนเมษายน ปี 2022 แต่ไทยก็ยังคงสามารถส่งออกสินค้าโซลาร์เซลล์ไปอินเดียโดยใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) ได้ โดยมีอัตราภาษีเป็น 0 เรียบร้อยแล้ว
HS 85016100 และ HS 8507208013
ข้อมูลจาก United State International Trade Commission (USITC)
14สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
นโยบายโซลาร์เซลล์ของประเทศไทย
ตัวอย่างนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ โดยภาครัฐได้ออกนโยบายเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทยทั้งทางด้านการผลิตและการใช้งาน ตัวอย่างนโยบาย อาทิ
1) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561–2580 (AEDP2018) โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน15
แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการผลิตพลังงานจากวัตถุดิบพลังงานทางเลือกที่มีอยู่ภายในประเทศ การพัฒนาศักยภาพการผลิตและการใช้พลังงานทางเลือกด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีเป้าหมาย คือ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในรูปของพลังงานไฟฟ้า ความร้อนและเชื้อเพลิงชีวภาพต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายที่ร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 (2037)
ทั้งนี้ เป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในรูปของพลังงานไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2580 (2037) ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ 12,139 เมกะวัตต์ (MW) และพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ 2,725 เมกะวัตต์ (MW)
15https://www.dede.go.th/download/Plan_62/20201021_TIEB_AEDP2018.pdf
18https://www.boi.go.th/index.php?page=faq&group_id=101535&_order_by=
19https://www.boi.go.th/index.php?page=production_effiiciency&language=th
- มาตรา 32 การจัดตั้งศูนย์รับคืนซากผลิตภัณฑ์ให้ดำเนินการโดยราชการส่วนท้องถิ่น เอกชน ผู้ผลิต หรือผู้ผลิตร่วมกับผู้ผลิตรายอื่น หรือผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
21https://www.pcd.go.th/laws/%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%8d%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%80-2/
23https://www.matichon.co.th/economy/news_3055481
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH